X

ชวนรู้จัก ย้ำคิดย้ำทำ อาการเป็นยังไง ? รักษาได้มั้ย มาหาคำตอบกัน !

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

ชวนรู้จัก โรคย้ำคิดย้ำทำ อาการเป็นยังไง ? รักษาได้มั้ย มาหาคำตอบกัน !

หลายคนคงเคยรู้จักหรือได้ยินเกี่ยวกับ โรคย้ำคิดย้ำทำ มาบ้างแล้ว แต่ยังมีผู้คนอีกจำนวนมากที่สงสัยว่าตัวเองนั้นเข้าข่ายหรือไม่!  และยิ่งในช่วงสถานการณ์ของโรคระบาดโควิด-19 ตอนนี้ที่เราต้องย้ำคิดย้ำทำในการล้างมือ ฉีดแอลกอฮอล์ แทบจะทุกครั้งที่หยิบจับสิ่งของ หลายคนจึงเริ่มสงสัยว่า เอ๊ะ !! เราย้ำคิดย้ำทำรึเปล่านะ หรือบางคนก็อาจเป็นแต่ไม่รู้ตัว บทความนี้จะชวนทุกคนมาทำความรู้จักว่าย้ำคิดย้ำทำ อาการแท้จริงแล้วเป็นอย่างไร เกิดจากสาเหตุอะไร และมีวิธีการรักษา หรือดูแลตัวเองอย่างไรกันบ้าง

โรคย้ำคิดย้ำทำ คืออะไร ?

โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือที่หลายคนเคยได้ยินว่า OCD  (Osessive-Compulsive Disorder) เป็นภาวะสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องกับความคิดซ้ำ ๆ ที่ทำให้เกิดความกังวลใจ และเมื่อเกิดความกังวลใจก็จะเกิดการตอบสนองต่อความคิดโดยการทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ จนเกิดเป็นความหมกมุ่น ไม่มีเหตุผล แต่ผู้ป่วยเองก็ไม่สามารถหยุดความคิดและพฤติกรรมเหล่านั้นได้ ความคิดและพฤติกรรมซ้ำ ๆ  ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน สร้างความทุกข์ใจเป็นอย่างมาก

  • ย้ำคิดย้ำทำ อาการเป็นอย่างไร ?

โรคย้ำคิดย้ำทำ อาการมักจะค่อย ๆ ปรากฏขึ้นและอาจคงอยู่ได้นานหากไม่ได้รับการรักษา ผู้ที่เป็นอาจพบอาการย้ำคิด และ ย้ำทำ หรือทั้งสองอย่าง ดังนี้

  1. อาการย้ำคิด

เป็นความคิด ความรู้สึก หรือจินตนาการ ที่มักผุดขึ้นมาซ้ำ ๆ เช่น  คิดว่า “มือตัวเองสกปรก” “ลืมปิดแก๊ส” “ลืมล็อคประตูบ้าน” หรืออาจมีความคิดที่ร้ายแรงกว่านั้น เช่น คิดว่า “ฉันจะติดเชื้อโรคร้ายแรง” “บ้านจะไฟไหม้” “จะขับรถชน”

ย้ำคิด อาการทั่วไปที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • ความคิดก้าวร้าวเกี่ยวกับคนอื่นหรือตัวเอง
  • กลัวเชื้อโรค กลัวความสกปรก
  • ความคิดเกี่ยวกับเรื่องต้องห้าม เช่น เพศ ศาสนา หรือทำร้ายผู้อื่น

ย้ำคิดย้ำทำ อาการทางความคิดที่เกิดซ้ำ ๆ ผู้ป่วยเองก็จะรู้ตัวว่า เป็นสิ่งที่ไร้เหตุผล ทำให้ผู้ป่วยเกิดความกังวลใจ ไม่สบายใจเป็นอย่างมาก

  1. อาการย้ำทำ

เป็นพฤติกรรมที่ต้องทำซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อคลายความวิตกกังวล อาการย้ำทำมักเกี่ยวข้องกับการย้ำคิด ตัวอย่างเช่น หากคุณย้ำคิดอยู่กับความสกปรก คุณอาจรู้สึกว่าจำเป็นต้องล้างมือซ้ำ ๆ

ย้ำทำ อาการทั่วไปที่พบบ่อย ได้แก่

  • นับของซ้ำแล้วซ้ำเล่า
  • ซักผ้าหรือทำความสะอาดมากเกินไป
  • ตรวจสอบซ้ำ ๆ  เช่น ตรวจสอบประตูว่าล็อคหรือยัง ปิดเตาแก๊ส เตาอบหรือยัง

ย้ำคิดย้ำทำ อาการทางพฤติกรรมที่เกินปกติ และไม่สมเหตุสมผล ส่งผลกระทบต่อหลายด้านของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นด้านการเรียน การทำงาน ความสัมพันธ์ และการใช้ชีวิตประจำวัน

  • ย้ำคิดย้ำทำ อาการที่ควรไปพบแพทย์ ได้แก่

ย้ำคิดย้ำทำ อาการ, อาการ โรคย้ำคิดย้ำทำ
  1. ไม่สามารถควบคุมความคิดหรือพฤติกรรมได้ แม้ว่าจะรับรู้ว่ามากเกินไปหรือไม่มีเหตุ
  2. ใช้เวลาหนึ่งชั่วโมงหรือมากกว่าต่อวันอยู่กับความคิดหรือพฤติกรรมซ้ำ ๆ
  3. ความคิดหรือพฤติกรรมซ้ำ ๆ เริ่มเข้ามารบกวนชีวิตประจำวัน ส่งผลต่อการเรียน การทำงาน ความสัมพันธ์ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง
  4. รู้สึกไม่มีความสุขจากความคิดหรือพฤติกรรมซ้ำ ๆ

เกร็ดสุขภาพ : การมีความคิดหรือพฤติกรรมซ้ำ ๆ ไม่ได้หมายความว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นโรคเสมอไปนะคะ เราทุกคนมีความคิดซ้ำๆ หรือตรวจสอบสิ่งต่างๆ ซ้ำๆ เป็นระยะ ๆ ดังนั้นทุกคนต้องหมั่นสังเกตความคิด และพฤติกรรมของตัวเองอยู่เสมอ หากสงสัยว่าตนเองเข้าข่ายการเป็นโรคหรือไม่ ต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนนะคะ อย่างพึ่งตกอกตกใจจากข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

  • อะไรเป็นสาเหตุของโรค  ?

สาเหตุที่แน่ชัดของอาการย้ำคิดย้ำทำนั้นยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่อาจมีผลร่วมกัน

ย้ำคิดย้ำทำ อาการ, อาการ โรคย้ำคิดย้ำทำ
  1. ปัจจัยทางชีวภาพ

ย้ำคิดย้ำทำ อาการที่เกิดจากการสลายของวงจรในสมองที่กรองหรือ “เซ็นเซอร์” ความคิดและแรงกระตุ้นมากมายที่เรามีในแต่ละวัน หากคุณมีอาการย้ำคิดย้ำทำสมองของคุณอาจมีปัญหาในการตัดสินใจ ในการปิดความคิดและแรงกระตุ้น

  1. ประวัติครอบครัว

สำหรับคนที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ อาจมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเป็นโรคนี้ การวิจัยพบว่า หากพ่อแม่ หรือพี่น้องเป็นโรคนี้ มีโอกาส 25% ที่สมาชิกในครอบครัวที่ใกล้ชิดจะมีโรคนี้ด้วยเช่นกัน

  1. ความเครียด

ความเครียดจากปัญหาต่าง  ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การทำงาน ความสัมพันธ์ การเจ็บป่วย หรือการคลอดบุตร อาจเป็นตัวกระตุ้นที่รุนแรงสำหรับอาการของย้ำคิดย้ำทำ

  • มีวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง ?

โรคย้ำคิดย้ำทำ อาการที่สามารถปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรับการประเมิน และหากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคแล้ว สามารถเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ ในส่วนของวิธีการรักษานั้น จะมีการรักษาโดยการใช้ยา การทำจิตบำบัด หรืออาจใช้ทั้งสองวิธีควบคู่กันไปค่ะ

ย้ำคิดย้ำทำ อาการ, อาการ_โรคย้ำคิดย้ำทำ
  1. รักษาโดยการใช้ยา

การรักษาโดยการใช้ยานั้นจิตแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยและสั่งยาให้ ยาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยไม่สามารถไปสั่งซื้อตามร้านขายยาได้เอง ต้องอยู่ในการดูแลของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นนะคะ

ตัวอย่างยาที่จิตแพทย์จะใช้ในการรักษา ได้แก่

  • ยาแก้โรคซึมเศร้า เป็นยาที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อ ระบบซีโรโตนิน เช่น clomipramine และยาในกลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitors (SSRI) โดยมักใช้ในขนาดที่ใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้าเลยค่ะ ซึ่งก็อาจพบ อาการข้างเคียง ได้แก่ ปวดหัว คลื่นไส้ กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ
  • ยาคลายกังวล ในผู้ป่วยที่มีความวิตกกังวลสูง แพทย์อาจเลือกใช้ยาในกลุ่ม benzodiazepine ในระยะสั้น ๆ ยาในกลุ่มนี้ไม่มีผลโดยตรงกับการรักษาอาการย้ำคิด หรืออาการย้ำทำ และจะช่วยคลายความกังวลให้กับผู้ป่วยได้
  • ยาต้านโรคจิต ในผู้ป่วยบางรายที่ได้รับการรักษาด้วยยาแก้เศร้าแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านโรคจิต เช่น risperidone ควบคู่ไปกับยาแก้ซึมเศร้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา
  1. การทำจิตบำบัด

ย้ำคิดย้ำทำ อาการที่สามารถรักษาได้โดยการทำจิตบำบัดซึ่งจะทำโดยนักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การทำจิตบำบัด เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงในการลดความถี่และความรุนแรงของอาการย้ำคิดย้ำทำ เน้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและความคิดโดยการให้ผู้ป่วยเผชิญกับสิ่งที่ทำให้กังวลใจและป้องกันไม่ให้มีพฤติกรรมย้ำทำ

ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่มักมีพฤติกรรมการล้างมือบ่อยกว่าปกติ ก็ให้ผู้ป่วยจับสิ่งของต่างๆ ที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าสกปรก และให้รอสักพักหนึ่งจึงจะให้ล้างมือได้  การฝึกจะทำตามลำดับขั้น เริ่มจากสิ่งที่ผู้ป่วยรู้สึกกังวลน้อยไปหามาก และระยะเวลาที่ไม่ให้ล้างมืออาจเริ่มจาก 10-15 นาที ไปจนเป็นชั่วโมง หากการรักษาได้ผลผู้ป่วยจะกังวลน้อยลงเรื่อยๆ จนสามารถจับสิ่งต่างๆ ได้โดยไม่ต้องรีบไปล้างมืออย่างเมื่อก่อน

  • เราสามารถดูแลตัวเองได้อย่างไร  และป้องกันให้ไม่เกิดโรคนี้ได้หรือไม่ ?

ย้ำคิดย้ำทำ อาการ, อาการ_โรคย้ำคิดย้ำทำ

โรคย้ำคิดย้ำทำ อาการที่เป็นภาวะเรื้อรังและยาวนานที่อาจเลวร้ายลงเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องหมั่นสังเกตความคิดและพฤติกรรมของตัวเราเอง เพราะหากเราสังเกตเห็นถึงความผิดปกติได้เร็ว ก็จะสามารถเข้ารับการรักษาได้เร็ว  ทั้งนี้เมื่อเรามีความคิดและพฤติกรรมที่ผิดปกติควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน เพื่อที่จะได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง และเมื่อได้รับการวินิจฉัยแล้วจะต้องเข้ารับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้เรายังสามารถดูแลและป้องกันตัวเองได้ ดังนี้

  1. ฝึกจัดการความเครียด

ความเครียดเป็นสาเหตุหนึ่งที่มักจะทำให้เกิดอาการ ดังนั้นการจัดการความเครียดจึงเป็นสิ่งสำคัญ คุณอาจใช้วิธีการระบายอารมณ์ ความรู้สึกกับครอบครัว ความอบอุ่นในครอบครัว ก็จะช่วยป้องกันการเกิดโรคที่อาจเกิดจากความเครียดได้

  1. ใส่ใจการนอนหลับ

การนอนหลับมีผลต่อโรคที่รุนแรงมากขึ้น ดังนั้นคุณสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้โดยการดูแลและใส่ใจในเรื่องการนอนหลับพักผ่อนของตัวเองให้มีประสิทธิภาพ

  1. มีเทคนิคการผ่อนคลาย

หมั่นเพิ่มเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการดูแลจิตใจ เช่น การทำสมาธิ ผลของการนั่งสมาธิ หายใจลึกๆ การจินตนาการ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ สามารถช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลายได้

  1. การเข้าร่วมกลุ่ม

สนับสนุนให้เข้าร่วมสังคมกลุ่มผู้ป่วย เช่น มูลนิธิ กลุ่มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ กลุ่มดังกล่าวอาจเป็นประโยชน์ในการพูดคุยกับผู้ที่มีประสบการณ์เหมือนกันกับคุณ การสนับสนุนทางสังคมมีความสำคัญต่อกำลังใจ ความผาสุกทางจิตใจ และกลุ่มสนับสนุนอาจเป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการดูแล รักษาตัวเองต่อไปได้

ย้ำคิดย้ำทำเป็นความคิดและพฤติกรรมที่อาจสามารถเกิดขึ้นได้กับคุณ โดยเฉพาะหากคุณเป็นกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้มาก่อน หรือการมีความเครียดก็ตาม การมีความคิดหรือพฤติกรรมซ้ำๆ ควรหมั่นสังเกตอาการของตัวคุณเองอยู่เสมอ ไม่อย่างนั้นอาการอาจพัฒนาจนเป็นโรคและเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต ถ้าหากคุณไม่มั่นใจว่าการย้ำคิดย้ำทำนี้เป็นเพียงความกังวลหรือเป็นโรคกันแน่ เราขอแนะนำให้คุณไปรับการตรวจประเมินจากจิตแพทย์หรือกผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับคำแนะนำหรือรับการรักษาโดยเร็ว อย่างไรก็ตามการปฏิบัติตามคำแนะนำที่เราแนะนำไปข้างต้นอย่างสม่ำเสมอก็จะสามารถป้องกันและบรรเทาโรคย้ำคิดย้ำทำได้

เกร็ดสุขภาพ : ความเครียดน่ากลัวกว่าที่คิด เพราะต่างมีผลกระทบทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ดังนั้นไม่ว่าคุณจะเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำหรือไม่ ควรหมั่นสังเกตตัวเองว่าตกอยู่ในภาวะความเครียดหรือไม่ และหากพบว่าเรากำลังเผชิญกับความเครียดเราก็ต้องหาวิธีจัดการอย่างถูกต้อง เช่น การออกกำลังกาย พักผ่อนนอกสถานที่ ฟังเพลง ระบายความทุกข์ที่อยู่ในใจออกมาบ้าง

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : .verywellmind.com, med.mahidol.ac.th

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save