X

อาการนอนกรน ภัยเงียบที่ไม่ได้มีแค่ความน่ารำคาญ ใครเป็นอยู่ต้องเช็ก !

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

อาการนอนกรน ภัยเงียบที่ไม่ได้มีแค่ความน่ารำคาญ ใครเป็นอยู่ต้องเช็ก !

การนอนกรน เป็นอาการที่พบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง และเป็นอาการที่สร้างความรำคาญให้กับคนที่นอนด้วย ซึ่งความรุนแรงและผลกระทบต่อสุขภาพอาจแตกต่างกันไป การกรนอาจจะเสียงเบาเป็นครั้งคราว หรือบางครั้งอาจจะเสียงดังจนน่ารำคาญ ซึ่งนั่นอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติของการหายใจที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับที่ร้ายแรง และส่งผลให้เป็นปัญหาเรื้อรังได้ และเพื่อที่ทุกคนจะทำความรู้จักภัยเงียบของ อาการนอนกรน ในบทความนี้ เพื่อสุขภาพจะพาไปรู้ถึงสาเหตุ อันตราย วิธีการรักษา และการแก้ปัญหานอนกรน ที่จะช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดีขึ้น

อาการนอนกรน เกิดจากอะไร ? อันตรายแค่ไหนมาดูกัน !

Image Credit : canva.com-pro

การนอนกรนเป็นอาการที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน ซึ่งเกิดจากการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่อในช่องคอและจมูกขณะหายใจ อาการนี้มักเป็นสัญญาณบอกเหตุของปัญหาสุขภาพที่อาจซ่อนอยู่ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคอ้วน หรือความผิดปกติของโครงสร้างทางเดินหายใจ หากพบว่านอนกรนมากผิดปกติหรือส่งผลกระทบต่อคุณภาพการนอน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและหาแนวทางแก้ไขที่เหมาะสม ใครที่เป็นอยู่ ลองมาทำความเข้าใจ และดูแลตัวเองกันค่ะ

Bewell Adjustable Bed โครงเตียงปรับระดับเพื่อสุขภาพ

อาการนอนกรน คืออะไร ?

การนอนกรน คือ การหายใจที่มีเสียงดังขณะนอนหลับ เป็นอาการทั่วไปที่อาจส่งผลกระทบต่อทุกคน แม้ว่าจะเกิดขึ้นบ่อยกว่าในผู้ชายและในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน แต่การกรนมีแนวโน้มที่จะแย่ลงตามอายุ ซึ่งการกรนเป็นครั้งคราวมักไม่ใช่ปัญหาร้ายแรง ส่วนใหญ่จะเป็นเพียงเรื่องน่ารำคาญสำหรับคู่นอนของคุณจนอาจทำให้นอนไม่หลับ แต่ถ้าคุณมีอาการนอนกรนมาเป็นเวลานาน ไม่เพียงแต่รบกวนรูปแบบการนอนหลับของคนใกล้ชิดเท่านั้น แต่ยังส่งผลเสียต่อคุณภาพการนอนหลับของคุณเองด้วย เพราะนี่อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพอีกด้วย

Image Credit : canva.com-pro

สาเหตุ คืออะไร ?

การนอนกรนเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยในชีวิตประจำวัน ซึ่งสร้างความรำคาญให้กับทั้งผู้กรนและผู้ร่วมห้องนอน และยังอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงปัญหาสุขภาพที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใต้เสียงดังกังวานนั้น เรามาดูสาเหตุกันค่ะ

1. โครงสร้างทางเดินหายใจตอนบน

เมื่อกล้ามเนื้อบริเวณคอและลิ้นไก่ผ่อนคลายมากเกินไปขณะหลับ ช่องทางอากาศจะแคบลงและสั่นสะเทือน โดยเฉพาะในคนที่มีเพดานอ่อนยาวหรือลิ้นไก่ใหญ่กว่าปกติ ทำให้อากาศไหลผ่านด้วยความยากลำบากและเกิดเสียงดังกังวาน

2. น้ำหนักตัวเกิน

ไขมันส่วนเกินบริเวณคอ และใบหน้า จะไปกดทับเส้นทางเดินหายใจ ทำให้เนื้อเยื่อในช่องคอมีขนาดใหญ่ขึ้น ลดพื้นที่การหายใจ และเพิ่มแรงดันที่ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของเยื่อเมือก ผู้ที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) เกิน 25 จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น

3. การดื่มแอลกอฮอล์ หรือยานอนหลับ

สารเหล่านี้จะไปกดประสาทส่วนกลางที่ควบคุมการหายใจ ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอผ่อนคลายมากเกินไป ส่งผลให้เส้นทางหายใจตีบแคบและเกิดเสียงกรน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าดื่มใกล้เวลานอน

4. โรคทางเดินหายใจ

ภาวะอักเสบหรือการอุดตันในโพรงจมูกจะทำให้การไหลของอากาศติดขัด เช่น โรคภูมิแพ้ที่ทำให้เยื่อบุจมูกบวม ไซนัสอักเสบ หรือความผิดปกติทางโครงสร้าง เช่น กระดูกกั้นจมูกคด ทอนซิลโต จะยิ่งเพิ่มโอกาสการนอนกรน

5. อายุ และเพศ

เมื่ออายุมากขึ้น กล้ามเนื้อจะค่อยๆ สูญเสียความยืดหยุ่น ทำให้ช่องทางเดินหายใจแคบลง ผู้ชายมักมีโอกาสนอนกรนมากกว่าผู้หญิง เนื่องจากมีโครงสร้างทางกายวิภาคของช่องคอที่แตกต่างกัน

6. การนอนหงาย

ท่านอนนี้จะทำให้ลิ้นและเพดานอ่อนตกลงไปปิดกั้นช่องทางหายใจ เกิดการสั่นสะเทือนและเสียงกรน การใช้หมอนรองรับคอให้สูงขึ้นหรือนอนตะแคงอาจช่วยลดอาการได้

เกร็ดสุขภาพ : ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจนำไปสู่การกรน ได้แก่ ผู้ชายจะมีแนวโน้มที่จะกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับมากกว่าผู้หญิง รวมถึงผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนมักจะกรนหรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น นอกจากนี้คนที่มีประวัติครอบครัวนอนกรนหรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับอุดกั้น การถ่ายทอดทางพันธุกรรมก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้

ErgoLab Deep Sleep หมอนที่รองรับสรีระการนอนได้อย่างสมบูรณ์แบบ

รักษาอาการนอนกรน ยังไงดี ?

สำหรับผู้ที่นอนกรนไม่บ่อยหรือเป็นเบื้องต้น การรักษาอาจไม่จำเป็น เว้นแต่จะเป็นการรบกวนการนอนหลับของคนที่พวกเขาอาศัยอยู่ด้วย ซึ่งการรักษารวมถึงแก้ปัญหานอนกรนขึ้นอยู่กับลักษณะของการกรน และประเภทของปัญหาที่เกิดขึ้น โดยแพทย์จะเลือกใช้การรักษา ดังนี้

  • การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต เช่น ลดน้ำหนัก เลิกสูบบุหรี่ หรือเลิกดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน
  • สวมอุปกรณ์พลาสติกขนาดเล็กในปากขณะนอนหลับ จะช่วยให้ทางเดินหายใจเปิดได้โดยการขยับกรามหรือลิ้น
  • การผ่าตัด แพทย์อาจถอดหรือหดเนื้อเยื่อในลำคอ หรือทำให้เพดานอ่อนแข็งขึ้นด้วยการผ่าตัด
  • ใช้อุปกรณ์แก้กรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือ CPAP คือ การใช้ความดันอากาศส่งผ่านท่ออากาศเข้าสู่หน้ากากที่ครอบอยู่เหนือปากและจมูก โดยใช้อย่างต่อเนื่องจะช่วยรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และอาจลดการกรนโดยการเป่าลมเข้าไปในทางเดินหายใจในขณะที่นอนหลับได้
Image Credit : canva.com-pro

อันตรายจากการนอนกรน คืออะไร ?

อาการนอนกรนที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น อดนอน ดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ รวมถึงมีน้ำหนักตัวมากนั้น อาจไม่ส่งผลต่ออันตรายต่อสุขภาพมากนัก แต่หากการนอนกรนนั้นมาจากการมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ก็จะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) มักจะมีอาการกรนดังๆ และตามมาด้วยความเงียบเป็นระยะๆ เมื่อหยุดหายใจหรือเกือบจะหยุดในที่สุด การหายใจที่ลดลงหรือหยุดชั่วคราวนี้อาจส่งสัญญาณให้คุณตื่น และอาจตื่นขึ้นพร้อมกับเสียงหายใจดังหรือเสียงหอบ ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นมักมีช่วงเวลาที่หายใจช้าลงหรือหยุดอย่างน้อย 5 ครั้งในแต่ละชั่วโมงของการนอนหลับ หากคุณมีอาการเหล่านี้ สิ่งเหล่านี้อาจบ่งชี้ว่าการกรนของคุณเกี่ยวข้องกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ดังนั้น ควรไปพบแพทย์จะดีที่สุด

เกร็ดสุขภาพ : การกรนเป็นนิสัยอาจเป็นมากกว่าความรำคาญ นอกจากรบกวนการนอนหลับของคู่นอนแล้ว หากการกรนเกี่ยวข้องกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับอุดกั้น ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ด้วย ได้แก่ ง่วงนอนตอนกลางวัน หงุดหงิดหรือโกรธบ่อย ขาดสมาธิ เสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือดสมองมากขึ้น รวมถึงมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของอุบัติเหตุทางรถยนต์เนื่องจาการอดนอนด้วยค่ะ ซึ่งหากอดนอนเพราะนอนกรนนั้น จะใช้วิธีนอนกลางวันดีไหม ก็ต้องบอกว่าการงีบเป็นเวลาสั้นๆ จะช่วยให้เราหายง่วงนอนระหว่างวันได้ค่ะ

อยากรักษาอาการนอนกรน ต้องดูแลตัวเองยังไง ?

  1. นอนตะแคง
  2. ยกหัวเตียงขึ้น 2-3 นิ้ว
  3. ใช้แถบยางยืดที่ติดกับสันจมูกเพื่อขยายรูจมูก
  4. ใช้สารคัดหลั่งเพื่อเปิดทางเดินหายใจ แต่ห้ามใช้เกิน 3 วันโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์

FULI เครื่องนวดคอ บ่า ไหล่ ไฟฟ้าอัจฉริยะ | FULI Neck and Shoulder Massager

ผลกระทบที่ใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของอาการนอนกรน คือ คนที่นอนร่วมเตียงหรือห้องนอนร่วมกับคนกรน การกรนเรื้อรังอาจขัดจังหวะการนอนหลับและอาจสร้างความตึงเครียดในครอบครัว การหยุดกรนจึงเป็นวิธีแก้ปัญหาที่เร่งด่วนที่สุด แต่ก็ไม่ได้ทำได้ง่ายๆ เสมอไป ซึ่งการใช้ที่อุดหูอาจช่วยให้คู่นอนรับมือกับการกรนได้ หากคุณเป็นคนที่นอนกรน อย่าลืมสังเกตตัวเอง หรือให้คนที่นอนด้วยช่วยบอก เพราะหากเรามีการกรนพร้อมกับการหายใจที่ปกติ จะได้รีบทำการรักษาก่อนสายนั่นเองค่ะ

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save