X

โรคอ้วนในเด็ก เกิดจากอะไร ? มีอันตรายหรือไม่ มารู้จักพร้อมวิธีป้องกัน !

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

โรคอ้วนในเด็ก เกิดจากอะไร ? มีอันตรายหรือไม่ มารู้จักพร้อมวิธีป้องกัน !

ปกติแล้วเรามักจะพบว่าคนที่เป็นโรคอ้วนจะอยู่ในวัยผู้ใหญ่ ด้วยเพราะพฤติกรรมในการกิน และการขาดการออกกำลังกาย แต่จริงๆ แล้วนั้น โรคอ้วน หรือภาวะอ้วน ยังสามารถเกิดขึ้นในเด็กได้เช่นเดียวกัน และเพื่อให้รู้จักและเข้าใจกันมากขึ้น เพื่อดูแลลูกน้อยของคุณได้ นอกไปจากภูมิแพ้ในเด็กที่ควรรู้ บทความนี้จะมาบอกถึง โรคอ้วนในเด็ก ว่าคืออะไร ? เกิดขึ้นได้อย่างไร รวมถึงวิธีการรักษา ป้องกัน และโรคอ้วน สาเหตุนั้นเกิดจากอะไรด้วยค่ะ

โรคอ้วนในเด็กคืออะไร ? มีวิธีป้องกันอย่างไร รู้เอาไว้เพื่อดูแลลูกได้อย่างถูกต้อง

โรคอ้วนในเด็ก, โรคอ้วน สาเหตุ
Image Credit : freepik.com

โรคอ้วนในเด็ก เป็นภาวะทางการแพทย์ที่ร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อเด็กและวัยรุ่น และเป็นเรื่องที่น่าหนักใจเป็นพิเศษเพราะน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมักจะทำให้เด็กๆ เผชิญกับปัญหาสุขภาพ ที่ปกติแล้วมักจะปัญหาของผู้ใหญ่ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และคอเลสเตอรอลสูง ซึ่งโรคอ้วนในวัยเด็กนั้นยังสามารถนำไปสู่การขาดความมั่นใจ ขาดความนับถือในตนเอง และภาวะซึมเศร้าได้อีกด้วย และโรคอ้วน สาเหตุมักเกิดจากปัญหาไลฟ์สไตล์ มีกิจกรรมน้อยเกินไป และได้รับแคลอรีมากเกินไปจากอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคอ้วนในเด็ก แต่ปัจจัยทางพันธุกรรมและฮอร์โมนก็อาจมีบทบาทเช่นกัน

โรคอ้วนในวัยเด็กนั้นได้กลายเป็นปัญหาสุขภาพ มีเด็กจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และภาวะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน แต่ก็ไม่ใช่ว่าเด็กทุกคนที่มีน้ำหนักเกินจะเป็นโรคอ้วน เพราะเด็กบางคนมีรูปร่างที่ใหญ่กว่าปกติ และโดยปกติเด็กจะมีปริมาณไขมันในร่างกายต่างกันไปในแต่ละช่วงของการพัฒนา ดังนั้น การจะวัดว่าน้ำหนักของลูกกำลังเป็นปัญหาด้านสุขภาพหรือไม่ คือการใช้ดัชนีมวลกายเป็นตัวชี้วัด

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นแนวทางของน้ำหนักที่สัมพันธ์กับส่วนสูง เป็นการวัดน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วนที่ยอมรับได้ เราสามารถใช้ตารางค่าดัชนีมวลกายรวมถึงการทดสอบอื่นๆ หากจำเป็น เพื่อช่วยให้คุณรู้ว่าน้ำหนักของลูกของคุณอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพหรือไม่ ซึ่งหาก BMI-for-age ของเด็กผู้หญิง หรือ BMI-for-age ของเด็กผู้ชาย มีเปอร์เซ็นไทล์มากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ จะถูกกำหนดให้เป็น “ได้รับผลกระทบจากโรคอ้วนในเด็ก” และหากเปอร์เซ็นไทล์มากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์และน้อยกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ จะถูกกำหนดให้เป็น “น้ำหนักเกิน”

เกร็ดสุขภาพ : โรคอ้วนในเด็กยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น การกินอาหารที่มีแคลอรีสูงเป็นประจำ การขาดการออกกำลังกาย หรือพฤติกรรมในครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมที่มีอาหารแคลอรีสูงอยู่เสมอ และไม่สนับสนุนให้ออกกำลังกาย นอกจากนี้อาจเกิดจากยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์บางชนิด เพราะสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วนได้เช่นเดียวกัน

ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนในวัยเด็ก

โรคอ้วนในเด็ก, โรคอ้วน สาเหตุ
Image Credit : vecteezy.com

เด็กที่ได้รับการพิจารณาว่าได้รับผลกระทบจากโรคอ้วน อาจมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากโรคอ้วนต่อไปในวัยผู้ใหญ่ถึง 70% นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงมากขึ้นกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากโรคอ้วนได้ ได้แก่

  1. โรคหัวใจ
  2. คอเลสเตอรอลสูง
  3. ความดันโลหิตสูง
  4. โรคเบาหวาน
  5. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  6. มะเร็ง

และนอกจากโทษทางการแพทย์แล้ว เด็กที่เป็นโรคอ้วนต้องเผชิญกับการเลือกปฏิบัติทางสังคม ส่งผลให้มีความนับถือตนเองต่ำ และอาจเกิดภาวะซึมเศร้าได้อีกด้วย

การรักษา

การรักษาโรคอ้วนในเด็กและวัยรุ่นแตกต่างจากการรักษาในผู้ใหญ่ อายุของเด็กและการมีส่วนร่วมในครอบครัวล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญในการรักษา สิ่งสำคัญคือต้องพูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับทางเลือกในการรักษา ซึ่งการรักษาโรคอ้วนในเด็กและวัยรุ่นนั้น จะมีวิธีต่างๆ ได้แก่

  1. การบำบัดด้วยอาหาร
  2. การออกกำลังกาย
  3. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  4. การใช้ยา
  5. การผ่าตัด

แต่หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการลดน้ำหนักในวัยเด็ก คือการปรับปรุงนิสัยการกินและการออกกำลังกาย ซึ่งการรักษาและป้องกันโรคอ้วนในเด็กจะช่วยปกป้องสุขภาพของลูกคุณทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้

การป้องกัน

โรคอ้วนในเด็ก, โรคอ้วน สาเหตุ
Image Credit : vecteezy.com

โรคอ้วนในเด็กเราสามารถป้องกันได้ เพียงช่วยดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการกิน กิจกรรมที่ทำต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้ลูกของคุณได้มีการออกกำลังกาย หรือเลือกกินอาหารได้เหมาะสมยิ่งขึ้น โรคอ้วน สาเหตุเกิดจากอะไรบ้างก็ได้รู้กันไปแล้ว เรามารู้ถึงวิธีการป้องกันกันบ้าง ดังต่อไปนี้

1. กินอาหารเพื่อสุขภาพ

เมื่อคุณคือคนที่ซื้อของกิน หรือทำอาหารให้ลูก หรือตัดสินใจว่าจะกินอาหารที่ไหน การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยก็สามารถสร้างความแตกต่างให้กับสุขภาพของลูกคุณได้ เมื่อเลือกซื้ออาหาร ให้งดอาหารฟาสต์ฟู้ด เช่น ไก่ทอด เบอร์เกอร์ ไปจนถึงอาหารปรุงสำเร็จ ซึ่งมักมีน้ำตาล ไขมัน และแคลอรีสูง หรือจะลองวิธีทำมันบดลดความอ้วนดูก็ได้ นอกจากนี้ควรจำกัดเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น น้ำอัดลม ชานมไข่มุก และรวมถึงเครื่องดื่มที่มีน้ำผลไม้ เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้ให้คุณค่าทางโภชนาการเพียงเล็กน้อยเพื่อแลกกับแคลอรีที่สูงเกินไป รวมถึงขนมหวานต่างๆ อย่างเค้ก คุกกี้ บิสกิต เบเกอรรี่ และไอศกรีมด้วยค่ะ

2. เสิร์ฟปริมาณที่เหมาะสม

เด็กไม่ต้องการอาหารมากเท่ากับผู้ใหญ่ ควรเริ่มต้นด้วยส่วนเล็กๆ ก่อน ซึ่งลูกของคุณสามารถขอเพิ่มเติมได้หากพวกเขายังไม่อิ่ม และจำไว้ว่าเมื่อคุณออกไปกินอาหารนอกบ้าน ขนาดของอาหารในร้านอาหารมักจะใหญ่เกินไป ให้ลองแบ่งอาหารในจานนั้นให้เหมาะสม หรือเลือกสั่งที่เป็นเมนูสำหรับเด็กแทน

3. การออกกำลังกาย

ส่วนสำคัญในการรักษาน้ำหนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กคือการออกกำลังกาย เพราะจะช่วยเผาผลาญแคลอรี เสริมสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อ และช่วยให้เด็กนอนหลับสบายในเวลากลางคืนและตื่นตัวในระหว่างวัน และเพื่อเพิ่มระดับกิจกรรมของบุตรหลานของคุณ ให้จำกัดเวลาอยู่หน้าจอ เช่น หน้าทีวี คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน ควรจำกัดไม่เกินสองชั่วโมงต่อวัน สำหรับเด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ปี ส่วนเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปีไม่ควรมีเวลาอยู่หน้าจอเลย และเน้นกิจกรรมที่ทำให้มีการเคลื่อนไหว เช่น การวิ่งเล่น การเล่นซ่อนหา หรือกระโดดเชือก สามารถเผาผลาญแคลอรีและปรับปรุงสมรรถภาพได้ดี

เกร็ดสุขภาพ :  สิ่งสำคัญในการป้องกันเลยคือ อย่าให้เด็กอดอาหารหรือข้ามมื้ออาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง แต่ให้ส่งเสริมและสนับสนุนการกินเพื่อสุขภาพและเพิ่มการออกกำลังกายแทน สำหรับเด็กเล็กก็สามารถใช้กิจกรรมระหว่างวันเพื่อเพิ่มการเผาผลาญได้ แต่หากเป็นเด็กโตหรือวัยรุ่น ให้เพิ่มการออกกำลังกายให้มากขึ้น เช่น เล่นกีฬา หรือออกกำลังกายด้วยวิธีต่างๆ ที่ถนัด ส่วนใครที่มีภาวะอ้วนลงพุงด้วยนั้น อ้วนลงพุง ลดยังไงได้บ้าง สามารถอ่านเพิ่มเติมในเว็บไซต์ของเราได้เลยค่ะ

โรคอ้วนในเด็กนั้นเป็นโรคที่อันตรายสำหรับเด็กไม่แพ้โรคอ้วนในผู้ใหญ่ ทั้งยังมีโอกาสในการส่งผลไปยังอนาคตอีกด้วย แต่เราสามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลเรื่องอาหารให้เหมาะสม และคอยชวนลูกทำกิจกรรมต่างๆ ให้เขาได้เคลื่อนไหวร่างกาย อย่าให้เด็กใช้เวลากับหน้าจอมากเกินไป เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ลูกของคุณห่างไกลจากโรคอ้วนได้แล้วค่ะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : mayoclinic.org, obesityaction.org

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save