X

โรคตาแดง สาเหตุ คืออะไร ? ต้องดูแลป้องกันตัวเองอย่างไรให้ไม่เป็น ?!

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

โรคตาแดง สาเหตุ คืออะไร ? ต้องดูแลป้องกันตัวเองอย่างไรให้ไม่เป็น ?!

อาการตาแดงนั้นเป็นอาการที่พบเจอได้บ่อย เนื่องมาจากการที่ตามีการอักเสบเกิดขึ้น และทำให้ตาขาวของคุณกลายเป็นสีแดง ที่เราเรียกกันว่าโรคตาแดงนั่นเอง ซึ่งตาแดงนั้นก็มีสาเหตุมาจากหลายอย่างด้วยกัน มักจะทำให้ดวงตาของคุณรู้สึกระคายเคือง แต่ไม่ค่อยส่งผลต่อการมองเห็น ซึ่งการรักษาสามารถช่วยบรรเทาความรู้สึกไม่สบายตาได้ เพื่อรู้ถึงวิธีการป้องกันและดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรคตาแดง บทความนี้จะมาบอกถึง โรคตาแดง สาเหตุ เกิดจากอะไร รวมถึงโรคตาแดง วิธีป้องกันมีอะไรบ้างค่ะ

โรคตาแดง สาเหตุ เกิดจากอะไรบ้าง ? มารู้จักวิธีดูแลและป้องกัน

โรคตาแดง สาเหตุ, โรคตาแดง วิธีป้องกัน
Image Credit : freepik.com

ตาแดง หรือเยื่อบุตาอักเสบ คือการอักเสบหรือการติดเชื้อของเยื่อบุตา ซึ่งเป็นเยื่อบางๆ โปร่งใสที่อยู่เหนือผิวด้านในของเปลือกตาและปิดบังส่วนสีขาวของตา เมื่อหลอดเลือดในเยื่อบุลูกตาอักเสบ ดวงตาก็จะมีสีแดงหรือชมพู มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส หรืออาการแพ้ เป็นต้น เรามารู้จักสาเหตุโดยละเอียดกันว่าโรคตาแดง สาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง

1. เยื่อบุตาอักเสบจากไวรัสและแบคทีเรีย

โรคตาแดง สาเหตุหลักๆ คือ ติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ซึ่งเยื่อบุตาอักเสบจากไวรัสและแบคทีเรียสามารถเกิดขึ้นได้พร้อมกับอาการหวัดหรืออาการของการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น เจ็บคอ การใส่คอนแทคเลนส์ที่ไม่ได้ทำความสะอาดอย่างเหมาะสมสิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดโรคตาแดงจากแบคทีเรียได้ และโรคตาแดงเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายมาก โดยเฉพาะจากการติดเชื้อจากไวรัสและแบคทีเรีย เพราะสามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสโดยตรง หรือผ่านการสัมผัสทางอ้อมกับของเหลวที่ระบายออกจากตาของผู้ที่ติดเชื้อค่ะ ส่วนโรคตากุ้งยิง ติดต่อไหมนั้น สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความในเว็บไซต์ของเราได้เลย

2. เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้

เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ส่งผลกระทบต่อดวงตาทั้งสองข้างและเป็นการตอบสนองต่อสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ เช่น ละอองเกสร และเพื่อตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ ร่างกายของเราจะผลิตแอนติบอดีที่เรียกว่าอิมมูโนโกลบูลินอี แอนติบอดีนี้กระตุ้นเซลล์พิเศษที่เรียกว่าแมสต์เซลล์ในเยื่อบุตาและทางเดินหายใจ เพื่อปล่อยสารอักเสบรวมถึงฮีสตามีน และการปล่อยฮีสตามีนในร่างกายนั้นสามารถก่อให้เกิดอาการแสดงของการแพ้ได้หลายอย่าง รวมถึงอาการตาแดงด้วยนั่นเอง

3. เยื่อบุตาอักเสบจากการระคายเคือง

การระคายเคืองจากสารเคมีหรือวัตถุแปลกปลอมที่กระเด็นเข้าไปในดวงตานั้น สัมพันธ์กับเยื่อบุตาอักเสบด้วย เพราะบางครั้งการล้างและทำความสะอาดดวงตาเพื่อกำจัดสารเคมีหรือวัตถุทำให้เกิดรอยแดงและระคายเคืองได้ รวมถึงอาจมีน้ำตาไหลและมีขี้ตา แต่มักจะหายได้เองภายในหนึ่งวัน ซึ่งโรคตาแดง สาเหตุจากสารเคมีนั้น อาจเกิดได้จากคลอรีนในสระน้ำ มลพิษทางอากาศ และการสัมผัสกับสารเคมีอื่นๆ

เกร็ดสุขภาพ : อาการโรคตาแดงที่พบได้บ่อยที่สุดคือ ตาแดงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง มีอาการคันในตา รู้สึกระคายเคืองในดวงตา มีน้ำตาที่ข้นขึ้นในเวลากลางคืน และมีปริมาณน้ำตาที่ผิดปกติ

การรักษาโรคตาแดง

โรคตาแดง สาเหตุ, โรคตาแดง วิธีป้องกัน
Image Credit : freepik.com

แม้ว่าตาแดงอาจทำให้รู้สึกระคายเคือง แต่การรักษาสามารถช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ได้ การวินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะสามารถช่วยจำกัดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ ซึ่งโรคตาแดง สาเหตุมีหลายประเภท และมีการรักษาที่แตกต่างกัน ซึ่งเยื่อบุตาอักเสบจากไวรัสมักเริ่มที่ตาข้างหนึ่งแล้วติดเชื้อที่ตาอีกข้างหนึ่งภายในสองสามวัน โดยอาการจะค่อยๆ หายไปเอง แต่หากไม่ดีขึ้น ก็สามารถรักษาได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

1. เยื่อบุตาอักเสบจากแบคทีเรีย

สำหรับการติดเชื้อแบคทีเรีย ยาปฏิชีวนะเป็นวิธีการรักษาที่ใช้บ่อยที่สุด และมักใช้ยาหยอดตาในการรักษา ซึ่งจะทำให้อาการตาแดงเริ่มหายไปภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน

2. เยื่อบุตาอักเสบจากไวรัส

ส่วนใหญ่แล้วโรคตาแดง สาเหตุที่เกิดจากเยื่อบุตาอักเสบจากเชื้อไวรัสนั้น จะเกิดจากไวรัสชนิดเดียวกันที่ทำให้เกิดโรคไข้หวัด ในกรณีที่มีคนจามใส่หน้าหรือดวงตาของคุณ ก็อาจติดเชื้อได้ ไวรัสไข้หวัดเหล่านี้ยังไม่มีการรักษาใดๆ และอาการมักจะไม่รุนแรง สามารถหายได้เองใน 7 – 10 วัน แต่ในบางกรณีที่พบไม่บ่อย อาจเกิดจากไวรัสอื่นๆ เช่น ไวรัสเริม ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรงขึ้นได้ สามารถรักษาด้วยยาต้านไวรัส แต่การรักษาเหล่านี้สามารถใช้ได้เฉพาะกับการติดเชื้อไวรัสบางประเภทเท่านั้น ในระหว่างนี้ การประคบอุ่นหรือผ้าชุบน้ำอุ่นสามารถช่วยบรรเทาอาการได้

3. เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้

ในการรักษาโรคตาแดง สาเหตุที่เกิดจากสารก่อภูมิแพ้ อาจมีอาการคัน น้ำตาไหล และตาอักเสบอย่างรุนแรง รวมถึงการจามและมีน้ำมูกไหล แพทย์อาจจะสั่งยาต้านฮีสตามีนเพื่อหยุดการอักเสบ เช่น ลอราทาดีน และไดเฟนไฮดรามีน ที่เป็นยาแก้แพ้ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป จะช่วยล้างอาการแพ้รวมถึงตาที่แดงจากการแพ้ได้ นอกจากนี้ การรักษาอื่นๆ ได้แก่ ใช้ยาหยอดตาต้านฮีสตามีนหรือยาหยอดตาแก้อักเสบ เป็นต้น

4. เยื่อบุตาอักเสบจากสารเคมี

การล้างตาด้วยน้ำเกลือเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยบรรเทาอาการได้หากคุณต้องรับมือกับอาการตาแดงจากสารเคมี และทำความสะอาดเปลือกตาด้วยผ้าเปียก และประคบเย็นหรือประคบร้อนวันละหลายๆ ครั้ง

โรคตาแดง วิธีป้องกันมีอะไรบ้าง

โรคตาแดง สาเหตุ, โรคตาแดง วิธีป้องกัน
Image Credit : freepik.com

การป้องกันการแพร่กระจายของโรคตาแดงนั้น สิ่งสำคัญเลยคือฝึกสุขอนามัยที่ดีเพื่อควบคุมการแพร่กระจาย ได้แก่

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตาด้วยมือที่ยังไม่ได้ล้าง
  • ล้างมือบ่อยๆ ให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ
  • ใช้ทิชชู่และผ้าขนหนูที่สะอาดเช็ดใบหน้าและดวงตา
  • พยายามอย่าใช้เครื่องสำอาง โดยเฉพาะอายไลเนอร์หรือมาสคาร่าร่วมกับผู้อื่น
  • ซักหรือเปลี่ยนปลอกหมอนบ่อยๆ
  • หากใส่คอนแทคเลนส์ ควรหยุดใส่จนกว่าการรักษาจะเสร็จสิ้นและหายดีเป็นปกติ

เกร็ดสุขภาพ : โรคตาแดงนั้นแม้ว่าจะเป็นโรคติดต่อ แต่ก็ไม่ได้ร้ายแรง ไม่ต่างจากการเป็นไข้หวัดธรรมดา หากดูแลรักษาตัวเองแล้วสามารถกลับไปทำงาน ไปโรงเรียน หรือดูแลเด็กได้ตามปกติ หรือถ้าหากไม่สามารถหยุดงานได้ เพียงแค่รักษาสุขอนามัยที่ดีอย่างสม่ำเสมอก็เพียงพอ และเมื่ออาการตาแดงหายสนิทแล้ว อาจใช้อุปกรณ์ช่วยในการนวดเพื่อผ่อนคลายได้ ลองเลือกจากเครื่องนวดตา ยี่ห้อไหนดีที่เราเคยแนะนำไปก็ได้นะคะ

โรคตาแดง สาเหตุนั้นเกิดจากหลายอย่าง แต่โดยมากจะเกิดจากการติดเชื้อ สามารถใช้วิธีการรักษาโรคตาแดง วิธีป้องกันต่างๆ ที่แนะนำไป เพื่อบรรเทาอาการได้ แต่ถ้ามีอาการผิดปกติของดวงตาอย่างรุนแรงที่อาจทำให้ตาแดงและเกิดอาการปวดตา หรือมีความรู้สึกว่ามีบางอย่างติดอยู่ในดวงตา มองเห็นภาพซ้อน และไวต่อแสงนั้น หากมีอาการเหล่านี้ ให้รีบไปพบแพทย์นะคะ (อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง เล่นโทรศัพท์ในที่มืดเป็นเวลานาน เสี่ยงตาบอดจริงหรือไม่) และหากคุณใส่คอนแทคเลนส์ต้องหยุดใส่ทันทีที่เริ่มมีอาการตาแดง และถ้าหากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 12 – 24 ชั่วโมง ควรให้แพทย์ตรวจเพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะไม่มีอาการติดเชื้อที่ดวงตาที่รุนแรงมากขึ้นซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้คอนแทคเลนส์ด้วยค่ะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : webmd.com, mayoclinic.org, healthline.com

Featured Image Credit : freepik.com/Alessandro_Gran

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save