X

ฝุ่นเกิดจากอะไร ? รู้ต้นตอของฝุ่น แล้วดูแลสุขภาพให้ดีกัน !

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

ฝุ่นเกิดจากอะไร ? รู้ต้นตอของฝุ่น แล้วดูแลสุขภาพให้ดีกัน !

เราทุกคนรู้จักฝุ่น ทั้งยังรู้ด้วยว่าฝุ่นทำให้เกิดโรคและความเจ็บป่วยมากมาย โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด ภูมิแพ้ แพ้ฝุ่น รวมถึงยังเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ อีกด้วย เช่น มะเร็งปอด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ หรือโรคเกี่ยวกับระบบหายใจอื่นๆ ทั้งนี้ มีใครรู้บ้างว่า ฝุ่นเกิดจากอะไร ?  ในบทความนี้ จะชวนมาดูต้นตอของการเกิดฝุ่น เพื่อที่จะได้ดูแลสุขภาพกันค่ะ

ฝุ่นเกิดจากอะไร ? มาดูกัน !

ฝุ่นเกิดจากอะไร, ฝุ่น pm 2.5 เกิดจากอะไร
Image Credit : freepik.com

ฝุ่น คืออนุภาคเล็กๆ ของของแข็งที่สะสมอยู่บนพื้นผิวต่างๆ หรือลอยอยู่ในอากาศ ฝุ่นเกิดจากอะไร ? อาจเกิดเพราะองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น ดิน เกสรดอกไม้ เซลล์ผิวหนัง สะเก็ดผิวหนังของสัตว์เลี้ยง และมลพิษอื่นๆ ทั้งในร่มและกลางแจ้ง ฝุ่นเป็นปัญหากวนใจในครัวเรือนทั่วไปที่ต้องทำความสะอาดเป็นประจำเพื่อรักษาความสะอาดและสุขอนามัย สาเหตุทั่วไปของการเกิดฝุ่นได้แก่

  • แหล่งที่มาตามธรรมชาติ : ฝุ่นเกิดจากอะไร ? ฝุ่นอาจมาจากแหล่งธรรมชาติ เช่น การพังทลายของดิน ภูเขาไฟระเบิด และพายุฝุ่น ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเหล่านี้ทำให้เกิดอนุภาคเล็กๆ ลอยสู่อากาศ ซึ่งสุดท้ายจะกลายเป็นฝุ่น
  • กิจกรรมของมนุษย์ : ฝุ่นเกิดจากอะไร ? กิจกรรมหลายอย่างของมนุษย์มีส่วนทำให้เกิดฝุ่น เช่น งานก่อสร้างและการรื้อถอน การทำเหมืองแร่ และการปฏิบัติทางการเกษตร อาทิ การไถนาและการเก็บเกี่ยว การเผาที่เตรียมทำการเกษตร การเผาขยะ ฯลฯ ล้วนสามารถปล่อยฝุ่นจำนวนมากขึ้นสู่อากาศได้
  • ปัจจัยภายในอาคาร : ฝุ่นยังสะสมอยู่ในอาคารได้เนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น การระบายอากาศไม่เพียงพอ การมีสัตว์เลี้ยงอยู่ และการใช้วัสดุหรือผลิตภัณฑ์บางอย่างที่ก่อให้เกิดอนุภาคฝุ่น เช่น พรม ผ้า ทั้งยังเป็นแหล่งสะสมของฝุ่นอีกด้วย
  • ฝุ่นที่มาจากเครื่องไฟฟ้า : ฝุ่นเกิดจากอะไรได้อีกบ้าง ? เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องปรับอากาศหรือพัดลมที่ไม่ได้ทำความสะอาดเป็นเวลานานก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดฝุ่น และทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจายมากขึ้นอีกด้วย

เกร็ดสุขภาพ : อนุภาคฝุ่นมักจะเบาและเล็กพอที่จะลอยอยู่ในอากาศได้ สิ่งเหล่านี้สามารถถูกพัดพาไปตามกระแสลมและแพร่กระจายไปทั่วสภาพแวดล้อมในร่มและกลางแจ้งได้อย่างง่ายดาย และเมื่อเวลาผ่านไป ฝุ่นก็จะเกิดการจับตัวกันและสะสมเป็นฝุ่นปริมาณมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ไม่ได้ทำความสะอาดหรือระบายอากาศเป็นประจำ สามารถเกาะบนพื้นผิว เฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ดูสกปรกหรือส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานได้

อันตรายที่มากับฝุ่น มีอะไรบ้าง ?

ฝุ่นเกิดจากอะไร, ฝุ่น pm 2.5 เกิดจากอะไร
Image Credit : freepik.com
  • ทำให้โรคภูมิแพ้กำเริบ เช่น เลือดกำเดาไหลเพราะภูมิแพ้ มีอาการไอ จาม มีน้ำมูก เจ็บคอ มีเสมหะ และเป็นไข้
  • เกิดการระคายเคืองบริเวณดวงตา มีอาการตาแดงเมื่อแผ้ฝุ่น หรือทำให้เกิดผื่นคันตามตัว
  • ทำให้ระบบทางเดินหายใจทำงานผิดปกติ หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก หรือมีเสียงหวีดตอนหายใจ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคหัวใจจะมีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายเพิ่มมากขึ้น 
  • ทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบหรือปอดบวม
  • ฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย ทั้งระบบทางเดินหายใจ ระบบเลือด หัวใจ และยังเป็นอันตรายต่อสมองอีกด้วย 
  • การสัมผัสกับฝุ่นบางประเภท เช่น ฝุ่นที่มีแร่ใยหินหรืออนุภาคตะกั่ว อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างร้ายแรงได้ สิ่งสำคัญคือต้องใช้ความระมัดระวังและขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเมื่อต้องรับมือกับฝุ่นอันตราย
  • หากในปอดมีการสะสมของไรฝุ่น จะทำให้เนื้อปอดเกิดการระคายเคือง ปอดจะทำงานหนักขึ้นและทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง และอาจเสี่ยงต่อโรคพังผืดปอดเรื้อรังที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

เส้นเลือดหัวใจตีบ อาการเป็นยังไง ?

เส้นเลือดหัวใจตีบ เกิดจากอะไร, เส้นเลือดหัวใจตีบ อาการ
Image Credit : freepik.com
  • รู้สึกเจ็บแน่นหน้าอก โดยเฉพาะเจ็บตรงกลางหน้าอกเหมือนถูกของหนักทับ อาจร้าวไปที่คอ กราม ไหล่ด้านซ็าย หรือต้นแขนด้านใน ซึ่งมักเป็นขณะออกแรงทำกิจกรรม
  • เหนื่อยง่ายขณะออกแรงหรือขณะออกกำลังกาย ซึ่งเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันภายใน 1 – 2 สัปดาห์ หรือเกิดขึ้นอย่างเรื้อรังนานกว่า 3 สัปดาห์ขึ้นไป
  • นอนราบไม่ได้ รู้สึกแน่น อึดอัด หายใจเข้าได้ไม่เต็มปอด 
  • หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ เป็นลม ร่วมกับมีอาการแน่นหน้าอก 
  • เส้นเลือดหัวใจตีบ อาการที่พบได้อีกคือ เหงื่อแตก ใจสั่น กระสับกระส่าย
  • วูบ หมดสติหรือหัวใจหยุดเต้น

เกร็ดสุขภาพ : ไรฝุ่นเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก มีขนาดตัวเพียง 0.1 – 4 มิลลิเมตร สามารถเจริญเติบโตได้ในฝุ่น โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมที่ชื้น ไรฝุ่นกินเซลล์ผิวที่ตายแล้วเป็นอาหาร เช่น รังแค เศษผิวหนัง และอาจมีส่วนทำให้เกิดอาการแพ้และโรคหอบหืดได้ ส่วนใหญ่เราจะพบไรฝุ่นได้ในที่นอน หมอน ผ้าห่ม พรม โซฟาที่เป็นผ้า และตุ๊กตาที่เป็นขนๆ เป็นต้น

ฝุ่น pm 2.5 เกิดจากอะไร ?

ฝุ่นเกิดจากอะไร, ฝุ่น pm 2.5 เกิดจากอะไร
Image Credit : freepik.com

นอกจากฝุ่นทั่วๆ ไปที่ทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพแล้ว ฝุ่น PM 2.5 หรือที่เรียกว่าฝุ่นละอองขนาดเล็กก็เป็นอันตรายต่อร่างกายเช่นเดียวกัน และยังทำให้เกิดโรคร้ายแรงต่อสุขภาพอีกด้วย เช่น โรคมะเร็งปอด โรคปอดรั่ว เป็นต้น แล้ว ฝุ่น pm 2.5 เกิดจากอะไร ? สาเหตุหลักของการเกิดฝุ่น pm 2.5 มาจากการเผาไหม้ต่างๆ รวมถึงกระบวนการทางอุตสาหกรรม การปล่อยมลพิษจากยานพาหนะ โรงไฟฟ้า และเครื่องทำความร้อนในที่อยู่อาศัย ปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ ฝุ่นจากสถานที่ก่อสร้าง ไฟป่า และกิจกรรมทางการเกษตร อนุภาคขนาดเล็กเหล่านี้ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 ไมโครเมตรหรือน้อยกว่า สามารถคงอยู่ในอากาศได้เป็นเวลานาน และก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพเมื่อสูดดม

สิ่งสำคัญคือ ต้องใช้มาตรการเพื่อลดการสัมผัสฝุ่น PM 2.5 เช่น การสวมหน้ากาก การใช้เครื่องฟอกอากาศ และการอยู่ในอาคารเมื่อคุณภาพอากาศไม่ดี หากมีการสูดเอาฝุ่น pm 2.5 เข้าไปเป็นเวลานานก็จะเกิดการสะสมในปอด และทำให้เกิดเป็นโรคร้ายแรงได้

ชวนดูวิธีกำจัดฝุ่น เพื่อการมีสุขภาพที่ดี

ฝุ่นเกิดจากอะไร, ฝุ่น pm 2.5 เกิดจากอะไร
Image Credit : freepik.com

ตอนนี้ก็ได้ทราบแล้วว่า ฝุ่นทั่วๆ ไป และฝุ่น pm 2.5 เกิดจากอะไร การรู้ต้นตอสาเหตุของการเกิดฝุ่นอาจช่วยให้เราป้องกันและดูแลตัวเองได้ดีขึ้น เพราะฝุ่นส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราหลายประการ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว ทั้งนี้ การทำความสะอาดที่อยู่อาศัยอย่างสม่ำเสมอและมีวิธีจำกัดฝุ่นได้อย่างเหมาะสมก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและความเจ็บป่วยที่มาจากฝุ่นได้ ทำได้อย่างไรไปดูกันเลยค่ะ

  1. การทำความสะอาดเป็นประจำ : ปัดกวาดเช็ดถูบ้านป็นประจำ หรืออาจใช้เครื่องดูดฝุ่นทำความสะอาดบ้าน หรือใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ที่อยู่ในบ้านเป็นประจำ ซึ่งจะช่วยขจัดฝุ่นละอองและป้องกันไม่ให้เกิดการสะสมของฝุ่นได้
  2. ใช้พรมเช็ดเท้า : วางพรมเช็ดเท้าไว้ที่ทางเข้าบ้านเพื่อดักฝุ่นและสิ่งสกปรกจากรองเท้า ซึ่งจะช่วยลดปริมาณฝุ่นที่นำเข้ามาในพื้นที่อยู่อาศัยของเรา ทั้งนี้ ก็ควรหมั่นทำความสะอาดพรมเช็ดเท้าเป็นประจำด้วยนะคะ จะได้ไม่กลายเป็นที่สะสมของฝุ่นค่ะ 
  3. ปิดหน้าต่างไว้ : ปิดหน้าต่างไว้โดยเฉพาะในวันที่มีลมแรง เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นเข้ามาในบ้าน
  4. เปลี่ยนตัวกรองอากาศอย่างสม่ำเสมอ : เปลี่ยนตัวกรองอากาศในระบบ HVAC เป็นประจำเพื่อดักจับฝุ่นละอองและปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคาร
  5. ใช้อุปกรณ์ปัดฝุ่นที่มีประสิทธิภาพ : ใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์หรือไม้ปัดฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิตเมื่อปัดฝุ่น เครื่องมือเหล่านี้ดักจับฝุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อเทียบกับไม้ขนไก่หรือแปรงปัดฝุ่นทั่วๆ ไป
  6. ไม่ปล่อยให้บ้านรก : เก็บของให้เป็นระเบียบอยู่เสมอและลดจำนวนสิ่งของและของตกแต่งบ้านในบ้านให้มีน้อยที่สุด เนื่องจากสิ่งเหล่านี้สามารถสะสมฝุ่นได้ ทั้งยังทำให้ทำความสะอาดบ้านได้ง่ายขึ้นด้วย
  7. รักษาความชื้นภายในบ้านให้เหมาะสม : ฝุ่นมีแนวโน้มที่จะเกาะตัวมากขึ้นในสภาพแวดล้อมที่แห้ง ใช้เครื่องทำความชื้นเพื่อรักษาระดับความชื้นในบ้านให้อยู่ในระดับปานกลาง ประมาณ 40-50% อาจลดการสะสมของฝุ่นได้
  8. ซักผ้าปูที่นอนเป็นประจำ: ไรฝุ่นสามารถสะสมในผ้าปูที่นอนได้ ดังนั้นควรซักผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน และผ้าห่มเป็นประจำเพื่อลดระดับฝุ่น รวมถึงผ้าม่าน ผ้าคลุมโซฟา หมอนอิง ตุ๊กตา และอื่นๆ ด้วย

ฝุ่นเกิดจากอะไรบ้างก็ได้คลายข้อสงสัยกันไปแล้ว ทั้งนี้ ฝุ่นอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ และทำให้อาการต่างๆ แย่ลงได้ โรคและปัญหาสุขภาพบางประการที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสฝุ่นก็ได้แก่ โรคภูมิแพ้ หอบหืด การติดเชื้อทางเดินหายใจ หลอดลมอักเสบ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) และโรคปอดอักเสบ นอกจากนี้ ไรฝุ่นซึ่งมักพบในฝุ่นในครัวเรือนอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ สิ่งสำคัญคือต้องรักษาสภาพแวดล้อมที่สะอาดอยู่เสมอ และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปราศจากฝุ่น – มลพิษทางอากาศเพื่อลดความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพเหล่านี้ค่ะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : phyathai.com, health.ny.gov, bumrungrad.com

Featured Image Credit : freepik.com

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save