“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
ต้อกระจก มีกี่ระยะ ? ระยะไหนเป็นแบบไหน ต้องรักษายังไงบ้าง ?
ด้วยวัยที่มากขึ้น ทั้งอายุที่เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี และสภาพร่างกายที่แปรเปลี่ยนไป ไม่เว้นแม้แต่สายตาของเราที่นับวันก็ยิ่งมองเห็นไม่ค่อยคมชัดเหมือนแต่ก่อน สร้างความสับสนให้กับหลายๆ คนว่าอาการพวกนี้เป็นเพราะค่าสายตาที่มากขึ้น หรือดวงตาของเรามีปัญหาหรือมีความผิดปกติกันแน่นะ ? นอกจากภาวะหรือโรคที่เกี่ยวกับดวงตาอย่าง ภาวะตาแห้ง ตาพร่า เราเชื่อว่าทุกคนคงเคยได้ยินอันตรายของโรคที่เกี่ยวกับดวงตาอย่าง ‘โรคต้อ’ กันมาไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็น ต้อเนื้อ ต้อลม ต้อหิน หรือ ‘ต้อกระจก’ ที่มีโอกาสพบมากเมื่ออายุมากขึ้น ในบทความนี้ ทีมงานเพื่อสุขภาพจะมาไขข้อกังวลใจว่า ต้อกระจก เกิดจากอะไร ต้อกระจก มีกี่ระยะ และอันตรายหรือไม่ รวมถึงนำวิธีดูแลและป้องกันของโรคนี้มาฝากทุกคนอีกด้วยค่ะ
รู้อยู่แล้วแต่รู้จริงไหม ! อาการ ต้อกระจก มีกี่ระยะ ดูแลยังไงและเกิดจากอะไร
ต้อกระจกคืออะไร
อย่างที่พวกเราชอบเรียกกันว่า ‘ต้อ’ หรือ ‘โรคต้อ’ กันนั้น ความจริงแล้วคำนี้เป็นคำกว้างๆ ที่ใช้พูดถึงอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับดวงตาของเรา ซี่ง ‘โรคต้อกระจก’ เป็นหนี่งในอาการเฉพาะที่ทำให้เรามองเห็นภาพเบลอ หรือไม่คมชัดเหมือนก่อนนั่นเองค่ะ
ต้อกระจก เกิดจากอะไร
หลายคนน่าจะเคยได้ยินคำนี้กันมานานและผ่านๆ ตาอยู่บ่อยครั้ง แต่อาจยังไม่เคยรู้ว่า ต้อกระจกนั้นเกิดจากการที่เลนส์ตาของเรามีการมองเห็นที่เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่มองเห็นภาพชัดแจ๋วก็แปรเปลี่ยนเป็นสีขุ่น ส่งผลให้ตาพร่ามัว มองเห็นภาพได้ไม่ชัดเจน ซึ่งเกิดจากการที่เลนส์ตาไม่สามารถรับแสงเข้าไปได้ทั้งหมดนั่นเอง
อย่างไรก็ดี สาเหตุหลักๆ ของเลนส์ตาที่เริ่มขุ่นและแข็งมากขึ้นก็คือ โปรตีนในตาเสื่อมสภาพไปตามอายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะคนที่เข้าสู่ช่วงอายุ 50 ปีเป็นต้นไปต้องเฝ้าระวังและใส่ใจดวงตาให้มากกว่าเดิม
เกร็ดสุขภาพ : ต้อกระจกถือได้ว่าเป็นโรคที่ทำให้คนไทยสูญเสียการมองเห็นมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ไม่ใช่แค่ผู้ใหญ่หรือผู้สูงวัย แต่คนอายุน้อยก็มีโอกาสเป็นได้
จุดสังเกตอาการเบื้องต้นของต้อกระจก
ก่อนที่จะไปดูกันว่าต้อกระจก มีกี่ระยะและเป็นยังไง เรามาสังเกตอาการเบื้องต้นกันดีกว่า ! เริ่มกันที่อาการตาพร่ามัว มองเห็นมัวหรือมีฝ้าหมอกบัง มองเห็นสีต่างๆ ผิดเพี้ยนไป หรือตอนขับรถในช่วงกลางคืนมักจะเห็นแสงวิ่งกระจายไปมา หากใครเริ่มมีอาการแบบนี้ ให้สงสัยไว้เลยว่ามีโอกาสที่จะเป็นโรคต้อกระจก
หลังจากลองสำรวจตัวเองกันแล้ว มาดูกันต่อดีกว่าว่าอาการต้อกระจก มีกี่ระยะ น่ากังวลไหม รักษายังไงได้บ้าง ?
อาการของต้อกระจก มีกี่ระยะ
• ระยะที่ 1
ระยะแรกผู้ป่วยต้อกระจกจะไม่รู้สึกเจ็บหรือปวดเลยแม้แต่น้อย แต่จะค่อยๆ มองเห็นไม่ชัด
• ระยะที่ 2
ในระยะที่ 2 ผู้ป่วยจะมีความสามารถในการแยกสีลดลงทั้งในแสงสว่างและที่มืด ต่อมาอาจมีอาการมองภาพซ้อน หรือบางคนอาจมีอาการคล้ายสายตาสั้น
• ระยะรุนแรง
ในระยะรุนแรงผู้ป่วยบางคนอาจปวดตาและตาแดงฉับพลัน แต่มีโอกาสพบได้น้อยมาก
ต้อกระจกหายเองได้หรือไม่
ขอยืนยันตรงนี้เลยว่า ‘ไม่ได้’ ใครที่คิดว่าเป็นแป๊บๆ เดี๋ยวก็ดีขึ้นเองโดยที่ไม่ต้องรักษา ระวังจะสายเกินแก้ ไม่ว่าต้อกระจก มีกี่ระยะ และจะดูน่ากลัวแค่ไหน หากเราไปตรวจได้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งสามารถกอบกู้สุขภาพดวงตาได้ทันท่วงทีมากเท่านั้น
การดูแลรักษาอาการต้อกระจก
เข้าใจว่าหลายคนคงไม่อยากจะไปพบแพทย์ หรือรู้สึกกลัวที่จะเดินเข้าไปตรวจและทำการรักษากับคุณหมอ และเลือกที่จะซื้อยาหยอดตาตามร้านขายยามารักษาเอง ขอให้หยุดความคิดไว้ตรงนี้เลยค่ะ
ตามที่ได้อธิบายก่อนหน้าไปแล้วว่าต้อกระจก มีกี่ระยะ ซึ่งแผนการรักษาก็จะแตกต่างกันไปตามความรุนแรง เช่น การเปลี่ยนแว่นสายตา การทำเฟมโตเซเคินเลสิกด้วยเลเซอร์ การผ่าตัดสลายต้อกระจกเพื่อใส่เลนส์แก้วตาเทียม (เรียงจากอาการรุนแรงน้อยไปถึงมาก)
เกร็ดสุขภาพ : ด้วยสาเหตุของอาการที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง ไม่ว่าต้อกระจก มีกี่ระยะก็ไม่ได้ส่งผลรุนแรงจนถึงขั้นนำไปสู่อาการต้อหินอย่างที่ถูกใครหลายคนเข้าใจผิดกัน เพราะต้อหินเกิดจากความดันในตาสูงขึ้นจนทำให้เส้นประสาทในดวงตาเสื่อม
วิธีป้องกันอาการต้อกระจก
- ใครที่ใช้สายตาอย่างหนัก ทั้งทำงาน หรือเล่นโทรศัพท์เป็นเวลานาน แนะนำว่าหยุด ‘พักสายตา’ เป็นระยะ ทั้งนี้รวมถึงการนอนหลับให้เพียงพอก็เป็นส่วนหนึ่งของการพักสายตาด้วยเช่นกัน ถ้าใครนอนน้อยอยู่เป็นประจำ อาจจะต้องรับประทานอาหารเสริม รวมยี่ห้อ วิตามิน คนนอนน้อย เพื่อเป็นการบำรุงสุขภาพ
- หากออกไปนอกบ้านหรือการอยู่กลางแจ้ง หากสามารถใส่แว่นกันแดดที่กรองแสงยูวีได้ แนะนำว่าให้หยิบมาใส่กันแสงจะดีกว่า เพื่อเป็นการปกป้องดวงตาไม่ให้รับแสงกระทบโดยตรง
- รับประทานอาหารที่บำรุงสายตา เช่น อาหารวิตามินเอ ซึ่งมีอยู่ในผักผลไม้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นมันเทศ แครอท ผักโขม ฟักทอง หรืออาหารเสริมบำรุงสายตาก็ได้เช่นกัน
- และสิ่งที่สำคัญไม่แพ้การดูแลด้วยตัวเองก็คือ การพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กสภาพดวงตาเป็นประจำ ไม่ว่าต้อกระจก มีกี่ระยะก็ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป เพราะถ้าเราใส่ใจต่อสุขภาพดวงตาของตัวเองอยู่เป็นประจำก็สามารถป้องกันได้ก่อนเกิดอาการแน่นอน!
หลังจากที่ได้รู้ว่าต้อกระจก เกิดจากอะไรบ้าง และกระจ่างขึ้นแล้วว่าต้อกระจก มีกี่ระยะ รวมถึงทราบว่า ต้อกระจกเป็นสิ่งที่สามารถป้องกันได้ คงจะช่วยให้ทุกคนได้ระมัดระวังกันมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิต และการใช้สายตา เพราะบางสิ่งเสียไปแล้วยากที่จะฟื้นฟูกลับมาเหมือนอย่างเคย โดยเฉพาะดวงตาของเราที่มีแค่คู่นี้เพียงคู่เดียว
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : bumrungrad.com, phyathai.com, bangkokhospital.com
Featured Image Credit : freepik.com
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ