X

วิธีบำบัดน้ำในหูไม่เท่ากัน ต้องทำยังไงบ้าง ?

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

วิธีบำบัด น้ำในหูไม่เท่ากัน ต้องทำยังไงบ้าง ?

รู้ไหมว่าอาการหน้ามืด เวียนศีรษะ มีอาการบ้านหมุนอาจไม่ได้มาจากความอ่อนล้า อ่อนเพลีย หรือความดันเสมอไป หากคุณมีอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของ “โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน” ก็ได้ แม้ว่าโรคนี้จะไม่ได้พบบ่อยเพราะมีประชากรเพียงร้อยละ 7 เท่านั้นที่จะมีอาการ แต่เราก็อยากชวนคุณมาดูกันว่าโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน อาการเป็นอย่างไร และหากเรามีอาการหรือต้องดูแลผู้ป่วยโรคนี้ จะมีวิธีบำบัด น้ำในหูไม่เท่ากัน ได้อย่างไรบ้าง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน คืออะไร

วิธีบำบัดน้ำในหูไม่เท่ากัน, โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน อาการ

ก่อนไปดูวิธีบำบัดน้ำในหูไม่เท่ากัน เรามาทำความเข้าใจก่อนว่าโรคนี้คืออะไรกันแน่ สำหรับโรคน้ำในหูไม่เท่ากันหรือโรคมีเนีย (Meniere’s disease) นั้นคือโรคที่หมายถึงภาวะผิดปกติของหูชั้นในเมื่อผู้ป่วยมีน้ำในหูมากผิดปกติ

โดยปกติแล้วหูชั้นในจะเป็นบริเวณที่มีเซลล์เกี่ยวกับการได้ยินและการทรงตัวและบริเวณนี้จะมีน้ำในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อควบคุมการทรงตัวและการได้ยิน รวมถึงมีอาการไหลเวียนอยู่อย่างพอเหมาะ ซึ่งน้ำในหูนี่เองที่เป็นสื่อกลางส่งคลื่นไปยังระบบประสาทเวลาที่เราเคลื่อนไหว 

แต่เมื่อไรก็ตามที่น้ำในหูมีความผิดปกติ เช่น การดูดซึมไม่ดีทำให้มีปริมาณน้ำในหูแต่ละข้างไม่เท่ากัน ก็จะส่งผลกระทบต่อการส่งสัญญาณไปยังเซลล์ประสาท เป็นที่มาของภาวะเสียการทรงตัวและการได้ยินนั่นเอง

เกร็ดสุขภาพ : บางครั้งการวินิจฉัยทั่วไปก็ไม่สามารถวินิจฉัยอาการของโรคน้ำในหูไม่เท่ากันได้ แต่ต้องใช้การตรวจร่างกายเฉพาะทาง เช่นการตรวจหู คอ จมูก และการตรวจระบบสมดุลของร่างกายการตรวจการทำงานของอวัยวะการทรงตัวในหูชั้นใน หรือ video electronystagmography (VNG) เพื่อตรวจการเคลื่อนไหวของลูกตาในท่าทางต่างๆ เข้ามาประกอบด้วย หากใครสงสัยว่าตัวเองมีอาการคล้ายน้ำในหูไม่เท่ากัน การไปตรวจกับแผนกเฉพาะทางจึงดีที่สุด

  • โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน อาการเป็นอย่างไรบ้าง
วิธีบำบัดน้ำในหูไม่เท่ากัน, โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน อาการ

อาการของผู้ที่ป่วยน้ำในหูไม่เท่ากันจะมีอาการหลักคือ เวียนศีรษะรุนแรง มีความรู้สึกคล้ายบ้านหมุน คลื่นไส้ อาเจียน แต่ไม่มีไข้ ไม่เหมือนเวลาเป็นหวัดน้ำมูกไหล  มีอาการเสียสมดุลของร่างกายร่วมด้วย ทำให้ผู้ป่วยอาจเสียการทรงตัว ล้มง่าย เมื่ออาการกำเริบขึ้นจะเป็นต่อเนื่องหลายนาทีหรือหลายชั่วโมง

นอกจากนี้โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน อาการอื่นๆ ที่พบได้อาจมีดังนี้

  • สูญเสียความสามารถในการได้ยินบางส่วน ทำให้ได้ยินเสียงเบาลง แต่อาการมักเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้นแล้วจะค่อยๆ กลับมาเป็นปกติอีกครั้ง แต่หากเราปล่อยให้โรคน้ำในหูไม่เท่ากันเป็นต่อไปเรื่อยๆ หรือบ่อยๆ แล้วหล่ะก็อาจส่งผลให้ภาวะนี้รุนแรงขึ้นจนส่งผลให้หูตึงหรือหูหนวกได้

มีเสียงรบกวนในหูและหูอื้อ ซึ่งอาการนี้จะเป็นๆ หายๆ ในช่วงแรก แต่อาการจะเป็นหนักขึ้นและอาจเป็นถาวรเมื่อเวลาผ่านไป ผู้ป่วยอาจบำบัดและบรรเทาความเครียดของการมีเสียงในหูได้ด้วยการใช้ดนตรีบำบัด คืออีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยคลายความเครียดได้เช่นกัน

เกร็ดสุขภาพ : สำหรับคนทั่วไปการเป็นหูอื้อหรือมีเสียงดังในหูนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับความดันแบบฉับพลัน เช่น การขึ้นเครื่องบิน นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้จากการฟังเสียงดังผิดปกติ ซึ่งอาการมักจะหายได้เองในเวลาไม่กี่ชั่วโมง บางคนอาจบรรเทาอาการด้วยตัวเองด้วยการหาว กลืนน้ำลาย เคี้ยวหมากฝรั่ง หรือถ้าจะดื่มน้ำวันละกี่ลิตรก็ลองดื่มน้ำมากๆ เพื่อปรับสมดุลให้อาการหูอื้อบรรเทาลงก็ได้

  • วิธีบำบัดน้ำในหูไม่เท่ากัน

ใครที่อยากรู้ว่าวิธีบำบัดน้ำในหูไม่เท่ากันต้องทำอย่างไร ลองมาดูแนวทางกันได้เลยค่ะ

  1. การกินยา
  • ในผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจให้ยาประเภทขับปัสสาวะเพื่อทำให้น้ำคั่งในหูชั้นในน้อยลง รวมถึงการกินยาที่ช่วยบรรเทาอาการเวียนศีรษะและคลื่นไส้อาเจียน
  • ยาประเภทขยายหลอดเลือดหรือฮิสตามีนก็ช่วยให้การไหลเวียนของน้ำในหูดีขึ้น
  1. การผ่าตัด

เราจะใช้วิธีการผ่าตัดเมื่อการรักษาด้วยการใช้ยามาถึงที่สุดแล้วเท่านั้น โดยจะผ่าตัดแบบตัดเส้นประสาทที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัวของหูชั้นใน และใช้วิธีฉีดยาที่เป็นพิษต่อระบบประสาทให้ดูดซึมเข้าสู่หูชั้นใน โดยยานี้จะเข้าไปต้านหรือทำลายระบบประสาทการทรงตัวทำให้ลดการเวียนศีรษะได้ แต่ผลข้างเคียงก็คืออาจทำให้สูญเสียการได้ยิน

  • การดูแลตัวเองสำหรับผู้มีอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน
น้ำในหูไม่เท่ากัน, โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน อาการ

นอกจากวิธีบำบัดน้ำในหูไม่เท่ากันตามแนวทางการแพทย์ทั้งการกินยาและผ่าตัดแล้ว เรายังมีแนวทางการดูแลตัวเองมาฝากด้วยนะคะ

  • กินอาหารที่มีประโยชน์และถูกสุขลักษณะ
  • งดกินอาหารรสเค็มจัดควบคู่ไปกับการคุมปริมาณเกลือไม่ให้มากเกินไป
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ ไปจนถึงของหวานอย่างช็อกโกแลต
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ นอนให้เป็นเวลา และนอนให้ได้อย่างน้อย 6 – 8 ชั่วโมง
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานเป็นปกติ
  • อย่าหักโหมทำงานและพยายามหลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้ร่างกายเหนื่อยอ่อน
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะหรือวิงเวียน เช่น ความเครียด
  • หากใครมีอาการบ้านหมุนหรือมักวิงเวียนศีรษะแบบฉับพลันบ่อยๆ ต้องเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจนำไปสู่อุบัติเหตุ เช่น การขับขี่ยานพาหนะ เป็นต้น

แม้อาการน้ำในหูไม่เท่ากันจะไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดแต่ก็มีวิธีบำบัดน้ำในหูไม่เท่ากันให้ดีขึ้นได้ โดยเราสามารถใช้วิธีทั้งทางการแพทย์และการดูแลตัวเองควบคู่กันไป สิ่งสำคัญก็คือไม่เครียดและดูแลตัวเองให้ครบรอบด้าน นอกจากนี้อย่าลืมว่าใครมีอาการแบบฉับพลันหรือมักเกิดอาการแบบไม่ส่งสัญญาณเตือนก็ต้องเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจทำให้เราเกิดอุบัติเหตุด้วยนะคะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : bumrungrad.com, somdej.or.th, samitivejhospitals.com

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save