X

โดนน้ำมันลวก ปฐมพยาบาล อย่างไร ? รวมวิธีรักษาและบรรเทาอาการเพื่อลดความเจ็บปวด

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

โดนน้ำมันลวก ปฐมพยาบาล อย่างไร ? รวมวิธีรักษาและบรรเทาอาการเพื่อลดความเจ็บปวด

สำหรับคนที่ชอบเข้าครัวทำอาหารกันเป็นประจำ อาจจะหลีกเลี่ยงการโดนน้ำร้อนลวก หรือการโดนน้ำมันลวกได้ยาก เพราะสามารถเกิดขึ้นได้บ่อยในครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เร่งรีบ อาจทำให้คุณขาดความระมัดระวัง จนมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุโดนน้ำร้อนหรือน้ำมันลวกได้ ทั้งนี้เมื่อเกิดแผลไหม้ขึ้น สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจวิธีประเมินสถานการณ์เพื่อป้องกันการติดเชื้อและความเสียหายเพิ่มเติมต่อผิวหนังของคุณ และทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่บ้านในทันที เพื่อช่วยลดความเจ็บปวดหรือความเสียหายที่อาจตามมาได้ บทความนี้จะพาคุณไปรู้ถึงสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับวิธีรักษาว่าโดนน้ำมันลวก ปฐมพยาบาลอย่างไร และโดนน้ำมันลวก ทายาอะไรถึงจะดี และอาการแบบไหนที่ต้องรีบไปพบแพทย์ค่ะ

โดนน้ำมันลวก ปฐมพยาบาล เบื้องต้นอย่างไรให้ถูกวิธี

โดนน้ำมันลวก ปฐมพยาบาล, โดนน้ำมันลวก ทายาอะไร
Image Credit : vecteezy.com

เมื่อคุณโดนน้ำมันลวกจากการประกอบอาหารนั้น ก่อนที่จะไปรู้ถึงขั้นตอนว่าโดนน้ำมันลวก ปฐมพยาบาลอย่างไรนั้น จะต้องรู้จักการไหม้ของแผลก่อนว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งแผลไหม้นั้นมี 3 ประเภท ดังนี้

  1. แผลไหม้ระดับที่หนึ่ง : ชั้นนอกของผิวหนังจะมีลักษณะเป็นสีแดง อาการปวดไม่รุนแรง
  2. แผลไหม้ระดับที่สอง : ความเจ็บปวดรุนแรงขึ้นพร้อมกับรอยแดง บวม และตุ่มพอง ที่ส่งผลต่อชั้นลึกของผิวหนัง
  3. แผลไหม้ระดับที่สาม : ผิวหนังจะไหม้เกรียมหรือเป็นสีขาว และเจ็บปวดอย่างรุนแรง ซึ่งหากคุณมีแผลไหม้ระดับนี้จะต้องไปพบแพทย์ทันที

เกร็ดสุขภาพ : แผลไหม้จากการโดนน้ำมันลวกทุกระดับนั้น จะใช้เวลาในการรักษาต่างกันออกไป หากเป็นแผลไหม้เพียงระดับที่หนึ่งหรือสองที่ไม่รุนแรงมากนัก ให้ใช้การทายาบรรเทาอาการไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหายดีค่ะ

การปฐมพยาบาลและบรรเทาอาการแผลไหม้เบื้องต้น

โดนน้ำมันลวก ปฐมพยาบาล, โดนน้ำมันลวก ทายาอะไร
Image Credit : freepik.com

เมื่อคุณมีแผลไหม้จากการโดนน้ำมันลวกนั้น ก่อนอื่นเลยคือควรรีบทำการปฐมพยาบาล เพื่อบรรเทาอาการให้ทุเลาลงได้ ซึ่งโดนน้ำมันลวก ปฐมพยาบาลอย่างไรถึงจะถูกต้อง และสามารถบรรเทาอาการโดนน้ำมันลวก ทายาอะไรถึงจะดีนั้น มาดูขั้นตอนกันเลยค่ะ

แผลไหม้ระดับที่หนึ่งและสอง

เมื่อคุณโดนน้ำมันลวก และมีแผลไหม้อยู่ในระดับที่หนึ่งและระดับที่สอง ที่มีอาการแดง บวม มีความเจ็บปวดไม่รุนแรงจนถึงรุนแรงเล็กน้อยนั้น แผลโดนน้ำมันลวก ปฐมพยาบาลได้ดังนี้

  1. ถอดเสื้อผ้า เครื่องประดับ เข็มขัด ออกทันที เพราะอาจสัมผัสกับแผลไหม้ และทำให้แผลบวมได้อย่างรวดเร็ว
  2. เปิดน้ำเย็นให้ไหลผ่านแผลไหม้จนกว่าความเจ็บปวดจะบรรเทาลง และเพื่อป้องกันอาการบวม หรือใช้ประคบเย็นหากไม่สามารถเปิดน้ำไหลผ่านแผลได้ แต่อย่าประคบน้ำแข็ง เพราะจะไปลดอุณหภูมิของร่างกายและทำให้เกิดความเจ็บปวดและความเสียหายเพิ่มเติมได้
  3. หลังจากผ่านไปประมาณ 15-20 นาที ให้ทำความสะอาดแผลไหม้ด้วยสบู่และน้ำสะอาด จากนั้นปิดแผลด้วยผ้าก๊อซหรือผ้าพันแผลที่สะอาด เพราะการปกปิดรอยไหม้และหลีกเลี่ยงการสัมผัสเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อ
  4. หากมีอาการปวด สามารถกินยาแก้ปวด เช่น อะเซตามิโนเฟน ไอบูโพรเฟน หรือนาโพรเซน ได้

นอกจากนี้เรายังสามารถรักษาและบรรเทาอาการจากการโดนน้ำมันลวกได้ แผลไหม้ระดับที่หนึ่งและสอง สามารถรักษาได้ด้วยว่านหางจระเข้ หรือใช้ของใช้ในครัวเรือน เช่น น้ำผึ้ง ที่มีส่วนผสมต้านการอักเสบ เพื่อช่วยในการฟื้นฟูผิว ส่วนโดนน้ำมันลวก ทายาอะไรนั้น อาจใช้ครีมทาแผลไหม้ หรือยาปฏิชีวนะได้ แต่อย่าใช้เนย นม โลชั่น หรือน้ำมันอื่นๆ ทาลงบนแผลไหม้ เพราะทั้งหมดนี้มีส่วนผสมที่สามารถทำให้ความเจ็บปวดแย่ลง และอาจนำไปสู่การติดเชื้อได้ ซึ่งการรักษาเหล่านี้สามารถช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้ชั่วคราว เพราะอาจยังคงมีอาการเจ็บปวดอยู่ แต่โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ เว้นแต่ว่าบริเวณแผลจะใหญ่กว่า 2-3 นิ้ว

โดนน้ำมันลวก ปฐมพยาบาล, โดนน้ำมันลวก ทายาอะไร
Image Credit : freepik.com

แผลไหม้ระดับที่สาม

หากคุณโดนน้ำมันลวกและมีอาการไหม้อย่างรุนแรง คุณจะต้องได้รับการรักษาทันที หากแผลไหม้มีขนาดใหญ่กว่าสองนิ้ว และพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเป็นส่วนสำคัญของร่างกาย รวมถึงมีสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น ปวดมากขึ้น แดง บวม มีไข้หรือมีน้ำมูกไหล อาการแดงและปวดคงอยู่นานกว่า 2-3 ชั่วโมง เพราะแผลไหม้ระดับที่สามส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อทุกชั้นของผิวหนังและต้องพบแพทย์ทันที ให้รีบทำความสะอาดแผลด้วยน้ำเย็นและปิดแผลด้วยผ้าสะอาดจนกว่าจะถึงห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่ใกล้บ้านที่สุด เช่นเดียวกับหากคุณมีอาการเป็นลมแดด จะต้องรีบไปพบแพทย์โดยเร็วเช่นกันนะคะ

เกร็ดสุขภาพ : เมื่อแผลไหม้จากการโดนน้ำมันลวกหายแล้ว ให้ปกป้องบริเวณนั้นจากแสงแดด โดยสวมเสื้อผ้าป้องกัน หรือใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป วิธีนี้จะช่วยลดรอยแผลเป็นได้ เนื่องจากบางครั้งรอยแดงจากแผลไหม้จะคงอยู่นานหลายสัปดาห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีโทนสีผิวคล้ำ

แผลไหม้จากการโดยน้ำมันร้อนลวกในระดับแรกมักจะหายเองโดยไม่ต้องไปหาหมอ แต่หากแผลไหม้ระดับแรกของคุณมีขนาดใหญ่มาก หรือหากเกิดขึ้นกับทารกหรือผู้สูงอายุ แนะนำให้ไปหาหมอในทันทีเพื่อความปลอดภัยนะคะ และหลังจากที่ทุกคนได้รู้ถึงการโดนน้ำมันลวก ปฐมพยาบาลอย่างไรแล้วนั้น อย่าลืมนำเอาวิธีเหล่านี้ไปใช้อย่างถูกต้องด้วย เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดเบื้องต้นได้ นอกจากวิธีปฐมพยาบาลที่เรานำมาแนะนำกันแล้วนั้น ในเว็บไซต์ของเรายังมีวิธีปฐมพยาบาลอื่นๆ มาฝากกันอีก เช่น วิธีแก้อาการสะอึก สามารถคลิกไปอ่านกันเป็นความรู้ได้เลยนะคะ

Featured Image Credit : freepik.com/user20166574

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save