X

เลือดออกในสมอง อาการเป็นยังไง ? ชวนเข้าใจ ก่อนที่จะสายเกินแก้ !

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

เลือดออกในสมอง อาการเป็นยังไง ? ชวนเข้าใจ ก่อนที่จะสายเกินแก้ !

เมื่อเริ่มมีอายุมากขึ้น การทำงานของระบบโครงสร้างต่างๆ ในร่างกายเริ่มเสื่อมลง ทำให้มีปัญหาเรื่องสุขภาพที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และหากใช้ชีวิตด้วยความเร่งรีบ มีความเครียดสะสม รวมถึงการทำงานหนักเกินไป จนทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดสภาวะเลือดออกในสมอง ซึ่งถือว่าเป็นโรคที่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันตัวเองไม่ให้เจ็บป่วยเราควรมาทำความรู้จักกับโรค เลือดออกในสมอง คืออะไร รวมถึงอาการเป็นยังไง ? เพื่อจะได้ดูแลตัวเองได้อย่างถูกต้อง ก่อนที่จะสายเกินไปค่ะ

โรคเลือดออกในสมอง (Intracerebral Hemorrhage) คืออะไร รู้ไว้ก่อนสายเกินไป !

เลือดออกในสมอง อาการ, เลือดออกในสมอง

สำหรับโรคเลือดออกในสมอง เกิดจากหลอดเลือดในสมองเสื่อม และความดันโลหิตสูง ทำให้เส้นเลือดในสมองแตก หรือฉีกขาด และมีเลือดไหลออกมา ทำให้เซลล์สมองในบริเวณนั้นได้รับความเสียหาย ส่งผลให้เกิดสภาวะสมองบวมในที่สุด โรคเลือดออกในสมองหากไม่ได้รับการรักษาอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ สำหรับโรคนี้พบได้บ่อย ในกลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขี้นไป โดยเฉพาะบุคคลที่มีความเครียด และมีปัญาหาด้านสุขภาพอยู่แล้ว มักเกิดภาวะเลือดออกในสมองมากกว่าคนปกติ

  • ภาวะเลือดออกในสมอง อาการเฉียบพลัน ที่ควรระวัง
เลือดออกในสมอง อาการ, เลือดออกในสมอง

ภาวะเลือดออกในสมอง  อาการที่แสดงออกอย่างเฉียบพลัน โดยที่ผู้ป่วยอาจจะไม่มีโอกาสทราบล่วงหน้า ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยมีดังต่อไปนี้

  1. ปวดหัวรุนแรง

การเกิดภาวะเลือดออกในสมอง อาการที่มักพบได้บ่อยคือ มี “ลักษณะการปวดหัว”อย่างรุนแรงแบบเฉียบพลัน และมักมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น โดยอาการเหล่านี้จะมีความรุนแรงมากขึ้นอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้    หากไม่รีบไปพบแพทย์

  1. แขนขาอ่อนแรง หรือชาครึ่งซีก

เมื่อเกิดภาวะเลือดออกในสมอง อาการเริ่มมีความรุนแรงจะส่งผลให้แขนขาอ่อนแรง โดยเริ่มจากบริเวณมือ แขน ขา หรือเท้าข้างใดข้างหนึ่งมีอาการชายกไม่ขึ้น และไม่สามารถกำมือได้ หรือหยิบจับอะไรแล้วหล่นง่าย เป็นต้น หากอาการรุนแรงมากขึ้นร่างกายจะชาครึ่งซีก หรือทั้งตัว อีกทั้งยังมีอาการพูดไม่ชัด ปากเบี้ยว ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตในเวลาต่อมา โดยอาการดังกล่าวนี้ เป็นสัญญาณเตือนว่า ควรรีบไปพบแพทย์ด่วน

  1. ตาพร่ามัวมองไม่เห็นเฉียบพลัน

ถ้ามีเลือดออกในสมองในปริมาณมาก จะเริ่มมีอาการสายตาพร่ามัว การตอบสนองของรูม่านตาไม่เท่ากัน เริ่มมองไม่เห็น มีอาการมือสั่นร่วมด้วย และหากอาการรุนแรงมากขึ้น จะสูญเสียการทรงตัว ร่างกายเริ่มไม่ตอบสนอง และหมดสติในที่สุด

เกร็ดสุขภาพ : การเกิดภาวะเลือดออกในสมอง ถือว่าเป็นอันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้ หากผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์ด่วน แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะเลือดออกในสมอง อาการอาจไม่แสดงออกในทันที ดังนั้นผู้ป่วยต้องคอยสังเกตุอาการ และความผิดปกติของร่างกายที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ภาวะเลือดออกในสมอง เนื่องจากศีรษะได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุอย่างรุนแรง อาการเริ่มแรกอาจยังพูดได้ปกติ แต่ผ่านไปสักพักร่างกายจะสูญเสียการทรงตัว และหมดสติไป เพราะฉะนั้นหากศีรษะได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงควรรีบไปพบแพทย์ทันที

  • วิธีการรักษาโรคเลือดออกในสมอง
เลือดออกในสมอง_อาการ, เลือดออกในสมอง

การรักษาสภาวะเลือดออกในสมองส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่มีเลือดออก สาเหตุ และปริมาณเลือดที่ออกมา ซึ่งมีวิธีรักษาดังต่อไปนี้

  • ภาวะเลือดออกในสมอง อาการไม่รุนแรง

สำหรับผู้ป่วยที่มีเลือดออกในสมอง อาการไม่รุนแรงคือ มีเลือดออกในสมองเป็นจุดเล็กๆ และไม่มีอาการใดๆ อาจจะไม่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด แต่จะรักษาโดยการให้ยาลดอาการบวมของสมอง เพื่อช่วยลดความเสียหายของสมองจากภาวะเลือดออก และเฝ้าสังเกตุอาการตลอดเวลา และวัดความดันในกะโหลกศีรษะ รวมทั้งทำ CT scan สมองซ้ำอีก สำหรับคนที่ป่วยเป็น “ต่อมทอมซิลอักเสบ” ร่วมด้วยต้องระวังไม่ให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เพราะจะทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงสมองเกิดภาวะติดเชื้ออย่างรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

  • ภาวะเลือดออกในสมอง อาการรุนแรง

ถ้าสมองมีเลือดออกปริมาณมาก ส่วนใหญ่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด โดยทั่วไปแพทย์จะเลือกใช้การผ่าตัดอยู่ 2 วิธีคือ

  1. ผ่าตัดโดยการเปิดกะโหลกศีรษะ

ผู้ป่วยที่มีเลือดออกในสมองอย่างรุนแรง และมีก้อนเลือดขนาดใหญ่จะต้องรักษาด้วยการเปิดกะโหลกศีรษะจึงจะสามารถนำก้อนเลือดออกมาได้

  1. ผ่าตัดโดยการระบายของเหลว

ในกรณีที่สมองมีเลือดออกเฉพาะแห่ง และมีลิ่มเลือดไม่มากเกินไป อาจจะใช้วิธีการเจาะกะโหลกศีรษะ และใช้ท่อดูดระบายเลือดออกมา

เกร็ดสุขภาพ : ในช่วงที่เข้ารับการผ่าตัดแพทย์จะให้ยารักษาควบคู่ไปด้วย เช่น ยาขับปัสสาวะ เพื่อช่วยลดอาการบวมรอบๆ บริเวณที่มีเลือดออก และยาลดความดัน เพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ นอกจากนี้การฟื้นตัวหลังผ่าตัด อาจจะใช้เวลาพักฟื้นหลายปี ดังนั้นผู้ป่วยควรทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย เพื่อให้สภาพร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้น

  • วิธีการดูแลตัวเอง ห่างไกลจากโรคเลือดออกในสมอง

ภาวะเลือดออกในสมองส่วนใหญ่จะเกิดจากหลายปัจจัย แต่เราสามารถป้องกันได้ ถ้าดูแลตัวเองให้ร่างกายแข็งแรง เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะเลือดออกในสมอง โดยมีวิธีดังต่อไปนี้

  1. ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง

หากใครที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ต้องควบคุมความดันไม่ให้สูงเกินไป เนื่องจาก   ผู้ที่มีประวัติความดันโลหิตสูงจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกในสมองมากกว่า     คนปกติ ดังนั้นคนที่มีความดันโลหิตสูงต้องดูแลตัวเองให้แข็งแรง เช่น ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่สูบบุหรี่ รวมถึงหา “วิธีแก้อาการอ่อนเพลีย” หากทำงานหนักเกินไป และที่สำคัญต้องกินยารักษาภาวะความดันโลหิตร่วมด้วย

  1. ป้องกันการได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ

การเกิดอุบัติเหตุเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเลือดออกในสมอง ดังนั้น เมื่อขับขี่ยานพาหนะควรมีการสวมหมวกกันน็อค และเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ศีรษะได้รับบาดเจ็บจนนำไปสู่ภาวะเลือดออกในสมอง ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้

สำหรับโรคเลือดออกในสมองสามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย แต่จะเกิดขึ้นบ่อยในกลุ่มคนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ดังนั้นทุกคนควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และหากตรวจพบว่า มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกในสมองควรเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก่อนที่จะสายเกินไปค่ะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : aans.org, mayfieldclinic.com, my.clevelandclinic.org

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save