X

นอนกัดฟัน เกิดจากอะไร ? เครียดมากไปหรือไม่ ต้องดูแลตัวเองยังไงนอนหลับอย่างสบายใจไร้กังวล !

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

นอนกัดฟัน เกิดจากอะไร ? เครียดมากไปหรือไม่ ต้องดูแลตัวเองยังไงนอนหลับอย่างสบายใจไร้กังวล !

ถ้าคุณตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกเมื่อยหรือเจ็บตึงบริเวณแก้ม ข้างหู รู้สึกตึงที่ขมับ กัดฟันแล้วเจ็บหลายซี่ หรือตึง ชาที่ฟัน สังเกตว่าฟันบิ่นแตก เวลาที่ไปพบหมอฟันแล้วคุณหมอบอกว่ามีฟันสึกผิดปกติที่ไม่สมกับอายุ มีรอยหยักตามแนวสบฟันชัดเจน นั่นแสดงว่า คุณอาจจะนอนกัดฟัน หรือชัดที่สุดคือ คนที่นอนด้วยบอกว่า ได้ยินเสียงกัดฟันขณะนอนหลับ ซึ่งการนอนกัดฟัน เป็นการทำงานนอกหน้าที่ของระบบบดเคี้ยวในขณะนอนหลับ ที่ทำให้กล้ามเนื้อที่ใช้บดเคี้ยวหดตัวผิดปกติ ทำให้เกิดการกัดฟัน ซึ่งจัดเป็นความผิดปกติของการหลับอย่างหนึ่ง (Sleep Disoder) แล้วทำไมบางคนถึงนอนกัดฟัน ? นอนกัดฟัน เกิดจากอะไร ? นอนกัดฟัน รักษาได้หรือไม่ ? ในบทความนี้ มีคำตอบให้ค่ะ

เกร็ดสุขภาพ : การนอนกัดฟันเป็นความผิดปกติของร่างกายที่เกิดขึ้นขณะหลับ โดยจะมีอาการคือ ขบฟันแน่นๆ หรือบดฟันบนฟันล่างถูไปมาซ้ำๆ ซึ่งในคืนๆ หนึ่ง ผู้ที่มีอาการนอนกัดฟันอย่างรุนแรงอาจมีอาการดังกล่าวมากกว่า 80 – 100 ครั้ง โดยที่คนนอนกัดฟันมักจะไม่รู้ตัว คล้ายกับคนที่นอนกรนซึ่งไม่รู้ตัวว่าตัวเองกรนเช่นกัน

นอนกัดฟัน เกิดจากอะไร ? เคยได้ยินว่าเครียด เก็บกด จะนอนกัดฟัน จริงหรือไม่

นอนกัดฟัน เกิดจากอะไร, นอนกัดฟัน รักษา
Image Credit : freepik.com

สาเหตุของการนอนกัดฟันนั้น มีอยู่หลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้

  • ความเครียด ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นระหว่างวัน ทำให้ร่างกายหลั่งอะดรีนาลีนและคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดที่จะเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ทำให้เลือดสูบฉีด กล้ามเนื้อเกิดอาการเกร็ง ส่งผลให้นอนกัดฟันได้ 
  • บุคลิกภาพบางประเภท เช่น ผู้ที่มีสมาธิสั้น มีอารมณ์ฉุนเฉียวก้าวร้าว หรือชอบการแข่งขัน ก็สามารถเพิ่มโอกาสในการนอนกัดฟันได้ เนื่องจากเป็นปฏิกิริยาของร่างกายที่ตอบสนองต่อความกังวลใจ ความไม่สบายใจ ซึ่งคล้ายกับการนั่งสั่นขา การกัดเล็บ เมื่อรู้สึกประหม่าหรือกังวลใจ
  • โรคบางชนิด เช่น Parkinson ที่ทำให้กล้ามเนื้อกระตุกและทำงานผิดปกติ 
  • นอนกัดฟัน เกิดจากอะไรที่เป็นสารกระตุ้นต่างๆ อาทิ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอลล์ หรือการบริโภคคาเฟอีนในปริมาณมาก 
  • การใช้ยารักษาโรคบางประเภท ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ส่งผลต่ออารมณ์และจิตใจ เช่น ยารักษาโรคทางจิตเวช ยารักษาโรคซึมเศร้า เป็นต้น

เกร็ดสุขภาพ : การวินิจฉัยการนอนกัดฟันที่ดีที่สุดคือ การตรวจการนอน หรือ Sleep Test ซึ่งสามารถตรวจได้ที่โรงพยาบาล เพื่อวัดการทำงานของกล้ามเนื้อบทเคี้ยวขณะหลับ หรืออาจใช้เครื่องมือทดสอบการกัดฟันขณะนอนหลับ ซึ่งการนอนกัดฟัน มักจะเกิดร่วมกับการนอนกรน และมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea: OSA)

การนอนกัดฟัน ส่งผลเสียอย่างไร ?

นอนกัดฟัน เกิดจากอะไร, นอนกัดฟัน รักษา
Image Credit : freepik.com
  • ฟันสึก ทำให้ฟันสั้นลง ฟันบาง คอฟันสึกเป็นร่อง มีอาการเสียวฟัน หากฟันสึกมากจะทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับรูปหน้าได้
  • ฟันบิ่น แตก ร้าว หรือสึกจนทะลุโพรงประสาทฟัน ทำให้ปวดฟัน เคี้ยวอาหารไม่สะดวก 
  • ปวดเมื่อยบริเวณใบหน้าและข้อต่อขากรรไกร ทำให้ไม่สามารถอ้าปากได้ เคี้ยวอาหารไม่ได้ เพราะปวดฟันมาก ทั้งยังส่งผลทำให้อารมณ์ขุ่นมัวด้วย
  • กระดูกกรามขยายใหญ่ กล้ามเนื้อบรเวณแก้มทั้งสองข้างขยายใหญ่ขึ้น ส่งผลให้มีใบหน้าเหลี่ยมขึ้น 
  • ในคู่แต่งงาน อาจทำให้ความสัมพันธ์ในชีวิตคู่แย่ลงได้ เนื่องจากเสียงกัดฟันรบกวนการนอนหลับของอีกฝ่าย

การนอนกัดฟัน รักษาได้หรือไม่ ?

นอนกัดฟัน เกิดจากอะไร, นอนกัดฟัน รักษา
Image Credit : freepik.com

เนื่องจากนอนกัดฟัน เกิดจากอะไรนั้น ก็มีอยู่หลายสาเหตุด้วยกันตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น ทีนี้มาดูกันว่า วิธีรักษาหรือป้องกันการนอนกัดฟัน สามารถทำได้อย่างไรบ้าง

  • การนอนกัดฟัน รักษาได้ด้วยการใส่ฟันยางหรือเฝือกสบฟัน (Occlusal Splint) เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันสึก หัก แตก และช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณขากรรไกรลดความเกร็งและความตึงลง
  • การนอนกัดฟัน รักษาได้โดยการจัดฟันหรือแก้ไขทางทันตกรรม เพื่อการแก้ไขฟันที่มีปัญหาให้เรียงตัวกันอย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการนอนกัดฟันอันเนื่องมาจากสาเหตุทางทันตกรรมได้ 
  • การใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อการนอนหลับและปรับการนอนหลับ ซึ่งจะช่วยลดการกัดฟันได้

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอน เพื่อที่จะได้นอนหลับได้สบายใจ ไม่นอนกัดฟัน

นอนกัดฟัน เกิดจากอะไร, นอนกัดฟัน รักษา
Image Credit : freepik.com

สาเหตุหนึ่งของการนอนกัดฟัน เกิดจากอะไรที่ทำให้เราเครียดก่อนเข้านอนด้วยเช่นกัน ดังนั้น เพื่อให้เรานอนหลับได้ดีขึ้น และลดการนอนกัดฟัน ก็ควรจะมีการนอนหลับที่มีคุณภาพ ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้ค่ะ

  • ฝึกการผ่อนคลายก่อนนอน เช่น การฟังเพลงเบาๆ การทำสมาธิ ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้ร่างกายและจิตใจได้ผ่อนคลาย 
  • งดเครื่องดื่มที่มีคาแฟอีน แอลกอฮอลล์ หรือสูบบุหรี่ และก่อนนอนไม่ควรรับประทานอาหารมากเกินไป
  • ปรับบรรยากาศภายในห้องนอนให้เงียบสงบ มีบรรยากาศผ่อนคลายเหมาะแก่การพักผ่อน ไม่ควรมีแสงสว่างมากเกินไป งดการดูโทรศัพท์มือถือในที่มืดก่อนนอน เพราะแสงสีฟ้าจะกระตุ้นให้สมองตื่นตัวได้ (อ่านเพิ่มเติม เล่นโทรศัพท์ในที่มืดเป็นเวลานาน เสี่ยงตาบอดหรือไม่ 
  • ไม่ทำกิจกรรมที่ตื่นเต้นหรือทำให้ตื่นตัวก่อนนอน เช่น ดูหนังแอคชั่น หรือภาพยนตร์ระทึกขวัญ หรือเล่นเกมที่ทำให้อารมณ์เสียได้ ควรทำกิจกรรมเบาๆ เช่น อ่านหนังสือเนื้อหาเบาๆ ก่อนนอน เป็นต้น

ตอนนี้เราก็รู้แล้วว่า การนอนกัดฟัน เกิดจากอะไร เพื่อที่จะได้หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดการนอนกัดฟัน รวมถึง นอนกัดฟัน รักษาได้อย่างไร ก็ได้รู้คำตอบไปแล้วเช่นกัน ซึ่งถ้าใครที่มีปัญหากับการนอนกัดฟันอย่างรุนแรง เช่น ปวดฟัน มีปัญหาฟันสึกมาก มีปัญหาด้านปริทันต์ ก็ควรจะรีบไปพบทันตแพทย์ เพื่อรักษาให้ทันท่วงที และลดอาการปวดฟันที่เกิดขึ้น จะได้ไม่มีปัญหาสุขภาพในระยะยาว หรืออาจลองปรึกษาแพทย์ด้านการนอนหลับดู ซึ่งจะช่วยให้คำปรึกษาแนะนำได้เช่นกันค่ะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : sukumvithospital.com, thailanddentalclinic.com, mayoclinic.org, sleepfoundation.org

Featured Image Credit : freepik.com/gballgiggsphoto

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save