“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
เบาหวาน เด็ก เป็นได้ด้วยเหรอ ? ชวนไขคำตอบเกี่ยวกับโรคเบาหวานในเด็ก !
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับความสามารถของร่างกายในการเปลี่ยนน้ำตาลเป็นพลังงานให้กับร่างกาย และเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงก็จะสามารถทำลายหัวใจ หลอดเลือด ไต ดวงตา และระบบประสาทได้ เราอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับโรคเบาหวานในผู้ใหญ่ และเบาหวานในเด็กล่ะมีหรือไม่ ? นอกจากโรคภูมิแพ้ในเด็กแล้ว โรคเบาหวานเด็กก็อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น เพื่อความปลอดภัยของบุตรหลาน เรามารู้จัก เบาหวาน เด็ก กันดีกว่าค่ะ
เบาหวาน เด็ก เป็นอย่างไร ? เกิดจากอะไรได้บ้าง
อาหารที่เรากินอยู่ในทุกวันนี้มักจะอุดมไปด้วยน้ำตาล ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งพลังงานหลักของเรา ในขณะที่ อินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างโดยตับอ่อนจะช่วยให้น้ำตาลเข้าสู่เซลล์ของเราเพื่อสร้างพลังงานให้กับร่างกาย แต่ถ้าหากร่างกายสร้างอินซูลินได้ไม่เพียงพอหรือใช้อินซูลินได้ไม่ดี น้ำตาลจะไม่สามารถเข้าไปถึงเซลล์ ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดมากเกินไป และน้ำตาลในเลือดที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ ซึ่งที่พบได้บ่อยเลยคือ โรคเบาหวานประเภท 1
โรคเบาหวาน เด็ก เป็นภาวะที่ร่างกายของเด็กไม่ได้ผลิตฮอร์โมนอินซูลินอีกต่อไป แต่เด็กต้องการอินซูลินเพื่อความอยู่รอด ดังนั้น อินซูลินที่หายไปจะต้องถูกแทนที่ด้วยการฉีดหรือปั๊มอินซูลิน แม้ว่าโรคเบาหวานประเภท 1 จะพบได้บ่อยในเด็ก แต่ก็ควรสังเกตอาการเหล่านี้ประกอบร่วมด้วย เพราะการวินิจฉัยในช่วงแรกจะค่อนข้างยาก แต่หากลูกของคุณมีอาการเหล่านี้ นั้นอาจมีความเสี่ยงในการเป็นเบาหวาน เด็กประเภทที่ 1 ได้ อาการดังกล่าว ได้แก่
- มีความกระหายและความหิวที่เพิ่มขึ้น
- ปัสสาวะบ่อย
- เริ่มมองเห็นไม่ชัด
- คลื่นไส้และอาเจียน
- มีอาการปวดท้อง
- มีความเหนื่อยล้าและความอ่อนแอ
- เป็นแผลแล้วหายช้า
สาเหตุของการเป็นโรคเบาหวานในเด็ก
สาเหตุที่แท้จริงของโรคเบาหวานประเภท 1 นั้นซับซ้อนและยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่พันธุกรรมก็มีบทบาทในการเป็นเบาหวาน เด็กที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 นั้น สาเหตุเกิดจากร่างกายไม่ผลิตอินซูลิน รวมถึงมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่อาจเกิดโรคได้ อาทิ
- ประวัติครอบครัว : การมีพ่อแม่หรือพี่น้องที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 จะเพิ่มความเสี่ยงเล็กน้อย
- พันธุกรรม : ยีนบางตัวบ่งชี้ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคเบาหวานประเภท 1
- ไวรัสบางชนิด : การสัมผัสกับไวรัสบางชนิด อาจทำให้เซลล์ทำลายภูมิตัวเองได้
- พฤติกรรมการใช้ชีวิต : การไม่ออกกำลังกายและการมีไขมันส่วนเกินโดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง ก็ดูเหมือนจะเป็นปัจจัยสำคัญเช่นกัน รวมถึงอาหารที่กินเข้าไป โดยเฉพาะอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลสูง
เพราะฉะนั้น แนะนำให้ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานสำหรับเด็ก หากมีความเสี่ยง คือ มีน้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วน เริ่มเข้าสู่วัยสาว เพราะโรคเบาหวานประเภท 1 อาจส่งผลต่ออวัยวะสำคัญในร่างกายได้ การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงกับปกติ โดยส่วนใหญ่สามารถลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้อย่างมาก ซึ่งภาวะแทรกซ้อนอาจรวมถึง โรคหัวใจและหลอดเลือด ความเสียหายของเส้นประสาท ความเสียหายของไต ตาเสียหาย และโรคกระดูกพรุน
เกร็ดสุขภาพ : การให้อินซูลินมีข้อควรระวังดังนี้ หากบุตรหลานของคุณได้รับอินซูลินมากเกินไป น้ำตาลในเลือดของพวกเขาอาจต่ำเกินไป ซึ่งอาจนำไปสู่อาการตัวสั่น หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้ เหนื่อยล้า อ่อนแรง และแม้กระทั่งหมดสติได้ และหากบุตรหลานของคุณได้รับอินซูลินน้อยเกินไป อาการสำคัญของโรคเบาหวาน เด็ก เช่น น้ำหนักลด ปัสสาวะมากขึ้น กระหายน้ำ และความอยากอาหาร สามารถกลับมาได้
วิธีการรักษา
โดยปกติแล้วมีการรักษาโรคเบาหวานในเด็กอยู่หลายวิธีด้วยกัน แต่จะรักษาแตกต่างจากโรคเบาหวานในผู้ใหญ่เล็กน้อย เพราะไม่ต้องเคร่งครัดกับการจำกัดอาหารมาก เพียงแต่เลือกกินอาหารตามที่แพทย์แนะนำ โดยแพทย์จะใช้วิธีการรักษา ดังนี้
1. ใช้อินซูลินตามที่กำหนด
อินซูลินที่ใช้ในการรักษานั้น มีอินซูลินหลายประเภทด้วยกัน ได้แก่
- อินซูลินที่ออกฤทธิ์เร็ว อินซูลินชนิดนี้เริ่มทำงานภายใน 15 นาที มีผลสูงสุดที่ 60 นาทีและใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง มักใช้ก่อนอาหาร 15 ถึง 20 นาที
- อินซูลินที่ออกฤทธิ์สั้น บางครั้งเรียกว่าอินซูลินปกติ อินซูลินชนิดนี้เริ่มทำงานประมาณ 30 นาทีหลังการฉีด มีผลสูงสุดที่ 90 ถึง 120 นาที และใช้เวลาประมาณ 4 ถึง 6 ชั่วโมง
- อินซูลินที่ออกฤทธิ์ปานกลาง เรียกอีกอย่างว่าอินซูลิน NPH อินซูลินชนิดนี้เริ่มทำงานในเวลาประมาณ 1 ถึง 3 ชั่วโมง มีผลสูงสุดที่ 6 ถึง 8 ชั่วโมง และนาน 12 ถึง 24 ชั่วโมง
อินซูลินที่ออกฤทธิ์ยาวนาน อินซูลินชนิดนี้อาจมีผลได้นานถึง 14 ถึง 40 ชั่วโมง
2. ตรวจน้ำตาลในเลือดตามที่กำหนด
น้ำตาลในเลือดบางครั้งอาจเปลี่ยนแปลงอย่างไม่คาดคิดได้ ดังนั้น การตรวจน้ำตาลในเลือดบ่อยครั้งขึ้นสามารถช่วยระบุปัญหาและแนวทางการรักษาได้ บุตรหลานของคุณจะต้องตรวจและบันทึกระดับน้ำตาลในเลือดอย่างน้อยสี่ครั้งต่อวัน โดยปกติควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารทุกมื้อและก่อนนอน และบางครั้งในช่วงกลางดึก
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ก็สมควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อการมีสุขภาพที่ดี อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายนั้นจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ในเด็กที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งมีการใช้อินซูลินจะมีความเสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำขณะออกกำลังกาย ผู้ปกครองอาจต้องปรับแผนการกินอาหารหรือปรับปริมาณอินซูลินของบุตรหลานเพื่อให้เหมาะสมกับการมีกิจกรรมที่เพิ่มขึ้นและใช้พลังงานมากขึ้น และทำให้การออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันของลูกคุณ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้ลูกของคุณออกกำลังกายอย่างน้อย 60 นาทีทุกวัน
4. กินอาหารที่สมดุลและดีต่อสุขภาพ
อาหารเป็นส่วนสำคัญของแผนการรักษาโรคเบาหวาน เด็ก แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าลูกของคุณต้องจำกัดอาหารอย่างเคร่งครัดเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ที่เป็นเบาหวาน เพียงแต่ควรกินอาหารที่มีโภชนาการสูงและมีไขมันและแคลอรีต่ำเป็นประจำ เช่น ผัก ผลไม้ โปรตีนลีน ธัญพืช นักโภชนาการสามารถช่วยคุณจัดทำแผนมื้ออาหารที่เหมาะกับความต้องการด้านอาหารของบุตรหลานและเป้าหมายด้านสุขภาพได้
การป้องกันและดูแล
ปัจจุบันเบาหวาน เด็กประเภทที่ 1 นั้น ยังไม่สามารถป้องกันได้ แต่หากเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 ซึ่งมักพบในวัยรุ่นมากกว่าวัยเด็กนั้นสามารถป้องกันได้ โดยการควบคุมปริมาณน้ำหนักไม่ให้เกิดภาวะอ้วน ดูแลโภชนาการให้เหมาะสม และออกกำลังกายเป็นประจำ ก็จะสามารถช่วยป้องกันได้ค่ะ
สำหรับเด็กที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 1 นั้น จะต้องฉีดอินซูลินอย่างสม่ำเสมอ ในเด็กเล็กที่ยังอายุน้อยนั้น ผู้ปกครองจะต้องหมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือดให้เด็กอย่างเป็นประจำ และฉีดอินซูลินให้บุตรหลานตามเวลา ในเด็กที่อายุเกิน 7 ขวบมักมีทักษะที่ดีในการเริ่มฉีดอินซูลินด้วยตนเองโดยอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ใหญ่ และสามารถตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดได้เอง โดยใช้เครื่องวัดน้ำตาลในเลือด
เกร็ดสุขภาพ : โรคเบาหวานประเภทที่ 2 มักเกิดกับเด็กที่เข้าสู่วัยรุ่นแล้ว และมีปัจจัยเสี่ยงคือ ภาวะอ้วน ปัจจัยทางพันธุกรรม และประวัติการคลอดที่เด็กมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยหรือมากกว่าปกติ รวมถึงไลฟ์สไตล์ เช่น การนิยมกินอาหารฟาสต์ฟู้ด ขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น
เบาหวาน เด็กนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ และโดยส่วนมากในเด็กเล็กจะเป็นเบาหวานประเภทที่ 1 ที่ไม่มีวิธีป้องกัน แต่หากเป็นเด็กโตสามารถเป็นได้ทั้งเบาหวานประเภทที่ 1 และ 2 ซึ่งประเภทที่ 2 นั้นยังมีแนวทางในการป้องกันได้ ซึ่งโรคเบาหวานเป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษา และการดูแลอย่างถูกวิธี เพราะเป็นโรคที่มีปัญหาด้านสุขภาพมากกว่าอาการอื่นๆ ทั่วไปที่มักพบในเด็ก เช่น ตากุ้งยิง ติดต่อไหม อาจกลายเป็นปัญหาเล็กน้อยหากเทียบกับการเป็นเบาหวาน เพราะฉะนั้น หากลูกของคุณไม่ได้มีความเสี่ยงตั้งแต่แรกเกิด ก็แนะนำให้ดูแลโภชนาการและการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันการเกิดเบาหวานในวัยรุ่นหรือประเภทที่ 2 ได้ค่ะ
การดูแลสุขภาพของลูกน้อยเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากโรคประจำตัวอย่างเบาหวานที่อาจเกิดขึ้นได้ในเด็กแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องระวังโรคตามฤดูกาลอย่าง มือเท้าปาก ไม่มีไข้ ที่ระบาดอยู่เป็นระยะๆ ในตอนนี้ด้วยนะคะ ทีมเพื่อสุขภาพเป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่ในการดูแลลูกน้อย ขอให้แข็งแรงๆ กันทั้งครอบครัวค่ะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : uwhealth.org, rama.mahidol.ac.th, mayoclinic.org
Featured Image Credit : freepik.com/jcomp
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ