“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
แคะหูแล้วเจ็บ ทำยังไงดี ? แนะวิธีแก้ ลดการบาดเจ็บเวลาแคะหู !
หลายครั้งที่เราอาจมีอาการปวดหูขึ้นได้ หากไม่ใช่สาเหตุจากการติดเชื้อ หรือมีสิ่งแปลกปลอมเข้าหู (อ่านเพิ่มเติมเรื่อง มดเข้าหู อาการเป็นอย่างไร) ก็มักจะมาจากการที่เราชอบแคะหูกันแรงๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเจ็บหูที่พบได้บ่อยนั่นเอง ใครที่ชอบแคะหูแล้วหูอื้อ หรือ แคะหูแล้วเจ็บ ไปจนถึงเลือดออกนั้น มารู้ถึงวิธีในปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อลดอาการเจ็บกันค่ะ
แคะหูแล้วเจ็บ ทำไงดี ? มาดูวิธีลดอาการบาดเจ็บกัน
เมื่อเรามีขี้หู หูของเราจะกำจัดได้เองโดยธรรมชาติตลอดเวลา แต่บางครั้งขี้หูอาจก่อตัวและแข็งตัว ทำให้ช่องหูของเราอุดตัน และส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดได้ จึงทำให้หลายคนมักจะใช้สำลีก้านหรือวัตถุอื่นๆ เพื่อพยายามแคะและกำจัดขี้หูออก ซึ่งนั่นอาจส่งผลให้คุณแคะหูแล้วเจ็บ คัน หรือติดเชื้อได้ และอาจสูญเสียการได้ยินไปชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งหากคุณแคะหูบ่อยๆ แล้วมีอาการเจ็บ หูอื้อ หรือมีเลือดออกนั้น มารู้ถึงวิธีดูแลจนเองเบื้องต้นกันค่ะ (อ่านเพิ่มเติม เรื่องหูอื้อทำยังไงให้หาย)
เมื่อเราแคะหูนั้น อาจทำให้มีอาการต่างๆ เกิดขึ้นได้ เช่น มีอาการเลือดออกในหู รู้สึกปวด บวม จากการที่ขี้หูดันกลับเข้าไปในหูจนเกิดการกระแทกและทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ซึ่งการได้รับบาดเจ็บในหูเหล่านี้ อาจเกิดจากการแคะหูอย่างรุนแรง หรือการทำความสะอาดภายในช่องหูลึกเกินไป จนอาจเกิดบาดแผลและทำให้เลือดออกในหู และมีอาการเจ็บหูและหูอื้อได้ ส่วนมากมักไม่มีอาการรุนแรง แต่อาจเกิดการติดเชื้อได้ในภายหลัง ซึ่งถ้าคุณแคะหูแล้วเจ็บ หรือมีเลือดออกนั้น อาจลองทำตามวิธีดังต่อไปนี้เพื่อบรรเทาอาการดูค่ะ
1. ใช้ยาแก้ปวด
ความเจ็บปวดและความรู้สึกไม่สบายหูจากการแคะหูแล้วเจ็บและอาจเกิดการติดเชื้อนั้น อาจรักษาได้ที่บ้านด้วยยาแก้ปวดที่จำหน่ายในร้านขายยาทั่วไป เช่น ไอบูโพรเฟน หรืออะเซตามิโนเฟน แต่หากการติดเชื้อไม่ดีขึ้นหลังจากผ่านไป 2 – 3 วัน แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะในรูปแบบกินหรือยาหยอดหู เพื่อบรรเทาอาการ
2. ระวังอย่าให้น้ำเข้าหู
อาจใช้สำลีอุดรูหูไว้ในขณะอาบน้ำ และไม่ควรไปว่ายน้ำหรือทำกิจกรรมทางน้ำ เพื่อลดอาการแคะหูแล้วหูอื้อ หรือปวดหูได้ หากอาการหูอื้อไม่หายไป หรือเกิดมีอาการปวดหูตามมา แนะนำควรไปพบแพทย์เพื่อรักษาค่ะ
3. งดกิจกรรมบางอย่าง
นอกจากการรักษาเบื้องต้นของอาการแคะหูแล้วเจ็บ ควรระวังในเรื่องของกิจกรรมบางอย่างด้วยหากคุณแคะหูแล้วหูอื้อ เพราะสามารถส่งผลให้แก้วหูของคุณแตกได้จากการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศกะทันหัน กิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดสิ่งนี้ ได้แก่ การเดินป่า การดำน้ำลึก ขึ้นเครื่องบิน เพราะอาจทำให้ประสบภาวะเลือดออกในหูได้ด้วย
เกร็ดสุขภาพ : หากแคะหูแล้วมีเลือดออก หลีกเลี่ยงการใช้ไม้พันสำลีและวัตถุอื่นๆ แหย่เข้าไปในหูเพื่อพยายามเอาขี้หูที่เปื้อนเลือดออกมา เพราะจะยิ่งทำให้รู้สึกปวดหูมากขึ้นได้
วิธีกำจัดขี้หูส่วนเกินเพื่อเลี่ยงต่ออาการบาดเจ็บ
โดยปกติแล้วขี้หูมักจะหลุดออกมาเอง การรักษาทางการแพทย์จำเป็นเฉพาะในกรณีที่มีการอุดตันของขี้หู และทำให้เกิดอาการปวดหรือสูญเสียการได้ยินเท่านั้น ในกรณีเหล่านี้ แพทย์มักจะเอาขี้หูออกด้วยวิธีต่างๆ แต่ถ้าหากเราต้องการกำจัดขี้หูออกเองที่บ้าน สามารถทำได้ด้วยการใช้ผ้าเช็ดรอบหูด้านนอก และเพื่อเลี่ยงอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นจากการแคะหูแล้วเจ็บนั้น แนะนำให้ใช้เบบี้ออยล์ อัลมอนด์ออยล์ หรือน้ำมันมะกอกหยอดหูเพื่อกำจัดขี้หูและเลือดออกมา สามารถทำได้โดยการเอียงศีรษะโดยให้หูที่เจ็บหรือปวดอยู่นั้นหงายขึ้น แล้วหยดน้ำมันลงไปในหู 1 – 2 หยด จากนั้นรอประมาณ 2 นาที และเอียงศีรษะโดยให้หูคว่ำลงและปล่อยให้ขี้หูหรือของเหลว เช่น เลือด ไหลออกมา ควรทำวันละสองครั้ง และขี้หูมักจะออกมาภายใน 2 สัปดาห์ ไม่ควรใช้สำลีก้านหรือสิ่งอื่นๆ สอดเข้าไปในช่องหู เพราะสามารถไปทำลายเนื้อเยื่อที่บอบบางในหู และทำให้อาการแคะหูแล้วเจ็บนั้นแย่ลงไปอีกค่ะ
เกร็ดสุขภาพ : ขี้หูเปื้อนเลือดนั้นหากมีอาการเพียงเล็กน้อยร่วมด้วย เช่น ปวด บวม และมีไข้ ถือว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้ แต่สาเหตุบางประการของขี้หูเปื้อนเลือดซึ่งเกี่ยวข้องกับสาเหตุอื่นๆ ที่ร้ายแรงกว่าการแคะหู หากไม่ได้รับการรักษา อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนระยะยาวได้ เช่น สูญเสียการได้ยิน เช่นเดียวกับอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน หูอื้อ อาการวิงเวียนศีรษะ และอาการเจ็บปวดที่แย่ลง รวมถึงอาจมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อที่แพร่กระจายผ่านหูชั้นในไปยังสมองได้อีกด้วย
การแคะหูนั้น บ่อยครั้งอาจทำให้เจ็บหู หูอื้อ และอาจจะมีขี้หูเปื้อนเลือดปนออกมาได้ ส่วนใหญ่เกิดจากการบาดเจ็บเล็กน้อยจากการแคะหูแล้วเจ็บ ซึ่งจะทำให้มีเลือดออกเล็กน้อย กรณีดังกล่าวนี้อาจแก้ไขได้ด้วยตนเอง แต่หากมีอาการติดเชื้อ ปวดหูมาก มีไข้ หรือมีเลือดออกจากหูไม่หยุด ให้ไปพบแพทย์ทันที เพราะนั่นอาจหมายถึงภาวะที่ร้ายแรงกว่าอาการเจ็บหูจากการแคะหูนั่นเอง ถ้าไม่รีบไปพบแพทย์ให้ทันท่วงที อาจบานปลายเป็นการบาดเจ็บร้ายแรงได้นะคะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : healthline.com, synphaet.co.th, medicalnewstoday.com
Featured Image Credit : freepik.com/jcomp
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ