X

เท้าร้อน เกิดจากอะไร ? ชวนไขข้อสงสัย พร้อมคำแนะนำ และเช็กสัญญาณบอกโรคกัน !

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

เท้าร้อนเกิดจากอะไร ? ชวนไขข้อสงสัย พร้อมคำแนะนำ และเช็กสัญญาณบอกโรคกัน !

ใครเคยมีอาการเท้าร้อนกันบ้างคะ ? เท้าร้อนเป็นความรู้สึกร้อนหรือแสบร้อนที่เท้า มักเกิดขึ้นในเวลากลางคืนและมีอาการตั้งแต่ไม่รุนแรงไปจนถึงรุนแรง เพราะในบางครั้ง เท้าร้อนอาจมาพร้อมกับอาการต่างๆ เช่น รู้สึกชาตรงเท้า มีรอยแดง และบวม ซึ่งอาการแบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทั้งปัจจัยต่างๆ เช่น อาชีพ หรือแม้แต่การเลือกรองเท้าที่ใส่ รวมถึงอาจมีความผิดปกติเกี่ยวกับภาวะสุขภาพบางประการ แต่ไม่ต้องกังวลไป ในบทความนี้ เพื่อสุขภาพจะพามารู้จักกับอาการเท้าร้อน เกิดจากอะไร ตามเรามาทำความเข้าใจสุขภาพของเราให้มากขึ้นกันค่ะ

เท้าร้อน เกิดจากอะไร ? เป็นสัญญาณของโรคได้จริงหรือ ?!

เท้าร้อนเกิดจากอะไร, เท้าร้อน ขาดวิตามินอะไร, เท้าร้อนวูบวาบ
Image Credit : freepik.om

อาการเท้าร้อน หรือแสบร้อนที่เท้านั้น โดยส่วนใหญ่แล้วเกิดจากความเสียหายของเส้นประสาทที่มีความสัมพันธ์กับโรคเบาหวาน และภาวะทางสุขภาพหลายประการที่อาจเป็นสาเหตุของอาการเท้าร้อนได้ แต่จะพบในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานได้บ่อยที่สุด ซึ่งความรู้สึกร้อนๆ ที่เท้าหรือรู้สึกแสบร้อนบริเวณเท้านั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเป็นระยะๆ หรืออาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีอาการตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง โดยอาจรู้สึกร้อน เสียวซ่า ชา เหมือนมีหนามตำ ที่ฝ่าเท้า และมักจะเกิดอาการเท้าร้อนตอนกลางคืน แล้วเท้าร้อนเกิดจากอะไร ? อาจเกิดได้จากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็น

Philips เครื่องนวดเท้าอัตโนมัติ กดจุด นวดได้ที่บ้าน

สาเหตุของการเกิดอาการเท้าร้อน มีอะไรบ้าง ?

เท้าร้อนเกิดจากอะไร, เท้าร้อน ขาดวิตามินอะไร, เท้าร้อนวูบวาบ
Image Credit : freepik.om

1. การอักเสบของเส้นประสาทส่วนปลาย

การอักเสบของเส้นประสาทส่วนปลายที่เท้าหรือขาอาจทำให้เกิดอาการเท้าร้อนวูบวาบ รู้สึกแสบร้อนที่เท้า ซึ่งการนั่งในท่านั่งที่ลงน้ำหนักบนเท้าเป็นเวลานานหรือนั่งทับเท้าตัวเองก็อาจทำให้เกิดการอักเสบของเส้นประสาทได้ และมีอาการปวดแสบปวดร้อนตามมา

2. โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ

โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบคือการอักเสบของเอ็นใต้ฝ่าเท้า ทำให้มีอาการเจ็บปวด ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะเกิดที่บริเวณส้นเท้า ทำให้รู้สึกแสบร้อนบริเวณเท้าได้ โดยเฉพาะตอนใส่รองเท้าหรือตอนเดิน

3. โรคงูสวัด

เท้าร้อนเกิดจากอะไร ? โรคบางอย่างก็ทำให้รู้สึกแสบร้อนที่เท้าได้ เช่น โรคงูสวัดที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ส่งผลต่อเส้นประสาทและผิวหนัง ทำให้เกิดแผลพุพองที่ทำให้รู้สึกเจ็บปวดแสบร้อนบริเวณที่เป็น และสามารถรู้สึกถึงความเจ็บปวดได้แม้แต่ตอนที่ยังไม่มีตุ่มใสขึ้นตรงบริเวณผิวหนัง

4. การขาดแร่ธาตุวิตามินบางชนิด

หลายคนคงสงสัยว่าเท้าร้อน ขาดวิตามินอะไรบ้าง แน่นอนว่าการขาดวิตามินหรือสารอาหารต่างๆ ทำให้เกิดอาการเท้าร้อนได้ เพราะเส้นประสาทต้องการแร่ธาตุวิตามินบางชนิดเพื่อให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง หากร่างกายได้รับสารอาหารบางอย่างไม่เพียงพอ ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายของเส้นประสาทและมีอาการเท้าร้อนได้ เท้าร้อน ขาดวิตามินอะไร ? การขาดโฟเลต วิตามิน B1 วิตามิน B6 และวิตามิน B12 สามารถนำไปสู่โรคระบบประสาท และนำไปสู่อาการเท้าร้อนได้ค่ะ

5. การตั้งครรภ์

ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์อาจรู้สึกเท้าร้อนเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เพิ่มอุณหภูมิร่างกายได้ เพราะน้ำหนักที่กดลงบนเท้าอาจเพิ่มขึ้นเนื่องจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตามธรรมชาติในขณะตั้งครรภ์และการเพิ่มขึ้นของของเหลวในร่างกายทั้งหมด อาจมีบทบาทในการทำให้เท้าร้อนในระหว่างตั้งครรภ์ได้ค่ะ

6. วัยหมดประจำเดือน

เท้าร้อน เกิดจากอะไรได้อีกบ้าง ? สตรีที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือนก็อาจมีอาการเท้าร้อนได้เช่นกัน เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นและเท้าร้อนวูบวาบได้ โดยผู้หญิงส่วนใหญ่มีวัยหมดประจำเดือนระหว่างอายุ 45 ถึง 55 ปี

7. การดื่มสุรา

อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เท้าร้อนตอนกลางคืนก็คือ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียหายของเส้นประสาทที่เท้าและส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ ซึ่งเป็นภาวะที่เรียกว่าโรคเส้นประสาทจากแอลกอฮอล์ ความเสียหายของเส้นประสาทนี้เกิดขึ้น เนื่องจากแอลกอฮอล์ขัดขวางความสามารถของร่างกายในการดูดซึม และใช้สารอาหารบางชนิดที่มีความสำคัญต่อการทำงานของเส้นประสาทที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังเกิดขึ้นเพราะแอลกอฮอล์เป็นพิษต่อเส้นประสาทในร่างกาย

8. ปัจจัยด้านไลฟ์สไตล์

เท้าร้อน เกิดจากอะไรได้อีกบ้าง ? วิถีชีวิตก็มีผลด้วยเช่นกัน เช่น การสวมใส่รองเท้าที่ไม่ดี และการยืนหรือเดินเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุณหภูมิที่ร้อนจัด อาจทำให้เท้าร้อนหรือไหม้ได้ รวมถึงผู้ที่มีอาชีพที่ต้องยืนหรือเดินนานๆ ตลอดจนนักกีฬาที่อาจเกิดการติดเชื้อราที่เท้า ก็ทำให้เกิดอาการนี้ได้เช่นกัน นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่ต้องกินยาบางชนิด เช่น ยาต้านมะเร็ง ยาปฏิชีวนะ หรือได้รับสารพิษอย่างสารตะกั่ว สารปรอท ก็ส่งผลให้เส้นประสาทถูกทำลาย ทำให้เกิดความรู้สึกแสบร้อนที่เท้าและส่วนอื่นๆ ตามร่างกายได้

Ving Sandals – Kirion 1.5 เหมาะใส่เดินเที่ยว เดินป่า หรือจะวิ่งก็ใส่สบาย

เกร็ดสุขภาพ : นอกจากภาวะทางสุขภาพแล้ว การบาดเจ็บหรือการเกิดอุบัติเหตุก็ทำให้เกิดอาการเท้าร้อนได้ด้วย โดยเฉพาะการการเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เส้นประสาทได้รับการบาดเจ็บก็อาจทำให้รู้สึกแสบร้อนในบริเวณเท้าได้ เนื่องจากเส้นประสาทได้รับความเสียหายนั่นเอง

อาการเท้าร้อน เป็นสัญญาณบอกโรคใดได้บ้าง ?

เท้าร้อนเกิดจากอะไร, เท้าร้อน ขาดวิตามินอะไร, เท้าร้อนวูบวาบ
Image Credit : freepik.om

ในตอนนี้เราก็ได้ทราบกันแล้วว่า สาเหตุของอาการเท้าร้อนเกิดจากอะไรได้บ้าง ยิ่งไปกว่านั้น อาการเท้าร้อนยังเป็นสัญญาณบอกโรคและภาวะทางสุขภาพได้อีกด้วย ได้แก่

1. โรคระบบประสาทเบาหวาน

นี่คือหนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการเท้าร้อน ภาวะนี้เกิดจากความเสียหายต่อเส้นประสาท และเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานประเภท 1 และประเภท 2 นอกจากอาการแสบร้อนที่เท้าแล้ว อาการต่างๆ ได้แก่ ปวด รู้สึกเสียวซ่า และชาที่แขน มือ ขา และเท้า

2. โรคไตเรื้อรัง

โรคไตเรื้อรัง เป็นผลมาจากความเสียหายต่อไต ทำให้อวัยวะต่างๆ ไม่สามารถขับสารพิษออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะได้อีกต่อไป เมื่อเวลาผ่านไป สารพิษที่สะสมอยู่อาจทำให้เกิดโรคระบบประสาท และเกิดอาการเท้าร้อนได้

3. ภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ

หากมีไทรอยด์ฮอร์โมนในระดับต่ำ ซึ่งเป็นภาวะที่เรียกว่าภาวะไทรอยด์ทำงานน้อย อาจนำไปสู่การรู้สึกเสียวซ่า ชา หรือปวดที่เท้า ขา แขน หรือมือ ความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้นเนื่องจากการมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายต่ำอย่างสม่ำเสมอทำให้เส้นประสาทถูกทำลาย

4. หลอดเลือดอักเสบ

การอักเสบของหลอดเลือด อาจทำให้เกิดอาการปวดและรู้สึกเสียวซ่าที่เท้า เนื่องจากเลือดไม่สามารถไหลได้อย่างอิสระ จึงอาจทำให้เนื้อเยื่อเสียหายและนำไปสู่อาการเท้าร้อนได้

5. โรครองช้ำ

อาการเท้าร้อนวูบวาบอาจนำมาสู่โรครองช้ำได้ด้วย อาการรองช้ำที่เกิดขึ้นจะรู้สึกเจ็บแปล๊บบริเวณส้นเท้าหรือฝ่าเท้าหลังตื่นนอนหรือก่อนนอน มีความรู้สึกเหมือนโดนของแหลมหรือของแข็งแทงขึ้นมาจากบริเวณใต้ส้นเท้าหรือฝ่าเท้า เจ็บส้นเท้าจี๊ดๆ มีอาการปวดแบบโดนของร้อนๆ หรือรู้สึกร้อนวูบวาบเป็นพักๆ ในบริเวณที่มีอาการปวด ซึ่งจะต้องทำการรักษาต่อไป

อาการเท้าร้อน รักษาได้หรือไม่ ? ควรดูแลตัวเองอย่างไร ?

เท้าร้อนเกิดจากอะไร, เท้าร้อน ขาดวิตามินอะไร, เท้าร้อนวูบวาบ
Image Credit : freepik.com

การรักษาเท้าร้อนจะแตกต่างกันไปและขึ้นอยู่กับสาเหตุที่แท้จริงของอาการ โดยอาจใช้การรักษาและดูแลตนเองได้ ดังนี้

1. แก้โรคต้นเหตุ

เมื่อเท้าร้อนเกิดจากโรคระบบประสาทจากเบาหวาน การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอาจช่วยบรรเทาได้ หรือเท้าร้อนที่เกิดจากอาการอักเสบและโรคเรื้อรัง อาจรักษาได้โดยตามวิธีที่แพทย์กำหนด

2. ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์

หากรองเท้าไม่เหมาะสม ใส่แล้วขับเหงื่อ หรือรองเท้าของนักกีฬาที่ใส่ซ้ำๆ อาจทำให้เท้าร้อนได้ และนี่คือคำแนะนำที่อาจจะช่วยบรรเทาอาการเท้าร้อนได้ค่ะ

  • สวมรองเท้าที่แตกต่างกันแบบวันเว้นวัน เพื่อให้มีอากาศถ่ายเทระหว่างการสวมใส่
  • เลือกรองเท้าที่สวมใส่ได้พอดี และมีอากาศถ่ายเทได้ดี
  • เปลี่ยนถุงเท้าเป็นประจำ โดยเฉพาะหลังออกกำลังกาย เลือกถุงเท้าที่ระบายความชื้นออกจากผิวหนัง หรือเลือกถุงเท้าผ้าฝ้ายธรรมชาติ
  • อย่าสวมถุงเท้า หรือรองเท้าที่เปียกชื้น
  • ให้สวมรองเท้าแตะเพื่อช่วยให้เท้าได้หายใจ เมื่ออยู่ในสภาพอากาศร้อน
  • สวมรองเท้าแตะเมื่อใช้สระว่ายน้ำและห้องอาบน้ำสาธารณะ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อที่เท้า
  • ใช้แป้งทาเท้าเพื่อดูดซับความชื้นส่วนเกินจากเท้า
  • หลีกเลี่ยงการยืนหรือเดินเป็นเวลานาน
  • แช่เท้าที่ร้อนในอ่างน้ำเย็น เพื่อให้เท้าเย็นลง

3. เสริมวิตามิน

เท้าร้อน ขาดวิตามินอะไรบ้างนั้น ต้องโฟกัสที่กลุ่มวิตามินบีที่เป็นแหล่งสารอาหารสำคัญค่ะ เนื่องจากร่างกายของเราไม่สามารถผลิตและเก็บวิตามินเหล่านี้ได้ ดังนั้น วิธีเดียวคือการบริโภคสารอาหารเหล่านี้อย่างสมดุล ได้แก่ วิตามินบี 1 (ไทอามีน) พบในเนื้อหมู และซีเรียล วิตามินบี 6 (ไพริดอกซิน) พบในปลา ตับ เนื้อสัตว์ และมันฝรั่ง และวิตามินบี 12 (โคบาลามีน) พบในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ นอกจากนี้ กรดโฟลิกก็ยังอยู่ในกลุ่มวิตามินบี ซึ่งสามารถพบได้ในผักสีเขียวรวมทั้งบล็อกโคลี่ และผักโขม ซึ่งกลุ่มวิตามินบีดังกล่าว มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ให้เกิดการทำงานที่เหมาะสมต่อระบบประสาท การผลิตพลังงาน และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันนั่นเอง

เกร็ดสุขภาพ : เนื่องจากวิตามิน B12 มีบทบาทสำคัญในการทำงานที่เหมาะสมของระบบประสาทโดยกระตุ้นการผลิตไมอีลิน หากมีวิตามิน B12 ต่ำจะนำไปสู่ความเสียหายของเส้นประสาท โรคระบบประสาท และอาการเท้าร้อนที่เกิดจากการขาดวิตามิน B12 ได้ เพราะฉะนั้นจึงควรกินอาหารที่มีวิตามินบีในปริมาณที่เพียงพอในแต่ละวัน

4. ดูแลตัวเองด้วยวิธีต่างๆ เพื่อบรรเทาอาการเท้าร้อน

เท้าร้อนเกิดจากอะไรหลายสาเหตุด้วยกัน ดังนั้น การดูแลตัวเองเพื่อบรรเทาอาการเท้าร้อนมีหลายวิธีซึ่งสามารถทำได้ดังนี้ค่ะ

  • พักการใช้งานเท้า : หากรู้สึกแสบร้อนบริเวณเท้าพร้อมกับรู้สึกเจ็บ ปวด ร่วมด้วย ควรพักการใช้งานเท้า เช่น พักการยืนหรือเดินเพื่อช่วยลดอาการแสบร้อนและความเจ็บปวดได้
  • ใช้ยาต้านการอักเสบ : ในกรณีที่เท้าร้อนเกิดจากการอักเสบต่างๆ การกินยา เช่น ไอบูโพรเฟน และนาโพรเซน จะช่วยลดอาการอักเสบได้
  • ประคบเย็น : การประคบเย็นจะช่วยลดอาการอักเสบ และช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนตรงเท้าได้ ให้ห่อน้ำแข็งด้วยผ้านุ่มๆ หรือใช้ผ้าชุบน้ำเย็นแล้วนำมาพันรอบเท้าครั้งละ 15 นาที วันละหลายๆ ครั้ง เพื่อบรรเทาอาการ
  • ยกเท้าให้สูงขึ้น : การนอนยกเท้าให้สูงกว่าระดับหัวใจจะช่วยลดอาการเท้าบวม และช่วยบรรเทาอาการร้อนที่เท้าได้ด้วย 
  • การนวดเท้า : เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ช่วยลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ และช่วยบรรเทาอาการปวดต่างๆ

Bewell ที่วางเท้า 3 in 1 วางได้ทั้งแบบราบ และเหยียดขา เพิ่มการเผาผลาญ ปรับความสูงได้ บอกลาขานั่งลอย

เท้าร้อนเกิดจากอะไรบ้าง ตอนนี้ก็ได้ทราบกันแล้วนะคะ โดยอาการนั้นอาจจะมีการรู้สึกร้อนบริเวณฝ่าเท้า (อ่านเพิ่มเติม ฝ่าเท้าบอกโรค) ส้นเท้า และแผ่นรองนิ้วเท้าได้เช่นกัน ความรุนแรงของอาการอาจแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ความรู้สึกไม่สบายเล็กน้อยไปจนถึงอาการปวดเรื้อรังที่รุนแรง ซึ่งอาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของเราได้ ดังนั้น จึงควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยให้ชัดเจนว่าเท้าร้อน เกิดจากอะไร เพื่อทำการรักษาได้อย่างเหมาะสม พร้อมทั้งดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสม ก็จะช่วยบรรเทาอาการได้ค่ะ

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save