X

Learning Disability คือ อะไร ? เกิดจากอะไร ? มารู้จักและหาแนวทางรักษาและป้องกันกัน !

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

Learning Disability คือ อะไร ? เกิดจากอะไร ? มารู้จักและหาแนวทางรักษาและป้องกันกัน !

คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครองเคยได้ยินชื่อภาวะ LD หรือคำว่า เด็ก LD กันบ้างไหมคะ ? ภาวะ LD หรือ Learning Disability คือ ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ ซึ่งอาจพบได้ในเด็กๆ ที่กำลังอยู่ในวัยเรียน และอาการอาจชัดเจนมากขึ้นในช่วงปฐมวัย หากเคยพบเด็กที่อ่านหนังสือไม่ออกแม้จะอยู่ในวัยประถมแล้ว หรือไม่สามารถเขียนคำ สะกดคำได้ ไม่สามารถนับเลขได้ นั่นอาจหมายถึงการมีภาวะ LD มารู้จักกับภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ให้มากขึ้นว่า มีลักษณะอาการอย่างไร มีสาเหตุมาจากอะไร และสามารถป้องกัน รักษาได้หรือไม่ ? เพื่อที่จะได้รู้จักให้มากขึ้น และเป็นการสังเกตบุตรหลานของตัวเองด้วยค่ะ

ชวนรู้จัก Learning Disability คือ อะไร ?

Learning Disability คือ, intellectual disability คือ
Image Credit : Unsplash

ภาวะ LD หรือ Learning Disability คือ โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ ซึ่งเป็นความผิดปกติของกระบวนการเรียนรู้ที่แสดงออกทางด้านการอ่าน การเขียนสะกดคำ การคำนวณและการใช้ตรรกกะเชิงคณิตศาสตร์ อันเกิดจากการทำงานของสมองที่ทำงานผิดปกติ ซึ่งทำให้เด็กมีการเรียนรู้ต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง และส่งผลให้มีการเรียนที่ไม่ดีได้ ทั้งนี้ เด็กจะมีสติปัญญาอยู่ในระดับปกติและมีความสามารถด้านอื่นๆ ปกติ แต่จะมีอาการบกพร่องในทักษะการเรียนรู้ที่กล่าวไปนั่นเอง

ประเภทของ LD

โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือ Learning Disability นั้น แบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ ความบกพร่องด้านการอ่าน ความบกพร่องด้านการเขียน และความบกพร่องด้านคณิตศาสตร์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. ความบกพร่องในด้านการอ่าน หรือ Reading Disabilities

Learning Disability คือ, intellectual disability คือ
Image Credit : Unsplash

ความบกพร่องในการอ่าน หรือ Dyslexia จะมีลักษณะอาการคือ เด็กจะมีความยากลำบากในการจดจำเสียงอ่านในคำนั้นๆ ทั้งพยัญชนะ สระ และไม่สามารถออกเสียงคำได้ มีปัญหาในการทำความเข้าใจความหมายของคำและการใช้ไวยากรณ์ต่างๆ ไม่สามารถสะกดคำได้ ทำให้อ่านหนังสือไม่ออกหรืออ่านช้า อ่านออกเสียงไม่ชัด ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้ จับใจความเรื่องที่อ่านไม่ได้ และอ่านได้ช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน

2. ความบกพร่องด้านการเขียน หรือ Writing Disabilities

Learning Disability คือ, intellectual disability คือ
Image Credit : Unsplash

หนึ่งในประเภทของ Learning Disability คือ ความบกพร่องด้านการเขียน ที่เรียกว่า Dysgraphia ซึ่งทำให้ไม่สามารถเขียนหนังสือได้ หรือเขียนได้ยาก สังเกตได้จากการจับดินสออย่างงุ่มง่าม ลายมืออ่านไม่ออก พูดออกมาดังๆ ขณะเขียน เขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง บางครั้งเรียงตัวอักษรผิด เขียนคำผิด มีปัญหาเกี่ยวกับการคิดคำศัพท์ต่างๆ เรียบเรียงประโยคไม่ถูกต้อง ทำให้ไม่สามารถสื่อสารผ่านการเขียนได้ และมีทักษะการเขียนที่ต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกัน

3. ความบกพร่องทางด้านคณิตศาสตร์ หรือ Mathematics Disabilities

ความบกพร่องทางด้านคณิตศาสตร์ มีอีกชื่อคือ Dyscalculia โดยเด็กที่มีการเรียนรู้บกพร่องในด้านคณิตศาสตร์จะประสบกับปัญหาเกี่ยวกับการนับตัวเลข การแก้โจทย์ทางคณิตศาสตร์ บวก ลบ คูณ หาร การจัดลำดับตัวเลข การคำนวณ การดูเวลา ทั้งยังไม่เข้าใจค่าของตัวเลข การจดจำสูตรคูณ การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น ทำให้ไม่สามารถคิดเลขหรือใช้กระบวนการคิดในเชิงคณิตศาสตร์ได้

เกร็ดสุขภาพ : แพทย์สามารถวินิจฉัยภาวะ LD หรือ Learning Disability ได้จากการรวบรวมประวัติการเรียนและพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของเด็กแต่ละด้าน ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่ใช้ประกอบการวินิจฉัย รวมทั้งรายงานจากครูประจำชั้น การทดสอบประเมินวัดผลการเรียน การเปรียบเทียบระดับสติปัญญา (IQ) ซึ่งจะสามารถวินิจฉัยได้ว่าเด็กมีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ในด้านใด

สาเหตุของการเกิดภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้

ปัจจัยที่ทำให้เกิด  Learning Disability คือปัจจัยหลายประการด้วยกัน ซึ่งอาจเกิดจากพัฒนาการทางสมองที่ผิดปกติหรือบกพร่อง ทั้งในระหว่างก่อนกำเนิด ระหว่างกำเนิด หรือในวัยเด็ก โดยมีสาเหตุดังนี้

  1. แม่เจ็บป่วยขณะตั้งครรภ์ ส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์ได้ 
  2. กรรมพันธ์ุ มีพ่อแม่ หรือญาติพี่น้องมีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้เช่นกัน
  3. เกิดจากความผิดปกติของยีนและโครโมโซม 
  4. เกิดอุบัติเหตุหรือมีปัญหาระหว่างคลอด ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ส่งผลให้สมองมีความผิดปกติได้ 
  5. ความเจ็บป่วย เช่น เผชิญกับโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือมีการบาดเจ็บในวัยเด็ก 
  6. ภาวะดาวน์ซินโดรม ทำให้เกิดการบกพร่องทางการเรียนรู้ร่วมด้วย

เกร็ดสุขภาพ : เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ อาจมีปัญหาอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคสมาธิสั้น หรือ โรค AHAD มีความบกพร่องด้านภาษาและการสื่อสาร ประสบปัญหาการประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือและสายตา เป็นต้น

แนวทางการรักษา Learning Disability คือ อะไร ?

Learning Disability คือ, intellectual disability คือ
Image Credit : Unsplash

เมื่อสังเกตได้ว่าลูกอาจมีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยให้ชัดเจน และเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเด็กมีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ อาจทำการรักษาโดยการทำกิจกรรมบำบัดทางเลือกต่างๆ เช่น ศิลปะบำบัด การเล่นเกมที่ส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาการมนทักษะด้านที่บกพร่องของเด็กๆ การกระตุ้นระบบประสาทและความรู้สึก เป็นต้น ทั้งนี้ หากมีภาวะสมาธิสั้น หรือมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย อาจรักษาโดยการให้ยาเฉพาะ

ในขณะเดียวกัน พ่อแม่ก็ควรให้กำลังใจลูก ไม่ตำหนิหรือดุด่าลูก อธิบายให้เด็กรู้ว่าตนเองเป็นอะไร และส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ให้กับลูกๆ ชื่นชมเมื่อลูกทำอะไรสำเร็จ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจให้กับเด็กๆ ให้เด็กๆ มีความภาคภูมิใจในตนเอง และกระตือรือร้นที่จะฝึกฝนตัวเอง พัฒนาทักษะที่บกพร่องให้ดีขึ้น

หากเป็นที่โรงเรียน อาจมีการจัดทำแผนการเรียนให้เฉพาะกับเด็กที่ทีภาวะ Learning Disability คือ มีแผนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ของเด็กที่มีความบกพร่องในด้านนั้นๆ เน้นการสอนที่เสริมทักษะด้านที่มีความบกพร่อง เช่น ในเด็กที่มีภาวะบกพร่องด้านคณิตศาสตร์ก็เน้นในเรื่องการคำนวณ การนับตัวเลข หรือมีคลาสพิเศษที่เน้นในเรื่องของการอ่าน การเขียน โดยจัดเป็นกลุ่มย่อยหรือสอนตัวต่อตัว เพื่อที่ให้เด็กมีการเรียนรู้พัฒนาทักษะด้านนั้นๆ มากขึ้น

ทั้งนี้ ต้องอยู่บนพื้นฐานของบรรยาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ไม่กดดันเด็กหรือตำหนิเด็กที่ทำไม่ได้ เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกไม่ดีและไม่ชอบที่จะเรียนรู้พัฒนาด้านนั้นๆ อีก ประกอบกับการส่งเสริมให้เด็กมีการทำกิจกรรมอื่นๆ นอกห้องเรียน เช่น เล่นดนตรี เล่นกีฬา ทำงานศิลปะ หรือทำกิจกรรมสันทนาการอื่นๆ เพื่อเป็นการคลายเครียดให้กับเด็กๆ ทั้งยังส่งเสริมให้เด็กมีความภาคภูมิใจในตนเอง ไม่เบื่อหน่าย หรือรู้สึกท้อ และมีสมาธิกับการพัฒนาทักษะของตนเองมากขึ้นด้วย

Learning Disability และ Intellectual Disability แตกต่างกันอย่างไร

Learning Disability คือ, intellectual disability คือ
Image Credit : Unsplash

จากข้างต้น จะเห็นว่า Learning Disability คือโรคบกพร่องทางการเรียนรู้ แต่อาจมีบางคนสงสัยว่าคล้ายกันกับภาวะบกพร่องทางสติปัญญาหรือ Intellectual Disability หรือไม่ ซึ่งความจริงแล้ว Intellectual Disability คือภาวะปัญญาอ่อน ที่ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้เป็นคำว่า “ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา” กันมากขึ้น โดยภาวะบกพร่องทางสติปัญญา หมายถึงภาวะที่มีระดับเชาวน์ปัญญา หรือ IQ ต่ำกว่า 70 เด็กจะมีความบกพร่องหรือไม่สามารถปรับตัวได้ในชีวิตประจำวัน เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กอายุใกล้เคียงกัน อย่างน้อย 2 ใน 10 ด้าน กล่าวคือ

  • ด้านการสื่อสารหรือการสื่อความหมาย
  • ด้าน Self – Care คือการดูแลตัวเอง 
  • การใช้ชีวิตในบ้าน
  • การเข้าสังคมหรือมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น
  • การใช้ทรัพยากรในชุมชน 
  • การควบคุมตนเอง
  • ทักษะการเรียนรู้
  • การใช้เวลาว่าง
  • การทำงาน
  • สุขอนามัยและความปลอดภัยในชีวิตเบื้องต้น

หากมีความบกพร่องในด้านดังกล่าวอย่างน้อย 2 ใน 10 ด้าน ประกอบกับพบอาการได้ก่อนถึงอายุ 18 ปี ก็อาจถูกวินิจฉัยได้ว่า มีภาวะ Intellectual Disability คือภาวะบกพร่องทางสติปัญญานั่นเอง ทั้งนี้ ไม่สามารถประเมินเองได้ ต้องได้รับการประเมินวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกับการใช้เครื่องมือแบบประเมินทดสอบเชาวน์ปัญญา เพื่อให้การวินิจฉัยมีความแม่นยำมากขึ้น

ลักษณะของผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา

ลักษณะโดยทั่วไปของผู้ที่มีภาวะ Intellectual Disability คือ มีพัฒนาการล่าช้า ซึ่งเป็นอาการที่สำคัญของภาวะบกพร่องทางสติปัญญา สังเกตได้จากมีพัฒนาการล่าช้าตั้งแต่ในวัยเด็ก ทั้งในด้านประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว เมื่อเติบโตขึ้นอาจช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง แต่ต้องอาศัยการฝึกอย่างมาก และต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ มักพบในกลุ่มอาการดาวน์ต่างๆ เช่น กลุ่มอาการวิลเลี่ยม (Wiliams Syndrome) ที่มีความบกพร่องทักษะกรเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับมิติสัมพันธ์ หากมีอาการไม่มาก สามารถเข้าเรียนได้ สามารถใช้ชีวิตในชุมชนได้ดี  ทั้งการดำเนินชีวิตประจำวันและการทำงาน แต่อาจต้องการความช่วยเหลือในบางอย่าง

ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา สามารถรักษาได้หรือไม่ ?

การรักษาภาวะบกพร่องทางสติปัญญา หรือ Intellectual Disability คือการรักษาแบบประคองอาการ หรือฟื้นฟูสภาพทางสมองส่วนที่คงเหลืออยู่ให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากไม่อาจรักษาสมองส่วนที่เสียไปให้กลับคืนมาทำงานได้ดังเดิม โดยจะเน้นไปที่การฟื้นฟูสมรรถภาพของสมองและร่างกายมากกว่าการรักษาโดยการใช้ยา ร่วมกับการส่งเสริมพัฒนาการการเรียนรู้ในด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด และสามารถดูแลและช่วยเหลือตัวเองได้

ในตอนนี้ก็ได้รู้แล้วว่า โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือ Learning Disability คืออะไร และมีความแตกต่างกับภาวะบกพร่องทางสติปัญญาหรือ Intellectual Disability อย่างไร สิ่งสำคัญคือ ยิ่งรู้เร็วยิ่งรักษาหรือฟื้นฟูทักษะการเรียนรู้ได้รวดเร็ว เพื่อให้เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้สามารถพัฒนาทักษะให้ดีขึ้นได้ เช่นเดียวกับเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา แม้ไม่สามารถรักษาได้ แต่สามารถฟื้นฟูสมรรถภาพและประคองอาการให้สามารถช่วยเหลือตนเองและดำรงชีวิตประวันได้อยากปกติสุขมากที่สุด อีกประการหนึ่งคือ การดูแลเอาใจใส่จากบุคคลรอบข้าง ทั้งครอบครัว และที่โรงเรียน ก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้เด็กๆ เติบโตได้ดีขึ้นค่ะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : th.rajanukul.go.th, additudemag.com, nhs.uk

Featured Image Credit : unsplash.com/Kenny Eliason

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save