X

ลักษณะการปวดหัวจริงๆ แล้วมีกี่ประเภท ? ปวดแบบไหน ต้องจัดการกับตัวเองยังไง ?!

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

ลักษณะการปวดหัว จริงๆแล้วมีกี่ประเภท ? ปวดแบบไหน ต้องจัดการกับตัวเองยังไง ?!

อาการปวดหัวคืออาการที่ทุกคนจะต้องประสบพบเจออย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต และเหมือนเป็นอาการสามัญประจำบ้านที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนและทุกช่วงวัย ซึ่งอาการปวดหัวจะมีตั้งแต่ขั้นปฐมภูมิไปถึงทุติยภูมิ เช่น อาการปวดหัวจากความเครียด การอดนอน ความเหนื่อยล้า ไปจนถึงปวดหัวจากการบาดเจ็บ การติดเชื้อ หรือความเจ็บป่วยอื่นๆ ดังนั้น เพื่อการดูแลตัวเองเราควรมารู้จักกันว่าอาการปวดหัวมีกี่แบบ ? และ ลักษณะการปวดหัว แต่ละแบบเป็นอย่างไร พร้อมวิธีดูแลรักษาค่ะ

รู้จักประเภทของลักษณะการปวดหัว ปวดหัวมีกี่แบบ แบบไหนดูแลตัวเองอย่างไร

ลักษณะการปวดหัว, ปวดหัวมีกี่แบบ

อาการปวดหัวมีกี่แบบ ? อาการปวดหัวนั้นมีหลายร้อยประเภท แต่มีอยู่ 4 ประเภทที่พบบ่อยมากที่สุด ได้แก่ ไซนัส, ความตึงเครียด, ไมเกรน และคลัสเตอร์ ซึ่งอาการมีตั้งแต่ไม่รุนแรงไปจนถึงรุนแรงมาก ซึ่งหากคุณมีอาการปวดหัวที่เกิดขึ้นบ่อยกว่าปกติ รุนแรงกว่าปกติ ห้ามใช้ยาที่ซื้อมากินเองแต่ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย ส่วนลักษณะการปวดหัวทั้ง 4 แบบนั้น จะมีอะไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ

  1. ปวดหัวไมเกรน

ลักษณะการปวดหัว, ปวดหัวมีกี่แบบ

ลักษณะการปวดหัวแบบแรกคือ อาการปวดหัวไมเกรน ไมเกรนเป็นอาการปวดหัวขั้นปฐมภูมิที่พบได้บ่อยเป็นอันดับสอง และมีอาการปวดหัวปานกลางถึงรุนแรง และส่งผลต่อความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันอย่างมาก โดยมักจะปวดหัวอยู่ด้านเดียวและกินเวลา 4 ชั่วโมงไปจนถึง 3 วัน คนที่ปวดหัวไมเกรนมักมีความไวต่อแสง เสียง และกลิ่น หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อย หรือปวดท้องร่วมด้วย สาเหตุมักเกิดจากปัจจัยแวดล้อมบางอย่าง เช่น การหยุดชะงักของการนอนหลับ ภาวะขาดน้ำ การอดอาหาร และความผันผวนของฮอร์โมน ก็เป็นตัวกระตุ้นไมเกรนที่พบบ่อย นอกจากนี้อาการไมเกรนกำเริบอาจเกี่ยวข้องกับสภาวะของระบบประสาทอื่นๆ ได้ และผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นไมเกรนมากกว่าผู้ชายถึงสามเท่า รวมถึงผู้ที่เป็นโรคเครียดหลังเกิดบาดแผลก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นไมเกรนมากขึ้นเช่นกัน

วิธีรักษา

แพทย์อาจสั่งยาที่ลดการอักเสบและเปลี่ยนการไหลเวียนของเลือดภายในสมอง จะมาในรูปของยาพ่นจมูก ยาเม็ด และยาฉีด แต่หากคุณมีอาการปวดหัวที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรมมากกว่า 3 วันต่อเดือน หรือปวดหัวอย่างน้อย 6 วันต่อเดือน ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยาทุกวันเพื่อป้องกันอาการ

การดูแลตัวเองเมื่อปวดหัวไมเกรน

  • ประคบเย็นที่หน้าผาก
  • กินยาแก้ปวดหัว เช่น อะเซตามิโนเฟน ไอบูโพรเฟน หรือนาโพรเซน
  • อยู่ในห้องที่มืดมิดและเงียบสงบ
  • นอนพักผ่อนให้ได้ 7-8 ชั่วโมงต่อคืน
  • หลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้น เช่น แสงสว่างจ้า การอยู่บนที่สูง และกลิ่นที่แรงก็อาจเป็นปัญหาได้เช่นกัน- หากมีอาการปวดท้อง ให้กินยาแก้ปวดท้องท้องเสียเพื่อบรรเทา

เกร็ดสุขภาพ : มีอีกลักษณะการปวดหัวแบบหนึ่งที่หลายคนอาจพบเจอ คืออาการที่เรียกว่าถอนคาเฟอีน จะเกิดในคนที่เลิกดื่มกาแฟ เพราะคาเฟอีนส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดไปยังสมอง เมื่อเราเคยชินกับการให้สมองได้รับคาเฟอีนในปริมาณหนึ่งซึ่งเป็นสารกระตุ้นในแต่ละวัน การเลิกดื่มคาเฟอีนจึงอาจทำให้ปวดหัวได้ รวมถึงผู้ที่มีอาการปวดหัวไมเกรนบ่อยๆ ก็มีความเสี่ยงที่จะปวดหัวเนื่องจากการดื่มคาเฟอีนเช่นกัน

  1. ปวดหัวไซนัสหรือภูมิแพ้

ลักษณะการปวดหัว, ปวดหัวมีกี่แบบ

ลักษณะการปวดหัวไซนัสหรือภูมิแพ้นั้นเป็นการปวดหัวขั้นทุติยภูมิ สาเหตุมักมาจากปฏิกิริยาการแพ้ ความเจ็บปวดจากอาการปวดหัวเหล่านี้มักจะเน้นที่บริเวณไซนัสและที่ด้านหน้าของศีรษะ และผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ตามฤดูกาลหรือโรคไซนัสอักเสบจะไวต่ออาการปวดหัวประเภทนี้ โดยอาการปวดหัวไซนัสเป็นผลมาจากการติดเชื้อไซนัส ซึ่งทำให้เกิดความแออัดและการอักเสบในรูจมูก และมีอาการปวดบริเวณโหนกแก้มและหน้าผากอย่างต่อเนื่อง รวมถึงอาจมีใบหน้าบวม เป็นไข้ คัดจมูก และน้ำมูกไหลได้ มักปวดหลายวันไปจนถึงหลายสัปดาห์

วิธีรักษา

อาการปวดหัวไซนัสรักษาได้ด้วยการทำให้น้ำมูกที่สะสมตัวบางลง และทำให้เกิดความดันไซนัส โดยใช้สเปรย์ฉีดสเตียรอยด์ทางจมูก และยาบรรเทาอาการปวดศีรษะและอาการอื่นๆ เช่น ยาลดไข้ หรือยาแก้แพ้ อาจช่วยได้

การดูแลตัวเองเมื่อปวดหัวไซนัส

  • ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยให้เสมหะบางลง หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ซึ่งอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ
  • ล้างจมูก โดยใช้สารละลายเกลือและน้ำเพื่อล้างช่องจมูก
  • เพิ่มความชื้นในห้อง ด้วยการใช้เครื่องทำความชื้นหรือเครื่องทำไอระเหย
  • กินวิตามินซีเป็นประจำ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ และหนุนหมอนให้สูงเพื่อช่วยให้หายใจได้สบายขึ้น
  1. ปวดหัวจากความเครียด

ลักษณะ การปวดหัว, ปวดหัวมีกี่แบบ

อาการปวดหัวจากความเครียดเป็นลักษณะการปวดหัวขั้นปฐมภูมิที่พบได้บ่อยที่สุดและเป็นอาการที่ใครก็ปวดได้ หากคุณมีอาการปวดหัวตึงเครียด อาจรู้สึกทื่อๆ ปวดไปทั้งศีรษะ และอาจปวดลงมาที่กล้ามเนื้อบริเวณคอ หน้าผาก หรือไหล่ได้เช่นกัน มักจะปวดหัวที่ข้างใดข้างหนึ่ง และกดทับที่หน้าผาก ปวดแบบสม่ำเสมอและปวดตั้งแต่เบาไปจนถึงปานกลาง เป็นเวลา 30 นาทีถึงหลายชั่วโมง แต่ในบางคนอาจปวดทั้งสองด้านของศีรษะ และมีอาการปวดมากขึ้นในระหว่างทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ก้มตัว

วิธีรักษา

ยาแก้ปวดทั่วไปที่จำหน่ายในร้านขายยา อาจใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดหัวเป็นครั้งคราวได้ เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน นาพรอกเซน แต่หากยาเหล่านี้ไม่ได้ช่วยบรรเทา แพทย์อาจแนะนำยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์แทน

การดูแลตัวเองเมื่อปวดหัวจากความเครียด

  • กินยาแก้ปวด เช่น ไอบูโพรเฟน หรือแอสไพริน ซึ่งยาเหล่านี้เป็นยาที่ใช้ลดอาการปวดฟันได้ด้วย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำให้มากขึ้นเพื่อป้องกันการขาดน้ำ
  • ประคบร้อนหรือประคบน้ำแข็งที่ศีรษะประมาณ 5-10 นาที วันละหลายๆ ครั้ง
  • อาบน้ำร้อนเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อตึง
  1. ปวดหัวคลัสเตอร์

ลักษณะ การปวดหัว, ปวดหัวมีกี่แบบ

อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์นั้นมีลักษณะการปวดหัวแบบทุติยภูมิ และเป็นอาการปวดหัวประเภทที่รุนแรงที่สุด อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์จะมาเป็นกลุ่มอาการจะปวดแสบปวดร้อนและเกิดขึ้นรอบๆ หรือหลังตาข้างหนึ่งหรือด้านใดด้านหนึ่งของใบหน้า บางครั้งอาจมีอาการบวม แดง และเหงื่อออกที่ข้างที่ได้รับผลกระทบจากอาการปวด ร่วมกับมีน้ำตาไหล น้ำมูกไหล อาการปวดหัวเหล่านี้มักเกิดขึ้นเป็นชุดแต่ละครั้งสามารถอยู่ได้ตั้งแต่ 15 นาทีถึง 3 ชั่วโมง คนส่วนใหญ่มีอาการปวดหัวคลัสเตอร์วันละ 1-4 ครั้ง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันในแต่ละวัน นอกจากนี้ยังพบได้บ่อยในผู้ชายถึงสามเท่า ส่วนสาเหตุของอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์นั้นยังไม่ทราบแน่ชัด

วิธีรักษา

ไม่มีวิธีรักษาอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ที่ทำให้หายขาด แต่เป้าหมายของการรักษาคือลดความรุนแรงของอาการปวด ลดระยะเวลาปวด และป้องกันการโจมตี เนื่องจากอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์เกิดขึ้นอย่างกะทันหันและอาจบรรเทาลงภายในระยะเวลาสั้นๆ จึงประเมินและรักษาได้ยาก ต้องใช้ยาที่ออกฤทธิ์เร็ว โดยแพทย์อาจแนะนำการบำบัดด้วยออกซิเจน หรือใช้ยาชาเฉพาะที่เพื่อบรรเทาอาการปวด

การดูแลตัวเองเมื่อปวดหัวคลัสเตอร์

  • นอนหลับตามเวลาปกติ เพราะอาการปวดอาจเกิดขึ้นได้เมื่อเปลี่ยนแปลงเวลานอน
  • หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ รวมทั้งเบียร์และไวน์
  • กินอาหารเสริมเมลาโทนินขนาด 10-25 มิลลิกรัมก่อนนอน อาจช่วยป้องกันอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ได้ รวมถึงเมลาโทนินยังช่วยแก้ปัญหานอนไม่หลับได้ด้วย
  • ออกกำลังกายด้วยการหายใจลึกๆ การบำบัดด้วยออกซิเจนเป็นหนึ่งในการรักษาอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์

เกร็ดสุขภาพ : ลักษณะการปวดหัวแบบต่างๆ นั้น โดยทั่วไปจะมีอาการปวดหัวเป็นระยะๆ และจะหายไปภายใน 48 ชั่วโมง แต่หากคุณมีอาการปวดเป็นเวลานานกว่าสองวันหรือรุนแรงขึ้นควรไปพบแพทย์เพื่อขอความช่วยเหลือ และหากคุณมีอาการปวดหัวมากกว่า 15 วันในหนึ่งเดือนในช่วงเวลาสามเดือน แปลว่าคุณอาจมีอาการปวดหัวเรื้อรัง ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่ามีอะไรผิดปกติ เพราะอาการปวดหัวอาจเป็นสัญญาณของภาวะสุขภาพที่ร้ายแรงกว่านั้น และบางคนก็ต้องการการรักษาที่นอกเหนือไปจากยาแก้ปวดหัวทั่วไปและการเยียวยาที่บ้านด้วยค่ะ

ได้รู้จักกันไปแล้วนะคะว่าอาการปวดหัวมีกี่ประเภท ซึ่ง 4 ประเภทที่เรายกมานั้นเป็นอาการปวดหัวที่พบได้บ่อยที่สุดในทุกๆ คน หากคุณมีอาการดังกล่าวข้างต้น ให้พิจารณาอาการของตนเองแล้วทำการดูแลรักษาให้ถูกต้อง เพื่อที่จะได้ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานกับอาการปวดหัวอีกต่อไปค่ะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : webmd.com, healthline.com, mayoclinic.org, my.clevelandclinic.org, drshehadi.com

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save