“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
ตาต้อ เกิดจากอะไร ? อายุมากยิ่งเสี่ยงจริงหรือไม่ ? มารู้จักประเภทของตาต้อ ก่อนที่ตาจะมืดดับกัน !
โรคต้อ คือโรคที่พูดถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตา ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 4 โรค ได้แก่ ต้อกระจก (Cataract) ต้อหิน (Glaucoma) ซึ่งปัจจัยหลักในการเกิดนั้นมาจากอายุที่มากขึ้น ส่วนต้อลม (Pinguecula) และต้อเนื้อ (Pterygium) นั้น มักมีสาเหตุมาจากสภาพการทำงานในปัจจุบัน รวมถึงการอยู่ในสภาวะที่มีแสงแดดจัด การเผชิญกับมลภาวะต่างๆ เช่น ฝุ่นละออง ลม ควัน หรืออยู่ในสถานที่ที่ทำให้ตาแห้ง เป็นต้น จริงๆ แล้ว ตาต้อ เกิดจากอะไร มาลองทำความเข้าใจรายละเอียดของแต่ละประเภทในบทความนี้กันค่ะ
ตาต้อ เกิดจากอะไร ? มาทำความรู้จัก ต้อทั้ง 4 ประเภทให้มากกว่าเดิมกัน !
ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่ อยู่ในสภาพการทำงานแบบไหน การดูแลรักษาดวงตาก็เป็นสิ่งที่ควรให้ความใส่ใจ ไม่ว่าจะเป็นการพักสายตาบ่อยๆ ระหว่างวัน การหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแสงแดด หรือมลภาวะโดยตรง หรือแม้แต่การบำรุงรักษาสายตาด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์กับดวงตาก็เป็นสิ่งทีควรให้ความสำคัญ และอย่างที่เกริ่นไปแล้วข้างต้นว่า โรคต้อนั้น ไม่เพียงแค่เกิดจากอายุที่มากขึ้นเท่านั้น แต่การอยู่ในสภาวะของมลพิษ และแสงแดดก็ทำให้เกิดโรคเหล่านี้ได้ด้วย ตามมาอ่านกันต่อค่ะ แต่ละโรคนั้นมีรายละเอียดยังไงบ้าง และเราจะป้องกันดวงตาของเราไม่ให้อยู่ในความเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้ยังไงบ้าง
1. ต้อกระจก (Cataract)
ตาต้อ เกิดจากอะไร ? ต้อกระจกเป็นโรคทางดวงตาที่พบบ่อยซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้านทั่วโลก เกิดขึ้นเมื่อเลนส์ตาขุ่นมัว ส่งผลให้มองเห็นไม่ชัด หรือเกิดอาการตามัวข้างเดียวและหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นในที่สุด มีปัจจัยหลายประการที่สามารถทำให้เกิดต้อกระจกได้แก่
- อายุเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดสำหรับต้อกระจก เมื่อเราอายุมากขึ้น โปรตีนในเลนส์ตาของเราจะจับตัวกันเป็นก้อน ทำให้เกิดความขุ่นมัว และนำไปสู่ต้อกระจกในที่สุด ต้อกระจกประเภทนี้เรียกว่าต้อกระจกที่เกี่ยวข้องกับอายุ
- การได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) จากดวงอาทิตย์เป็นเวลานาน รังสียูวีสามารถทำลายโปรตีนในเลนส์ ทำให้เกิดต้อกระจกได้ สิ่งสำคัญคือต้องสวมแว่นกันแดดหรือหมวกปีกกว้างเมื่อออกไปข้างนอกเพื่อปกป้องดวงตาจากรังสียูวีที่เป็นอันตราย
- โรคประจำตัว เช่น เบาหวานอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลอดเลือดของดวงตา ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดต้อกระจกได้ หรือโรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงได้เช่นกัน
นอกจากต้อกระจกที่เกี่ยวข้องกับอายุแล้ว ยังมีต้อกระจกประเภทอื่นๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ ต้อกระจกแต่กำเนิดเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิด แม้ว่าอาจไม่ปรากฏให้เห็นทันทีเสมอไปก็ตาม ต้อกระจกที่กระทบกระเทือนจิตใจอาจเกิดขึ้นได้หลังการบาดเจ็บที่ตา และต้อกระจกแบบทุติยภูมิอาจเกิดขึ้นจากสภาพตาหรือการรักษาทางการแพทย์อื่นๆ เช่น การใช้สเตียรอยด์หรือการฉายรังสี เป็นต้น
การรักษาต้อกระจก : สำหรับผู้ป่วยในระยะแรก ที่มีความขุ่นมัวไม่มาก จะใช้วิธีการหยอดตาเพื่อเป็นการชะลอการมัวของดวงตา ซึ่งวิธีการรักษาต้อกระจกนั้นจะใช้วิธีการผ่าตัด โดยแพทย์จะถอดเลนส์ขุ่นออก และแทนที่ด้วยเลนส์เทียม ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นได้ชัดขึ้น
วิธีป้องกันการเกิดตาต้อกระจก :
- ปกป้องดวงตาของคุณจากรังสียูวีที่เป็นอันตรายด้วยการสวมแว่นกันแดดที่ป้องกันรังสี UVA และ UVB ได้ 100%
- เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ที่เน้นผัก และผลไม้ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ที่มีสารแอนตี้ออกซิแดนท์(Antioxidant) ในปริมาณสูง เช่น ผักสีเขียวเข้ม (อ่านเรื่องผัก 5 สี เพิ่มเติมได้อีก) หรือผลไม้ที่มีวิตามินซีมากๆ
- ควบคุมโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ เช่น ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, ไขมัน ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- เลิกสูบบุหรี่ เนื่องจากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดต้อกระจก
- จำกัดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อไม่ให้เพิ่มความเสี่ยง
- ไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพตาเป็นประจำเพื่อตรวจเช็คสุขภาพสายตา
- รักษาอาการบาดเจ็บที่ดวงตาอย่างถูกวิธี
เกร็ดสุขภาพ : คำว่า “ต้อ” เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในภาษาไทย ไม่มีการเรียก หรือคำแปลในภาษาอังกฤษ ใช้ในการเรียกแทน 4 โรค ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของดวงตา ได้แก่ ต้อกระจก, ต้อหิน, ต้อลม และต้อเนื้อ
2. ต้อหิน (Glaucoma)
โรคต้อหินเป็นโรคทางดวงตาที่มีสาเหตุหลักมาจากความดันลูกตาที่เพิ่มขึ้น (IOP) ซึ่งส่งผลให้เส้นประสาทตาเสียหาย เป็นภัยเงียบทื่เสี่ยงต่อการจอดับโดยไม่รู้ตัว ซึ่งปัจจัยเสี่ยงในการพัฒนาโรคต้อหิน ดังคำถามที่ถามกันบ่อยว่า ตาต้อ เกิดจากอะไร นั้น ได้แก่ อายุ ประวัติครอบครัว อาการป่วยบางอย่าง (เช่น เบาหวานและความดันโลหิตสูง) ยาบางชนิด (เช่น ยาสเตียรอยด์) หรือสายตาสั้นมากๆ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มี IOP สูงจะเป็นโรคต้อหิน ดังนั้นการตรวจสายตาเป็นประจำ รวมถึงการวัด IOP และการประเมินเส้นประสาทตา มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตรวจหา และการรักษาโรคต้อหินในระยะเริ่มแรก
การรักษาต้อหิน : สำหรับวิธีการรักษานั้น แพทย์จะใช้ยาหยอดตาลดความดันลูกตาหรือใช้เลเซอร์ผ่าตัดในการรักษา
วิธีป้องกันการเกิดตาต้อหิน :
- ตรวจตาเป็นประจำ : ลองกำหนดเวลาการตรวจตาเป็นประจำเพื่อตรวจหาสัญญาณเริ่มแรกของโรคต้อหิน ภาวะนี้มักไม่มีอาการในระยะแรก
- ใช้ชีวิตให้มีสุขภาพดี : การรับประทานอาหารที่สมดุล ออกกำลังกายเป็นประจำ และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ นิสัยเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมสุขภาพโดยรวมของดวงตาได้
- ปกป้องดวงตาของคุณ : สวมแว่นกันแดดที่มีการป้องกันรังสียูวีเมื่อสัมผัสกับแสงแดด ใช้แว่นตานิรภัยเมื่อทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่ดวงตา
- ควบคุมความดันตา : หากคุณมีความดันตาสูง ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เพราะความดันตาที่สูงขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่จะทำให้เกิดโรคต้อหิน
- เช็กประวัติครอบครัวของคุณ : เนื่องจากโรคต้อหินสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ แจ้งจักษุแพทย์เกี่ยวกับสมาชิกในครอบครัวที่มีอาการดังกล่าว
แม้ว่า IOP ที่เพิ่มขึ้นจะเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาโรคต้อหิน แต่สาเหตุที่แท้จริงของสภาพตานี้มีหลายปัจจัย และอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และสรีรวิทยาร่วมกัน การตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ และการรักษาอย่างทันท่วงทีจะช่วยให้รักษาได้อย่างทันท่วงทีค่ะ
3. ต้อลม (Pinguecula)
ตาต้อ เกิดจากอะไร ? ต้อลมเกิดจากความเสื่อมของเยื่อบุตาขาวที่เกิดขึ้นบริเวณเยื่อบุตาขาวข้างกระจกตาดำ ทำให้เกิดตุ่มนูนสีเหลืองขึ้นบริเวณดังกล่าว ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักเกิดที่หัวตาด้านในใกล้จมูกมากกว่าบริเวณหางตา ซึ่งสาเหตุหลักของต้อลมนั้นเกิดจากการได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) จากดวงอาทิตย์ในระยะยาว ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่แห้งและมีฝุ่นมาก การระคายเคืองตาเรื้อรัง โรคต้อลมพบได้บ่อยในบุคคลที่ใช้เวลานอกบ้านเป็นเวลานานโดยไม่มีการปกป้องดวงตาที่เหมาะสม ซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเคืองตา น้ำตาไหล แสบตา โดยเฉพาะเมื่ออยู่กลางแดด กลางลม
การรักษาต้อลม : ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นอันตรายร้ายแรง และไม่จำเป็นต้องผ่าตัด แต่ก็ทำให้เกิดความรำคาญ และกระทบต่อชีวิตประจำวันได้ โดยทั่วไป การรักษาต้อลมจะเน้นไปที่การบรรเทาอาการ และป้องกันอาการกำเริบเพิ่มเติม ซึ่งแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษา และรับยาหยอดตาที่ถูกต้อง
วิธีป้องกันการเกิดตาต้อลม :
- สวมแว่นกันแดด : ลงทุนซื้อแว่นกันแดดคุณภาพสูงที่ป้องกันรังสียูวี 100% เพื่อปกป้องดวงตาของคุณจากแสงแดดที่เป็นอันตราย
- ใช้ยาหยอดตาหล่อลื่น : รักษาดวงตาของคุณให้ชุ่มชื้นและป้องกันไม่ให้แห้งโดยใช้น้ำตาเทียมหรือยาหยอดตาที่แนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญ
- หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่น : ลดการอยู่ในสภาวะที่มีฝุ่นหรือมีลมแรงให้เหลือน้อยที่สุด เนื่องจากอาจทำให้ระคายเคืองตาและทำให้ต้อแย่ลงได้
- รักษาร่างกายให้ชุ่มชื้น : ดื่มน้ำเพื่อรักษาความชุ่มชื้นโดยรวมให้กับดวงตาและร่างกาย
- พักสายตาจากหน้าจอ : หากคุณใช้เวลานานหลายชั่วโมงอยู่หน้าจอ ให้พักสายตาบ่อยๆ
เกร็ดสุขภาพ : โรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, ไขมัน หรือโรคอ้วน ที่เป็นโรคยอดฮิตนั้น เป็นตัวนำความเสี่ยงให้เกิดโรคต่างๆ มากมาย ซึ่งไม่ใช่ในกลุ่มโรคตาเท่านั้น แต่อาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมอง และอีกหลายโรคอันตรายได้ ดังนั้นผู้ที่ป่วยเป็นโรคเหล่านี้ ควรดูแลร่างกาย และควบคุมโรคที่เป็นอยู่ให้เป็นปกติ เช่น เช็กความดันด้วยเครื่องวัดความดันที่บ้าน เป็นประจำเพื่อสังเกตร่างกายก็จะช่วยลดความเสี่ยงได้
4. ต้อเนื้อ (Pterygium)
ตาต้อ เกิดจากอะไร ? ต้อเนื้อเป็นโรคที่ต่อเนื่องมาจากโรคต้อลม มีลักษณะคล้ายเนื้อเยื่อเป็นแผ่นพังผืดและหลอดเลือดรวมตัวกันบริเวณกระจกตาด้านหัวตาหรือหางตามีรูปร่างเหมือนกับสามเหลี่ยม ถึงจะไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง แต่หากลุกลาม หรือเป็นมากก็อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการมองเห็นได้
การรักษาต้อเนื้อ : จะมีอาการ และลักษณะคล้ายกันกับต้อลม จึงเป็นการหยอดตารักษาตามอาการตามคำแนะนำของแพทย์ แต่หากเป็นมากก็จะใช้วิธีการรักษาโดยการผ่าตัด
วิธีป้องกันการเกิดตาต้อเนื้อ : สำหรับวิธีป้องกันการเกิดต้อเนื้อนั้นก็จะเป็นในลักษณะเดียวกันกับวิธีการป้องกันการเกิดต้อลม
เรื่องของสายตาไม่ใช่เรื่องที่เราควรมองข้าม เมื่อเราได้รู้กันแล้วว่า ตาต้อ เกิดจากอะไร เราจึงควรให้ความสำคัญกับการพักสายตาระหว่างวัน ควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่เราสามารถควรคุมได้ ลองตั้งนาฬิกาปลุก และพักสายตาระหว่างวัน พักสายตาจากหน้าจอมือถือ และหันมาพูดคุยกันกับเพื่อนร่วมงานในเวลาพัก และตรวจสุขภาพตาเป็นประจำทุกปี เพื่อเช็ก และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกี่ยวกับสายตาต่างๆ เพียงเท่านี้ก็สามารถพาตัวเองออกจากความเสี่ยงได้มากขึ้นแล้วหล่ะค่ะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : samitivejchinatown.com, chulabhornchannel.com, bumrungrad.com, bangpakok3.com
Featured Image Credit : freepik.com/Oporty
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ