“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
รูมาตอยด์เกิดจากอะไร ?! ต้องดูแลตัวเองยังไง มีวิธีรักษายังไงบ้าง ?
ถ้าหากว่ามีอาการปวดโดยเฉพาะบริเวณข้อไม่ว่าจะเป็นข้อนิ้ว ข้อมือ ข้อเท้า นิ้วเท้า ฯลฯ อย่างเพิ่งวางใจคิดว่าปวดเมื่อยกระดูกและกล้ามเนื้อธรรมดาที่อาศัยแค่การนวดคล้ายกล้ามเนื้อหรือนวดฝ่าเท้ากดจุดแล้วจะหาย เช็กให้ชัวร์ค่ะเพราะอาจจะเป็นโรครูมาตอยด์หนึ่งในโรคปวดข้อปวดกระดูก ซึ่งเป็นกลุ่มโรคข้ออักเสบเรื้อรังถ้าปล่อยไว้จะรบกวนการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก หนักเข้าอาจทำให้เนื้อเยื้อข้อต่อถูกทำลายจนถึงขั้นพิการได้เลยนะคะ เราลองมาทำความรู้จักกันค่ะว่าเจ้า รูมาตอยด์เกิดจากอะไร แล้วจะต้องมีวิธีการดูแลรักษาตัวเองยังไงเพื่อป้องกันให้ห่างไกลจากเจ้าโรคนี้
ทำความรู้จักโรคปวดข้อรูมาตอยด์
โรครูมาตอยด์ หรือมีชื่อทางการแพทย์ว่า rheumatoid arthritis เป็นกลุ่มอาการโรคข้ออักเสบ โดยโรครูมาตอยด์เกิดจากการที่เนื้อเยื้อบริเวณหุ้มข้อต่อกระดูกอักเสบและเจริญงอกออกมาทำลายกระดูก ทำให้กระดูกและข้อเกิดการผิดรูป สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกข้อต่อไม่ว่าจะเป็นข้อมือ ข้อนิ้ว ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อนิ้วเท้า ข้อศอก ข้อไหล ข้อสะโพก และยังเกิดกับอวัยวะอื่น ๆ ได้อีก เช่น ดวงตา กล้ามเนื้อ ระบบประสาท เป็นต้น
โรครูมาตอยด์เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง
ปัจจุบันยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดของโรครูมาตอยด์ ร่องรอยความเจ็บปวดของโรครูมาตอยด์เกิดจากความผิดปกติของเนื้อเยื้อข้อกระดูก โรครูมาตอยด์จึงจัดว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคแพ้ภูมิตัวเอง (autoimmune diseases) อาการข้ออักเสบรูมาตอยด์เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายตนเอง ทำให้เนื้อเยื้อเจริญผิดรูป อักเสบและบวมน้ำจนเกิดอาการเจ็บปวดขึ้น นอกจากนั้นสาเหตุหนึ่งของโรครูมาตอยด์เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม คนที่มีประวัติครอบครัวป่วยเป็นโรคนี้มักมีโอกาสที่จะป่วยตามสูงมาก นอกจากนั้นโรครูมาตอยด์เกิดจากปัจจัยอื่น ๆ ได้อีกอย่างเช่นการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย การสูบบุหรี่ เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้นสาเหตุของโรครูมาตอยด์เกิดจากปัจจัยเรื่องของเพศและอายุได้เหมือนกันค่ะ โอกาสพบมากในกลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 40 – 60 ปี โดยมักพบในกลุ่มเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนในคนอายุน้อย ๆ ก็มีสิทธิเป็นโรครูมาตอยด์ได้เหมือนกันแต่มักจะพบได้บ่อยในกลุ่มเพศหญิงเป็นหลัก
ชวนเช็กอาการของโรครูมาตอยด์
เมื่อรู้ถึงสาเหตุของโรครูมาตอยด์เกิดจากอะไรไปแล้วนั้นเราลองมาดูกันค่ะว่าเจ้าโรคนี้มักจะมีอาการแสดงอะไรออกมาบ้าง แน่นอนค่ะว่าอย่างแรกที่เด่น ๆ เลยก็คืออาการปวด แต่จะไม่ใช่ลักษณะการปวดเมื่อยทั่วไปหรือปวดแบบโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เนื่องมาจากโรครูมาตอยด์เกิดจากเนื้อเยื้อข้อกระดูกอักเสบ อาการปวดที่ตามมาจึงเกิดขึ้นแค่เฉพาะบริเวณข้อต่อกระดูกเท่านั้น มักจะปวดต่อเนื่องเรื้อรังมากเกินกว่า 6 สัปดาห์ โดยมักจะปวดมากในตอนกลางคืนจนต้องตื่นขึ้นกลางดึก หรืออาจจะปวดในช่วงเช้าที่มีการขยับข้อต่าง ๆ อาการปวดอาจจะมีอยู่ชั่วคราวหรืออาจจะปวดต่อเนื่องทั้งวันเลยก็ได้ ลักษณะปวดตามบริเวณข้อกระดูกของผู้ป่วยรูมาตอยด์มักจะมีอาการบวมแดง แสบร้อนบริเวณข้อเมื่อกดดูแล้วจะรู้สึกเจ็บ มีอาการข้อฝืดแข็งขยับลำบาก บางรายอาจมีอาการไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหารและน้ำหนักลดร่วมด้วยได้ค่ะ
นอกจากอาการปวดตามข้อกระดูกแล้วพบว่าผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ยังมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นตาแห้ง เยื้อบุตาอักเสบ เยื้อหุ้มปอดอักเสบ เยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ ไปจนถึงภาวะซีดจากการอักเสบเรื้อรังที่ทำให้เกร็ดเลือดสูง เม็ดเลือดขาวต่ำ ต่อมน้ำเหลือและม้ามโต ไม่เพียงเท่านั้นค่ะผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ยังปุ่มขึ้นตามตัวที่เรียกว่าปุ่มรูมาตอยด์เกิดจากการเสียดสีกดทับ
เกร็ดสุขภาพ : การตรวจวินิจฉัยโรครูมาตอยด์สามารถเจาะเลือดตรวจคัดกรองร่วมกับเอกซ์เรย์ดูร่องรอยของโรคตามข้อกระดูก โดยแพทย์จะเจาะเลือดหาค่าการอักเสบ ร่วมกับการตรวจดูค่ารูมาตอยด์และหาสารต้านภูมิต้านทานที่จำเพาะกับโรครูมาตอยด์เพื่อยืนยันโรคก่อนจะทำการวินิจฉัยและรักษาต่อไป
การดูแลป้องกันรักษาโรครูมาตอยด์
อย่างที่ได้กล่าวมาค่ะว่าโรครูมาตอยด์เกิดจากความผิดปกติภายในข้อกระดูกที่มีสาเหตุมาจากหลากหลายปัจจัย ซึ่งเราไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ เพียงแต่เราแค่หมั่นดูแลตัวเองไม่เพิ่มความเสี่ยงที่อาจจะทำให้ข้อกระดูกอักเสบ เช่น ไม่ยอกของหนัก ไม่นั่งพับเพียบหรือขัดสมาธินาน ๆ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์เพื่อป้องกันการรับน้ำหนักที่มากเกินของข้อเข่าและข้อเท้า
ส่วนคนที่ป่วยแล้วก็ต้องรักษาคุมอาการของโรคไม่ให้ลุกลาม ซึ่งในปัจจุบันก็มีการรักษาด้วยยาทั้งแบบรับประทานและแบบฉีดเพื่อลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวด ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด ถ้ามีการบวมน้ำร่วมด้วยอาจรักษาปฐมพยาบาลด้วยวิธีลดอาการบวมน้ำเพื่อลดการปวดบวม แต่ในกรณีที่อาการหนักจนข้อกระดูกถูกทำลายอาจจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
เกร็ดสุขภาพ : ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง อาหารทอดกรอบ แป้งขัดสี น้ำตาล เพราะจะมีสาร AEG อาจไปกระตุ้นให้อาการกำเริบขึ้นได้ รวมไปถึงอาหารที่กระตุ้นให้เกิดกรดอย่างถั่ว สัตว์เนื้อแดง สัตว์ปีก เพราะจะไปกระตุ้นให้ค่ารูมาตอยด์ในเลือดสูงขึ้น
หวังว่าเพื่อน ๆ คงจะเข้าใจกันมากขึ้นนะคะว่าโรครูมาตอยด์เกิดจากสาเหตุอะไร และถึงแม้ว่ามักจะเป็นโรคที่ไม่สามารถป้องกันได้แต่เราก็สามารถดูแลตัวเองร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะอาหารที่ช่วยบำรุงกระดูกเท่านี้ก็จะทำให้เรามีสุขภาพที่แข็งแรงลดโอกาสการเกิดโรคไปไม่มากก็น้อยแล้วล่ะค่ะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : thainakarin.co.th, petcharavejhospital.com, vejthani.com
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ