“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
บีทรูท กินสดได้ไหม ? ชวนรู้จักบีทรูท ประโยชน์ โทษ และวิธีการกินที่เกิดประโยชน์สูงสุดกัน !
มีใครชอบกินบีทรูทบ้างมั้ยคะ ? บีทรูทเป็นพืชตระกูลหัวที่มีสีม่วงอมแดง เป็นพืชผักที่มีสีสวยงาม และสามารถนำมารับประทานได้หลากหลาย โดยทั่วไปแล้วเราจะเห็นบีทรูทอยู่ในเมนูสลัดบาร์ หรือเป็นเครื่องเคียงอาหารจานหลักต่างๆ รวมถึงการเอาไปทำน้ำบีทรูทเพื่อให้บริโภคได้ง่ายขึ้น ความจริงแล้ว บีทรูท กินสดได้ไหม ? สามารถเอาไปประกอบอาหารอย่างไรได้บ้าง มีประโยชน์ต่อร่างกายยังไง เรามีคำตอบมาให้แล้วค่ะ
บีทรูท กินสดได้ไหม ? พร้อมเจาะลึกประโยชน์และโทษของบีทรูทกัน !
บีทรูท (Beetroot) มีชื่อเรียกอื่นๆ ว่า ผักกาดฝรั่ง หรือผักกาดแดง เป็นพืชผักประจำเมืองหนาวที่ปลูกกันมากในทางภาคเหนือของไทย เดิมทีแล้วมีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอเรเนียนและแถบยุโรป ซึ่งบริเวณรากหรือหัวของบีทรูทนั้น จะมีสารอาหารสะสมอยู่จำนวนมาก โดยทั่วไปแล้วมีสีแดงเลือดหมู สีม่วงแดง และสีเหลือง เป็นหนึ่งในจำพวกผัก 5 สี ในกลุ่มสีม่วงหรือสีแดงที่มีประโยชน์มากทีเดียว มีรสชาติหวาน รับประทานได้ง่าย บางคนอาจสงสัยว่า บีทรูท กินสดได้ไหม ? บีทรูทนั้นสามารถกินสดได้ค่ะ ซึ่งการกินบีทรูทสดๆ นั้นจะทำให้ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างครบถ้วนมากกว่า แล้วบีทรูทมีประโยชน์ โทษ อย่างไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ
เกร็ดสุขภาพ : บีทรูทมีสารสีแดงที่มีชื่อว่า บีทานิน (Betanin) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่มีส่วนช่วยในการยับยั้งการเกิดโรคมะเร็ง ช่วยลดอัตราการเติบโตของเนื้องอก และยังช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วย และยังมีสารสีม่วงที่ชื่อว่าแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งที่ช่วยต้านการเกิดโรคมะเร็งเช่นกัน นอกจากนี้ บีทรูทยังมีโฟเลตสูงอีกด้วย ซึ่งการทำให้สุกจะทำให้สูญเสียกรดโฟเลตไปประมาณ 25% เลยทีเดียว ดังนั้นแล้ว บีทรูท กินสดได้ไหม ? แนะนำว่ากินสดจะดีกว่าค่ะ
1. อุดมไปด้วยสารอาหาร
บีทรูทนั้นอุดมไปด้วยแร่ธาตุวิตามินที่มีประโยชน์มากมาย เช่น โฟเลต แมงกานีส โพแทสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม โพแทสเซียม วิตามินเอ วิตามินบี และวิตามินซี ทั้งยังมีใยอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพโดยรวมของเรา
2. ช่วยส่งเสริมสุขภาพหัวใจ
บีทรูทมีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจและหลอดเลือดให้แข็งแรง การบริโภคบีทรูทเป็นประจำอาจลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและส่งเสริมระบบหัวใจและหลอดเลือดให้ทำงานอย่างมีประสิทภาพ และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอัมพาตอีกด้วย
3. ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง
ในบีทรูทมีธาตุเหล็กสูง จึงดีต่อระบบเลือด ช่วงป้องกันโรคโลหิตจางได้ และยังมีทองแดงที่ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมธาตุเหล็กไปใช้ได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ ยังมีโฟเลตที่ช่วยบำรุงเลือดได้ การกินสดจะทำให้โฟเลตไม่ถูกทำลายไประหว่างการปรุงที่ใช้ความร้อน ทำให้ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน
4. ช่วยส่งเสริมการทำงานของสมอง
ไนเตรตในบีทรูทช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังสมอง ซึ่งทำให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสารไนเตรตจะเปลี่ยนไนไตรต์ที่จะไปกระตุ้นระบบประสาทของเรา ซึ่งช่วยให้สมองและระบบประสาททำงานได้ดีขึ้นนั่นเอง ทั้งนี้ ยังช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมอีกด้วย
5. ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบลำไส้
บีทรูทเป็นผักที่มีใยหาร ในบีทรูท 100 กรัมมีใยอาหาร 2.8 กรัม ซึ่งช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบลำไส้ ทำให้ลำไส้เคลื่อนตัวได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันอาการท้องผูก ทำให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น การกินบีทรูทร่วมกับกับผักผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง จะช่วยเรื่องระบบขับถ่ายได้ดีทีเดียวค่ะ
6. ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคตับ
บีทรูทนั้นมีสรรพคุณช่วยบำรุงตับ ช่วยส่งเสริมการทำงานของตับ ซึ่งในบีทรูทมีสารบีทานีนที่ช่วยป้องกันการสะสมไขมันในตับ และช่วยลดการสะสมสารพิษ ดังนั้น การกินบีทรูทจึงช่วยส่งเสริมสุขภาพตับของเราได้ ใครที่เป็นโรคไขมันพอกตับ อาหารที่ควรกินก็คือบีทรูทเลยค่ะ
7. ต้านการอักเสบต่างๆ ในร่างกาย
สารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในบีทรูทมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ซึ่งอาจช่วยลดการอักเสบในร่างกายและสนับสนุนสุขภาพโดยรวม ทั้งนี้ ยังช่วยแก้อาการเมื่อยล้าได้อีกด้วย เนื่องจากสารไนเตรตที่มีอยู่ในบีทรูทจะช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้ออกซิเจนสามารถไปเลี้ยงเซลล์กล้ามเนื้อได้ดีขึ้น ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดีขึ้น จึงช่วยบรรเทาอาการเมื่อยล้าได้
เกร็ดสุขภาพ : นอกจากจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพกายแล้ว ยังมีประโยชน์ในแง่ของความงามอีกด้วย บีทรูทส่วยลดการอักเสบของผิวหนัง ช่วยบรรเทาอาการสิวอักเสบ สิวอุดตัน และด้วยเพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง การกินบีทรูทเป็นประจำหรือกินน้ำบีทรูทคั้นสดก็จะช่วยป้องกันการเกิดริ้วรอยและช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใสได้
ข้อควรระวังในการกินบีทรูท มีอะไรบ้าง ?
ได้ทราบกันไปแล้วว่า บีทรูท กินสดได้ไหม ? และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง โดยทั่วไปแล้วบีทรูทมีความปลอดภัยในการบริโภค แต่อาจทำให้ปัสสาวะและอุจจาระมีสีชมพูได้ ซึ่งเป็นอาการที่เรียกว่า Beeturia ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด ทั้งนี้ มีข้อควรระวังในการกินบีทรูทดังนี้
- อาจไม่เหมาะกับผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาล : ในบีทรูท 100 กรัม มีน้ำตาลประมาณ 7 กรัม ผู้ที่ต้องควบคุมการบริโภคน้ำตาลเช่น ผู้ที่เป็นเบาหวานหรือมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ควรจำกัดปริมาณในการกินบีทรูท
- ไม่เหมาะกับผู้ที่มีความดันต่ำ : ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำไม่ควรกินบีทรูทเป็นประจำ เนื่องจากอาจทำให้ความดันโลหิตยิ่งลดต่ำลงได้
- ความเสี่ยงนิ่วในไต : บีทรูทมีสารออกซาเลตสูง ซึ่งสามารถทำให้เกิดนิ่วในไตได้ หามีประวัติเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในไต หรือเป็นนิ่วในไต ควรงดการกินบีทรูท
- ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร : บีทรูทมีสาร FODMAPs ในรูปของน้ำตาลฟรุกแทน (Fructan) ที่ช่วยให้แบคทีเรียในลำไส้เติบโต ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการท้องเสียหรือความผิดปกติเกี่ยวกับลำไส้ในบางรายที่ร่างกายมีการตอบสนองไว เช่น ผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวน
วิธีเตรียมบีทรูทเพื่อให้พร้อมรับประทาน
ได้ทราบกันไปแล้วว่าบีทรูทสามารถกินแบบสดได้ แล้วบีทรูท กินอย่างไร ? หากใครต้องการนำเอาบีทรูทไปประกอบอาหารต่างๆ ก็มีวิธีการเตรียมดังนี้ค่ะ
- เริ่มต้นด้วยการล้างบีทรูทให้สะอาดด้วยวิธีล้างผักอย่างถูกต้อง เพื่อขจัดสิ่งสกปรกหรือเศษดินต่างๆ ออก
- ใช้มีดหรือกรรไกรตัดปลายบีทรูทออก
- ปอกเปลือกบีทรูทออกให้เรียบร้อย
- หากต้องการปรุงสุก สามารถทำให้สุกโดยการเอาบีทรูทไปต้ม หากต้มทั้งลูกจะใช้เวลาประมาณ 30 – 45 นาที หากหั่นเป็นแว่นๆ หรือหั่นเป็นสีเหลี่ยมลูกเต๋า จะใช้เวลาประมาณ 15 – 20 นาที สามารถเช็กได้ว่าสุกดีแล้วหรือยังโดยการเอาส้อมจิ้ม หากบีทรูทนิ่มจนสามารถใช้ส้อมหรือมีดจิ้มลงไปและดึงออกมาได้อย่างง่ายดาย แสดงว่าบีทรูทสุกได้ที่แล้ว
- หากต้องการกินแบบสด เมื่อปอกเปลือกเสร็จแล้วสามารถหั่นบีทรูทเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า หรือขูดบีทรูทเป็นฝอยๆ แล้วนำไปใส่ในสลัดหรือนำไปประกอบอาหารเมนูต่างๆ ได้ตามต้องการ
- บีทรูทสามารถย่างในเตาอบได้ เพียงโรยด้วยน้ำมันมะกอก ปรุงรสด้วยเกลือและพริกไทย แล้วย่างที่อุณหภูมิ 400°F (200°C) ประมาณ 45 นาทีหรือจนกว่าจะนิ่ม
ไอเดียเมนูแนะนำจากบีทรูท กินได้หลากหลาย คุณประโยชน์จัดเต็ม
- สลัดบีทรูท : บีทรูท กินอย่างไร ? เริ่มต้นด้วยสลัดบีทรูทแสนสดชื่น หั่นบีทรูทสดเป็นชิ้นบางๆ หรือจะขูดเป็นฝอยๆ ก็ได้ ตามด้วยผักสลัดตามชอบ ใส่วอลนัทและเฟต้าชีสลงไป ราดด้วยน้ำสลัดบัลซามิก เป็นสลัดบีทรูทง่ายๆ ที่ดีต่อสุขภาพ
- ซุปบีทรูท : บีทรูทสามารถเอามาทำเป็นซุปแสนอร่อยได้ เริ่มจากการผัดหัวหอม กระเทียม และหัวบีทรูทหั่นลูกเต๋าในหม้อ เพิ่มน้ำสต๊อกผัก เคี่ยวจนผักต่างๆ นิ่ม ปรุงรสด้วยเกลือ พริกไทย และนำเอาไปปั่นจนเนื้อเนียนละเอียด เทใส่หม้อแล้วต้มจนเดือดอีกครั้ง ก็จะได้ซุปบีทรูทแสนอร่อย
- รีซอตโต้บีทรูท : มาทำเมนูอาหารอิตาลีโดยนำเอาบีทรูทและหัวหอมหั่นลงไปผัดในเนย จากนั้นใส่ข้าว Arborio และผัดจนเมล็ดข้าวใส ค่อยๆ ใส่น้ำสต๊อกผักลงไป ผัดอย่างต่อเนื่องจนข้าวสุก ปิดท้ายด้วยการโรยพาร์เมซานชีสขูด ปรุงรสด้วยเกลือ ปิดท้ายด้วยการใส่สมุนไพรอย่างออริกาโน่และโรสแมรี่เพื่อเพิ่มกลิ่นหอม
- บีทรูทฮัมมูส : บีทรูทสามารถเอามาดัดแปลงเป็นเมนูเครื่องจิ้มอย่างฮัมมูสได้ ผสมหัวบีทรูทต้มสุกกับถั่วลูกไก่ต้มสุก ซอสทาฮินี กระเทียม น้ำมะนาว และน้ำมันมะกอก เอาไปปั่นจนเนียน ปรุงรสด้วยเกลือ ยี่หร่า และปาปริก้า เสิร์ฟพร้อมขนมปังพิต้าหรือผักจิ้มอื่นๆ
- สมูทตี้บีทรูท : บีทรูท กินอย่างไร ? สามารถเอามาทำเป็นสมูทตี้ดื่มเพื่อความสดชื่นได้ โดยนำมาปั่นรวมกับส้ม แครอท ทับทิม แอปเปิ้ล หรือผักผลไม้อื่นๆ ตามชอบ ก็จะได้สมูทตี้สีแดงสวยที่มากด้วยประโยชน์เพื่อสุขภาพ
สำหรับคนที่สงสัยว่า บีทรูท กินสดได้ไหม ? ก็คงจะได้คำตอบไปแล้วนะคะ บีทรูทนั้นสามารถกินได้ทั้งแบบสดและแบบสุก ซึ่งเอามาประกอบอาหารได้หลากหลาย และยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอยู่หลายประการ หากกินบีทรูทเป็นประจำร่วมกับการรับประทานอาหารอื่นๆ ให้ครบ 5 หมู่อย่างหลากหลายในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะช่วยส่งเสริมให้มีสุขภาพที่แข็งแรงได้ ทั้งนี้ ก็มีข้อควรระวังในการรับประทานอยู่เช่นกัน ดังนั้น ในบางคนจึงต้องระมัดระวังการกินบีทรูท เช่น ผู้ที่มีความดันต่ำ ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นนิ่วในไต รวมถึงผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารบางประการ จะได้ปลอดภัยต่อร่างกายนะคะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : stubbornseed.com, justbeetit.com, bbcgoodfood.com
Featured Image Credit : freepik.com/Racool_studio
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ