X

เป็นลมแดด เกิดจากสาเหตุอะไร ? มีวิธีปฐมพยาบาลได้อย่างไรบ้าง ?!

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

เป็นลมแดด เกิดจากสาเหตุอะไร ? มีวิธีปฐมพยาบาลได้อย่างไรบ้าง ?!

เมื่อหน้าร้อนมาถึง สิ่งหนึ่งที่เรามักจะได้ยินกันอยู่บ่อยๆ เลยคือการ เป็นลมแดด ซึ่งหลายคนก็ยังไม่รู้จักหรือรู้ถึงสาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้ว่าเกิดจากอะไร และสามารถเกิดขึ้นกับใครได้บ้าง เพื่อการดูแลตนเองและสามารถช่วยเหลือคนรอบตัวจากโรคลมแดดได้ บทความนี้มีวิธีการปฐมพยาบาลคนเป็นลมแดดและวิธีป้องกันมาแนะนำกันค่ะ

เป็นลมแดด คืออะไร ? ชวนรู้ถึงสาเหตุและวิธีป้องกัน

เป็นลมแดด, ปฐมพยาบาลคนเป็นลมแดด

โรคลมแดด (Heatstroke) เป็นภาวะที่ร่างกายมีความร้อนสูงเกินไป ซึ่งมักเกิดจากการสัมผัสอากาศร้อนเป็นเวลานาน หรือออกแรงมากเกินไปในสภาพอากาศร้อนหรือในที่ที่มีอุณหภูมิสูง ฮีทสโตรกเป็นภาวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้เมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ซึ่งภาวะนี้พบได้บ่อยที่สุดในช่วงฤดูร้อน และเกิดขึ้นได้กับทุกคน อาการต่างๆ ที่พบอาจรวมถึงอาการสับสน ชัก หรือหมดสติ โรคลมแดดต้องได้รับการรักษาฉุกเฉิน หากเป็นลมแดดแล้วไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลให้อวัยวะล้มเหลว และสามารถทำลายสมอง หัวใจ ไต และกล้ามเนื้อของคุณได้อย่างรวดเร็ว จนถึงขั้นอาการโคม่า หรือเสียชีวิตได้ เพราะฉะนั้น เพื่อการดูแลตนเองและคนรอบข้าง เราควรมารู้ถึงอาการต่างๆ และวิธีปฐมพยาบาลคนเป็นลมแดดกันค่ะ

เกร็ดสุขภาพ : โรคลมแดดมักส่งผลกระทบต่อเด็กและผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในอพาร์ตเมนต์ หรือบ้านที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศหรือไม่มีอากาศถ่ายเทได้ดี เพราะทารกและเด็กอายุไม่เกิน 4 ปี และผู้ใหญ่ที่อายุเกิน 65 ปี มีความเสี่ยงเป็นพิเศษเนื่องจากปรับตัวให้เข้ากับความร้อนได้ช้ากว่าคนอื่นๆ รวมถึงกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงอื่นๆ ได้แก่ คนทุกวัยที่ไม่ดื่มน้ำเพียงพอ มีโรคเรื้อรัง หรือผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไป คนที่กินยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาจิตเวช ยาโรคสมอง คนที่อดนอน และคนที่ใส่เสื้อผ้าหนาระบายอากาศไม่ดี เป็นต้น เพราะฉะนั้น เพื่อการป้องกันเบื้องต้น แนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ หรือดื่มน้ำบ๊วยสรรพคุณคือช่วยดับกระหายคลายร้อนได้

  • อาการของการเป็นลมแดด
เป็นลมแดด, ปฐมพยาบาลคนเป็นลมแดด

อาการที่พบและเห็นได้ชัดของคนที่เป็นโรคลมแดดคือ อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ที่เป็นสัญญาณหลักของโรคลมแดด รวมถึงการมีสภาพจิตใจหรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ความสับสน ความปั่นป่วน การพูดไม่ชัด ความหงุดหงิด เพ้อ ชัก และโคม่า ล้วนเป็นผลมาจากโรคลมแดดทั้งสิ้น

นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของการขับเหงื่อก็เป็นหนึ่งในอาการของการเป็นลมแดดเช่นกัน ในโรคลมแดดที่เกิดจากอากาศร้อน ผิวของคุณจะรู้สึกร้อนและแห้งเมื่อสัมผัส ส่วนโรคลมแดดที่เกิดจากการออกกำลังกายที่ต้องใช้กำลังมาก ผิวของคุณอาจรู้สึกแห้งหรือชื้นเล็กน้อย และอาการอื่นๆ ที่พบ ได้แก่ คลื่นไส้และอาเจียน คุณอาจรู้สึกไม่สบายท้องหรืออาเจียน ผิวของคุณอาจเปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น มีการหายใจเร็วและตื้น มีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นอย่างมากเนื่องจากความเครียดจากความร้อน และอาการปวดศีรษะ

เกร็ดสุขภาพ : การวินิจฉัยโรคลมแดดของแพทย์นั้น แพทย์จะทำการตรวจสอบอาการ ตรวจร่างกาย และวัดอุณหภูมิร่างกาย  และอาจต้องทำการตรวจเลือดหรือตรวจปัสสาวะ และรวมถึงการเอ็กซ์เรย์ทรวงอกหรือคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ร่วมด้วย เพื่อติดตามการทำงานของหัวใจ จะได้วินิจฉัยโรคและอาการได้ถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น

  • การปฐมพยาบาลคนเป็นลมแดด
เป็นลมแดด_, ปฐมพยาบาลคนเป็นลมแดด

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสามารถช่วยโรคลมแดดได้อย่างไร ? หากคุณสงสัยว่ามีคนเป็นลมแดด ให้พาบุคคลนั้นไปโรงพยาบาลในทันที หรือโทรแจ้ง 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ความล่าช้าในการขอความช่วยเหลือทางการแพทย์อาจทำให้ผู้ป่วยอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ และระหว่างรอเจ้าหน้าที่พยาบาลมาถึง ให้เริ่มการปฐมพยาบาลเพื่อทำให้อุณหภูมิเย็นลง โดยสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้น ดังต่อไปนี้

  1. ย้ายบุคคลนั้นไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศถ่ายเทและเป็นที่ร่มเย็น หรือมีเครื่องปรับอากาศ
  2. ถอดเสื้อผ้าที่ไม่จำเป็นออก เช่น เสื้อคลุม หรือปลดกระดุมเสื้อตัวนอกออกเล็กน้อยเพื่อเพิ่มการระบายความร้อน
  3. จัดท่าผู้ป่วยด้วยการยกขาสูงเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและความดันโลหิต
  4. หากผู้ป่วยพอจะรู้สึกตัว ให้ดื่มน้ำมากๆ โดยดื่มน้ำธรรมดาหรือน้ำเย็นก็ได้ แต่ห้ามใช้น้ำร้อนหรือน้ำอุ่น
  5. ลดอุณหภูมิของผู้ป่วย โดยการทำให้ผิวหนังเปียก ด้วยการใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำธรรมดา เช็ดตัวตามข้อพับ แขน ขา และซอกคอ หรือใช้การประคบน้ำแข็งบริเวณรักแร้ ขาหนีบ คอ และหลัง และใช้พัดลมเป่าระบายความร้อนช่วย เนื่องจากบริเวณเหล่านี้เต็มไปด้วยเส้นเลือดที่ใกล้กับผิวหนัง การระบายความร้อนอาจช่วยลดอุณหภูมิของร่างกายได้
  6. หากบุคคลนั้นอายุน้อยและมีสุขภาพแข็งแรง และเป็นลมแดดขณะออกกำลังกาย หรือที่เรียกว่าโรคลมแดดโดยออกแรง คุณสามารถใช้อ่างน้ำแข็งเพื่อช่วยให้ร่างกายผู้ป่วยเย็นลงได้ แต่ห้ามใช้น้ำแข็งกับผู้ป่วยสูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือผู้ที่มีอาการลมแดดโดยไม่ได้ออกกำลังกายหนัก เพราะการทำเช่นนี้อาจเป็นอันตรายได้
  7. หากผู้ป่วยมีอาการมาก เช่น เป็นลมหรือหมดสติ ไม่รู้สึกตัว ให้รีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นดังกล่าวและนำส่งโรงพยาบาลทันที เพื่อทำการรักษาอย่างเร่งด่วน
เป็นลมแดด_, ปฐมพยาบาลคนเป็นลมแดด

เมื่อดัชนีความร้อนสูง ควรอยู่ในที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ แต่หากคุณต้องออกไปข้างนอก คุณสามารถป้องกันโรคลมแดดได้โดยทำตามขั้นตอนเหล่านี้

  1. สวมเสื้อผ้าน้ำหนักเบา สีอ่อน หลวม และหมวกปีกกว้าง หากต้องอยู่กลางแดดจัด หรือในที่ร้อน
  2. ใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป
  3. ดื่มน้ำเพิ่มเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ โดยทั่วไปแนะนำให้ดื่มน้ำเปล่า น้ำผลไม้ เช่น เมนูแตงโม หรือน้ำผัก อย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน
  4. หากออกกำลังกายหรือทำงานกลางแจ้ง ให้ดื่มน้ำประมาณ 2 แก้ว ก่อนออกกำลังกายหรือตากแดด 2 ชั่วโมง และดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มเกลือแร่อีก 1 แก้ว ในระหว่างออกกำลังกายหรือทำงานกลางแจ้ง และควรดื่มน้ำทุกๆ 20 นาที แม้ว่าจะไม่รู้สึกกระหายน้ำก็ตาม
  5. หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งถ้าไม่จำเป็น หรือหากจำเป็นให้เปลี่ยนเวลากลางแจ้งเป็นเวลาที่อากาศเย็นที่สุดของวัน ไม่ว่าจะเป็นตอนเช้าตรู่หรือหลังพระอาทิตย์ตกดินก็ได้ เพื่อป้องกันการเป็นลมแดดค่ะ
  6. หลีกเลี่ยงของเหลวที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ เพราะสารทั้งสองสามารถทำให้คุณสูญเสียของเหลวในร่างกายมากขึ้น

เมื่อทำการปฐมพยาบาลและนำส่งโรงพยาบาลเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะระบายความร้อนของร่างกายด้วยของเหลวทางหลอดเลือดดำที่แขน และอาจมีการให้ยาเพื่อป้องกันอาการชัก รวมถึงออกซิเจนเสริม และในบางคนจำเป็นต้องใช้น้ำเย็นเพื่อลดอุณหภูมิในร่างกาย การรักษานี้จะใช้สายสวนที่เป็นท่อแบบบางและยืดหยุ่น เพื่อเติมน้ำเย็นลงในโพรงในร่างกาย โดยสวนเข้าไปในทวารหนักหรือคอ และจะหยุดการรักษาเมื่อร่างกายมีอุณหภูมิประมาณ 38.9 องศาเซลเซียส ถึงจะอยู่ในระยะที่ปลอดภัย

เราได้รู้จักโรคลมแดด วิธีการดูแลและป้องกันตนเอง รวมถึงการปฐมพยาบาลเบื้องต้นกันไปแล้ว หากพบเห็นคนเป็นลมแดด หรือบุคคลในครอบครัว สามารถนำวิธีเหล่านี้ไปปฏิบัติได้ทันที และรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด ที่สำคัญห้ามทิ้งเด็กหรือสัตว์เลี้ยง ไว้ในที่ปิดและร้อนจัด เช่น ในรถยนต์ เพื่อป้องกันการเกิดโรคลมแดดที่อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ เพราะการอยู่ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเท หรือในที่ที่มีความเย็น จะช่วยให้คุณและคนในครอบครัวปลอดภัยจากการเป็นโรคลมแดดได้ นอกจากนี้แนะนำให้กินอาหารคลายร้อนในช่วงที่มีอากาศร้อน เพื่อช่วยปกป้องตนเองได้อีกด้วยค่ะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : clevelandclinic.org, tm.mahidol.ac.th

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save