“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ รักษา ยังไง ? ชวนรู้จักสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษากัน !
ช่วงสถานการณ์โควิด 19 ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ การกังวลใจเรื่องเชื้อไวรัสก็ว่าเยอะแล้ว ทำให้หลายคนเลือกจะฉีดวัคซีนเข้าที่แขนกันหลายเข็ม อยากป้องกันโรค แต่ก็ได้ยินผลข้างเคียงของวัคซีนมาบ้าง รวมถีงใครที่เคยป่วยเป็นโควิดมาแล้วคงเคยได้ยิน ‘ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ้กเสบ’ ผ่านหูกันมาบ้าง ซึ่งการติดเชื้อโควิดเป็นเพียงแค่หนึ่งในสาเหตุของโรคนี้เท่านั้น เราจึงอยากชวนคุณมารู้ว่า กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อาการมีอะไรบ้าง และ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ รักษา ได้หรือไม่ ต้องดูแลตัวเองยังไง ติดตามได้ในบทความฉบับนี้ค่ะ
เกร็ดสุขภาพ : การติดเชื้อ Covid – 19 มีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมกับโรคหัวใจ เนื่องจากขณะที่ได้รับเชื้อ และร่างกายกำลังต่อสู้กับเชื้อไวรัส อาจมีภาวะที่เรียกว่า เกิดภูมิต้านทานของตัวเองต่อกล้ามเนื้อหัวใจและเยื้อหุ้มหัวใจ ทำให้การทำงานและการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง ในผู้ที่ติดเชื้อรุนแรงพบว่ามีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบสูงถึง 40 %
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อาการเป็นยังไง คืออะไรกันแน่ ?
เริ่มแรกเรามารู้จักกันก่อนว่า ปกติแล้วอวัยวะที่เรียกว่า “หัวใจ” จะมีอยู่ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ เยื่อหุ้มหัวใจ ลิ้นหัวใจ และกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจนั้นจะอยู่ที่ชั้นกลาง เป็นส่วนหลักที่ควบคุมการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายผ่านการบีบและคลายตัวในอัตราที่ปกติ หากเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบขึ้นเมื่อไหร่ จะทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะจากการนำไฟฟ้าผิดปกติ และเกิดภาวะหัวใจวายได้เลย (อ่านเพิ่มเติม โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ) ดังนั้นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ รักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงจะดีที่สุด
แต่ก่อนหน้านั้น เราสามารถสังเกตได้ว่าอาการที่เกิดขึ้นใช่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรือไม่ ถ้ารู้สึกเจ็บแน่นหน้าอก เวลาออกแรงแล้วเหนื่อยง่ายกว่าปกติ หายใจได้สั้นลง หัวใจเต้นเร็วและเต้นผิดปกติ ใจสั่น รวมถึงอ่อนเพลีย มีโอกาสมากเลยทีเดียวที่จะเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หากมีอาการน่าสงสัยว่าใช่กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ รักษาโดยด่วนก่อนพัฒนาไปถึงขั้นรุนแรง
นอกจากนี้ อาการภายนอกร่างกายยังบ่งบอกถึงโรคภาวะกล้ามหัวใจอักเสบได้อีกด้วย ทั้งการที่ไม่สามารถนอนราบได้ เท้าและขาบวม หรือปวดตัว ซึ่งอาการเหล่านี้ถือว่าเข้าขั้นน่าห่วงเพราะเป็นอาการขั้นรุนแรงที่จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอันตราย อย่างเช่น ภาวะหลอดเลือดสมองอุดตัน หัวใจขาดเลือด หัวใจหยุดเต้น จนถึงหัวใจล้มเหลวได้เลยค่ะ
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เกิดจากอะไร
สาเหตุหลักของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบนั้นจะเกิดขึ้นจาก ‘การติดเชื้อไวรัส’ อย่างเช่น คอกซากีไวรัสที่พบในโรคมือเท้าปาก พาร์โวไวรัสที่พบในโรคลำไส้อักเสบ และไวรัสเอชไอวีที่จะทำให้ภูมิคุ้มกันแย่ลง ทั้งนี้ยังรวมไปถึงแบคทีเรียและเชื้อราอื่นๆ ได้อีกด้วย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ เราอาจจะควบคุมไม่ได้ แต่ยังมีการใช้สารเสพติด หรือยาบางชนิดที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้ด้วย และเป็นสิ่งที่ที่เราหลีกเลี่ยงมันได้
แต่ในไม่กี่ปีมานี้ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบถูกเอ่ยถึงมากยิ่งขึ้นจากการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด 19 โดยเฉพาะวัคซีนแบบ mRNA ที่เกิดขึ้นได้หลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ประมาณ 3 วัน – 2 สัปดาห์ พบในเพศชายมากกว่า โดยจะพบในช่วงอายุ 12 – 17 ปีมากที่สุด ฟังดูแล้วเหมือนเป็นผลข้างเคียงที่น่าห่วงและหลายคนกังวลก่อนตัดสินใจไปฉีดวัคซีน แต่จริงๆ แล้วมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก (100,000 – 200,000 คนเท่านั้น) และส่วนมากร่างกายสามารถหายได้เองค่ะ
มองไปก็ดูเหมือนภาวะนี้เป็นเรื่องของวัยผู้ใหญ่หรือผู้สูงวัยเท่านั้น แต่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้ในเด็กเล็กเช่นกัน สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีเด็กเล็กก็ควรสังเกตลูกน้อย หากเล็บและริมฝีปากเป็นสีเขียวขณะดูดนม หรือเสียงหัวใจเต้นผิดจังหวะ ดูเหนื่อยหอบง่าย น้ำหนักไม่ขึ้นตามเกณฑ์ มีพัฒนาการช้ากว่าที่ควร ก็อาจจะต้องรีบปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยต่อไป
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ รักษา และป้องกันอย่างไร
มาคลายความกังวลกันก่อน ในตอนนี้ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ รักษาได้และป้องกันได้แน่นอนค่ะ โดยวิธีป้องกันนั้นไม่ยากเลย เริ่มต้นจากตัวเราที่รักษาความสะอาด งดใช้สารเสพติดและสัมผัสสารเคมี รวมถึงออกห่างจากคนที่ติดเชื้อไวรัสหรือไข้หวัด และอย่างที่ได้เคลียร์กันไปว่ากล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเกิดได้จากไวรัสที่พบในโรคอื่นด้วย เพราะฉะนั้นเราสามารถฉีดวัคซีนป้องกันได้ อย่างเช่น วัคซีนโรคคอตีบ ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม สำหรับใครที่เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบขึ้นมาแล้ว แนะนำให้ไปตรวจเช็กคลื่นหัวใจกับแพทย์เฉพาะทางเพื่อทราบว่าสภาวะหัวใจตอนนี้เป็นอย่างไร ซึ่งโดยส่วนมากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบนี้ สามารถดีขึ้นได้เอง แต่ในบางคนอาจต้องได้รับยาต้านไวรัส ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแพทย์เป็นผู้วินิจฉัยและวางแผนการรักษา
คำแนะนำสำหรับ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ รักษา ดูแลคนใกล้ตัว
ก่อนหน้าที่ได้บอกไปแล้วว่า กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบอาจเกิดขึ้นได้จากการฉีดวัคซีน mRNA แต่ยังมีสิ่งที่น่าห่วงอีกหนึ่งอย่างสำหรับใครที่เคยป่วยเป็นโควิดมาก่อนหน้านี้ ที่เป็นผู้ป่วยโรคหัวใจในขณะเดียวกัน อาจจะต้องระวังและใส่ใจขึ้นมาอีกนิด เพราะภาวะลองโควิด (Long COVID) อาจทำให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อและเกิดภาวะแทรกซ้อนทำลายกล้ามเนื้อหัวใจ รวมถึงการบีบตัวของหัวใจลดน้อยลง ใด ๆ ก็แล้วแต่กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ รักษากับแพทย์ร่วมกันกับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากคนรอบข้าง หายดีและไม่อันตรายถึงชีวิตแน่นอน
เกร็ดสุขภาพ : อาการของคนที่มีภาวะ Long COVID ที่แสดงออกเกี่ยวกับหัวใจ เช่น ในสั่น เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย หรือบางครั้งอาจมีอาการเจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น ปัจจุบันไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง แต่อาจมีการตรวจเลือดหรือทำภาพสแกน MRI เพื่อดูความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ และรักษาตามดุลพินิจของแพทย์
หลังจากที่กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ รักษาไปเรียบร้อยแล้ว แนะนำว่าไม่ควรใช้แรงมากเกินไป กิจกรรมหนักอย่างการเล่นกีฬาควรงดไปก่อนประมาณ 3 – 6 เดือน หรือสำหรับคนที่ต้องการออกกำลังกายอาจปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมในส่วนนี้ รวมถึง งดการบริโภคคาเฟอีน คือสารที่ทำให้มีผลต่อหัวใจได้เช่นกันค่ะ
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ รักษาได้และหายได้อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งจะไม่เสี่ยงต่อการเป็นภาวะแทรกซ้อน หากเราสังเกตอาการของตนเองและคนใกล้ตัวอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้รู้เท่าทันและสามารถทำการรักษาหรือขอคำแนะนำจากแพทย์ได้อย่างทันท่วงที อาจสังเกตตัวเองจาก อัตราการเต้นของหัวใจขณะพักปกติดูก็ได้ ถ้าพบว่ามีความผิดปกติอย่างไร ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติมค่ะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : bangkokhearthospital.com, vichaivej-nongkhaem.com, thonburi2hospital.com, mayoclinic.org
Featured Image Credit : freepik.com
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ