“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
มารู้จักกับ ภาวะมีบุตรยาก ภัยเงียบของคู่รักหลายๆ คน
ภาวะมีบุตรยาก คือ การที่คู่รักไม่สามารถมีบุตรตามความต้องการได้ โดยส่วนหนึ่งอาจเกิดจากฝ่ายชายที่เคยทำหมันมาก่อน และฝ่ายหญิงที่เคยทำแท้ง หรือแท้งบุตรตามธรรมชาติ หรือเคยทำหมันมาก่อน ล้วนส่งผลให้มีบุตรยากขึ้นไปอีก หรืออาจเกิดจากทั้งสองฝ่ายก็เป็นได้
ภาวะมีบุตรยาก แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
ปัจจุบันทางการแพทย์ได้มีการแบ่งประเภทภาวะมีบุตรยากออกเป็น เป็น 2 ประเภท ดังนี้
- ปฐมภูมิ (Primary Infertility) คือ คู่รักที่มีบุตรยาก และยังไม่เคยมีบุตรมาก่อน
- ทุติยภูมิ (Secondary Infertility) คือ คู่รักที่เคยมีบุตรมาก่อน และไม่สามารถมีบุตรได้อีก
ในประเทศไทย มีคู่รักที่ประสบปัญหามีบุตรยาก ประมาณมีประมาณ 15 % และประชากร 1 ใน 7 ของคู่รักทั่วโลก ก็ประสบปัญหามีบุตรยาก ทั้งที่มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ และพยายามจะมีบุตรให้ได้ภายใน 1 ปี แต่ก็ไม่สำเร็จ
ภาวะมีบุตรยาก มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง ?
1. สาเหตุที่เกิดจากฝ่ายชาย
การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ สูบบุหรี่ ใช้สารเสพติด ความเครียดจากการทำงาน และอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญ คือ อายุ ที่เพิ่มขึ้น ก็จะพลอยมีปัญหาสุขภาพตามมาด้วย เช่น เป็นหมัน ความผิดปกติของฮอร์โมน ทำให้การหลั่งน้ำเชื้ออสุจิไม่มีตัวอสุจิหรือหลั่งน้ำเชื้อน้อยเกินไป เชื้ออสุจิผิดปกติ เชื้ออสุจิอ่อนแอ พ่วงด้วยปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัว ทำให้ไม่อยากมีเพศสัมพันธ์ หรือมีเพศสัมพันธ์น้อยลง
2. สาเหตุที่เกิดจากฝ่ายหญิง
การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ สูบบุหรี่ ใช้สารเสพติด ความเครียดจากการทำงาน อ้วน ไม่ควบคุมน้ำหนักหรือกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และสาเหตุสำคัญ คือ อายุที่เพิ่มขึ้นและมีปัญหาสุขภาพ เช่น มีโรคประจำตัว โรคแทรกซ้อน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น ภาวะไข่ไม่ตก ท่อรังไข่อุดตัน หรือโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้หญิงที่มีบุตรยาก เป็นต้น ส่วนใหญ่ของผู้หญิงที่อยู่ในภาวะมีบุตรยาก มักจะมีปัญหาบริเวณมดลูก ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดท้องรุนแรง หากรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ก็มีโอกาสหายเป็นปกติ และมีบุตรได้
เบื้องต้นถ้าเป็นสาเหตุที่เกิดจากฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ทั้งสองฝ่ายควรไปพบแพทย์เฉพาะทาง และทำการตรวจหาสาเหตุอย่างแท้จริง เพื่อจะได้รักษาอย่างตรงจุด โดยปกติแล้ว ฝ่ายชายแพทย์จะซักประวัติส่วนตัว และตรวจเชื้ออสุจิ ดังนั้น ก่อนไปพบแพทย์ 1 สัปดาห์ ควรงดการหลั่งเชื้ออสุจิ เพื่อความแม่นยำในการตรวจ ส่วนฝ่ายหญิงแพทย์จะซักประวัติส่วนตัว และตรวจภายใน
เกร็ดสุขภาพ : มีคู่รักประมาณ 15 – 20 % ที่อยู่ในภาวะมีบุตรยาก และเข้ารับการตรวจจากแพทย์แล้ว ไม่พบความผิดปกติแต่อย่างใด และไม่ทราบสาเหตุ คู่รักกลุ่มนี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม เป็นผู้มีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ
7 วิธี ง่ายๆ ป้องกัน ห่างไกล จาก ภาวะมีบุตรยาก
- ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ให้น้อยลง และไม่ใช้สารเสพติด
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 6 – 8 ชั่วโมง
- หาวิธีกำจัดความเครียดในแบบฉบับของตัวเอง เช่น เวลาเครียดให้เขียนระบายในสมุดโน๊ต แล้วทิ้งความเครียดไป ไม่ยึดติดกับความทุกข์ ฟังเพลง เต้น เข้าคอร์สเรียนภาษาเพิ่ม เป็นต้น
- ควบคุมอาหาร ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 – 40 นาที
- รับประทานอาหารที่หลากหลาย ครบ 5 หมู่ ได้สัดส่วนที่เหมาะสม และมีประโยชน์ต่อร่างกาย
- ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อป้องกันผลในระยะยาว
วิธีรักษาในทางการแพทย์
แพทย์จะทำการตรวจเบื้องต้น และร่วมหาแนวทางรักษาต่อไป ทั้งนี้วิธีในการรักษาก็ขึ้นอยู่กับ เพศ อายุ ปัญหาทางสุขภาพ เช่น การรับประทานยาหรือฉีดกระตุ้นให้มีการตกไข่ การฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก(IUI) การปฏิสนธินอกร่างกาย(IVF, ICSI) การใช้อสุจิบริจาค การใช้ไข่บริจาค และการผ่าตัด ในกรณีที่มีซีสต์ พังผืด เนื้องอก หรือติ่งเนื้อในโพรงมดลูก เป็นต้น
ในปัจจุบันนี้ วิวัฒนาการทางการแพทย์เจริญก้าวหน้าไปไกล มีผลิตภัณฑ์อาหารเสริม คอลลาเจน วิตามินต่างๆ ให้เลือกกิน ให้เลือกใช้ หลากหลายยี่ห้อ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีในการบำรุงร่างกายอีกช่องทางหนึ่ง แต่มีข้อควรระวังคือ ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน มอก. และ มีการรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อป้องกันตัวเอง ป้องกันผลร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นในภายหลังได้ค่ะ
ทั้งนี้ทั้งนั้น คู่รักควรปฏิบัติตาม 7 วิธี ง่ายๆ ป้องกัน ห่างไกล จาก ภาวะมีบุตรยาก ที่ได้อธิบายไปข้างต้น เพื่อติดตามผล และหาสาเหตุร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่อไป ยิ่งรู้ทัน ป้องกัน แต่เนิ่นๆ ยิ่งส่งผลดีกับทั้งสองฝ่ายค่ะ อย่าลืม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน รักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้แข็งแรง ที่สำคัญต้องควบคุมอาหารการกิน กินอาหารตามหลักธงโภชนาการ หลากหลาย ได้สัดส่วนที่เหมาะสม ครบ 5 หมู่ เพื่อเสริมสร้างร่างกายให้สมบูรณ์ แข็งแรง กันด้วยด้วยนะคะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : paolohospital.com, sikarin.com, dibukhospital.com,
Featured Image Credit : freepik.com/tirachardz
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ