X

โรคกลัวการอยู่คนเดียวเป็นยังไง ?! ชวนรู้จักและรักษากัน !

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

โรคกลัวการอยู่คนเดียวเป็นยังไง ?! ชวนรู้จักและรักษากัน !

โรคกลัวการอยู่คนเดียว, แบบทดสอบโรคกลัวการอยู่คนเดียว

โรคกลัวการอยู่คนเดียว (Monophobia) คืออะไร?

โรคกลัวการอยู่คนเดียว คือความกลัวการอยู่คนเดียว การอยู่คนเดียวทำให้คนๆหนึ่งรู้สึกไม่ปลอดภัย วิตกกังวล และหดหู่

Monophobia ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม autophobia, eremophobia และ isolophobia Monophobia เป็นความหวาดกลัวที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งเกี่ยวข้องกับความกลัวต่อสถานการณ์บางอย่าง เมื่อต้องเผชิญกับความรู้สึกโดดเดี่ยว คนที่เป็นโรคกลัวการอยู่คนเดียวจะรู้สึกวิตกกังวลอย่างมาก

โรคกลัวการอยู่คนเดียว (Monophobia) คืออะไร?

โรคกลัวการอยู่คนเดียว, แบบทดสอบโรคกลัวการอยู่คนเดียว

ความกลัวการอยู่คนเดียวอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ บางครั้งอาจเกิดจากเหตุการณ์ที่กระทบจิตใจเป็นอย่างมาก เช่น ถูกทอดทิ้งให้อยู่คนเดียวและต้องเผชิญกับเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ที่ร้ายแรง รู้สึกว่าถูกทอดทิ้งในช่วงชีวิตหนึ่งและนำมาเชื่อมโยงกับการไม่มีใครรัก หรืออาจเกิดจากกระบวนการทำงานของสมอง ความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่ไม่สามารถควบคุม จัดการตัวเองได้ สำหรับคนที่กลัวการอยู่คนเดียวจะมีแนวโน้มไม่มั่นใจในตนเอง มีความเชื่อที่ว่า ตนเองไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้โดยลำพัง และเชื่อว่าการอยู่คนเดียวนั้นไม่ปลอดภัย หรือบางทีอาจไม่เคยเรียนรู้ที่จะสบายใจเมื่ออยู่คนเดียว

เกร็ดสุขภาพ : หากคุณต้องอยู่คนเดียว สิ่งสำคัญคือคุณต้องเรียนรู้ การอยู่คนเดียวอย่างมีความสุข คุณสามารถเรียนรู้ที่จะอยู่คนเดียวได้ดีขึ้นโดยไม่เหงา และเมื่อคุณเอาชนะความกลัวที่จะอยู่คนเดียวได้ คุณก็จะมีความเป็นอิสระและมั่นใจมากขึ้นในทันที อันที่จริงการเอาชนะความกลัวความเหงามีข้อดีมากมาย เพราะเมื่อคุณอยู่คนเดียว คุณจะมีเวลาคิดทบทวนสิ่งต่าง ๆอย่างสงบ และหลายครั้งเรามักจะมีความคิดที่ดีผุดขึ้นมาในช่วงเวลาที่เราอยู่กับตัวเองอย่างสงบ จำไว้ว่าการอยู่คนเดียวไม่ได้แปลว่าต้องเหงาเสมอไป

อาการของโรคเป็นอย่างไร

โรคกลัวการอยู่คนเดียว, แบบทดสอบโรคกลัวการอยู่คนเดียว

สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้แนะนำแบบทดสอบโรคกลัวการอยู่คนเดียวและแนวทางสำหรับการวินิจฉัยโรคดังกล่าวไว้ว่า

  • มีความกลัวที่ไม่มีเหตุผลหรือแสดงความกลัวมากกว่าที่ควรจะเป็น เมื่ออยู่ในเหตุการณ์หรือสถานการณ์เฉพาะ เช่น การอยู่คนเดียว
  • เมื่อเผชิญกับอันตรายจะตอบสนองด้วยความวิตกกังวลอย่างรวดเร็วและรุนแรงกว่าที่ควรจะเป็น
  • พยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้ต้องอยู่คนเดียว
  • เกิดความทุกข์อย่างรุนแรงเมื่อต้องอยู่คนเดียว
  • เกิดความกลัวจนกระทบกับชีวิตประจำวัน เช่น ไม่สามารถไปโรงเรียน หรือไปทำงานได้ มีปัญหาในการเข้าร่วมสังคม
  • เกิดความกลัวนานกว่า 6 เดือน

โดยปกติแล้วความหวาดกลัวหรือความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นเป็นเวลานานจะมีผลกระทบร้ายแรงต่อคุณภาพชีวิต และเมื่อความหวาดกลัวนั้นรุนแรงมากขึ้นคุณควรได้รับการประเมินด้วยแบบทดสอบโรคกลัวการอยู่คนเดียวและขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

วิธีการรักษา

โรคกลัวการอยู่คนเดียว_, แบบทดสอบโรคกลัวการอยู่คนเดียว

โรคกลัวการอยู่คนเดียวสามารถเข้ารับการรักษาได้เหมือนกับโรคอื่นๆ เช่น โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคเครียด แต่สำหรับการรักษาความกลัวการอยู่คนเดียวจะเน้นที่การลดความกลัว และความวิตกกังวล และค่อย ๆ สร้างความสมารถในการเป็นตัวของตัวเอง วิธีการที่แพทย์ใช้ในการรักษาก็มีหลายวิธีดังนี้

  1. การรักษาด้วยยา

แพทย์อาจสั่งยาเพื่อช่วยควบคุมอาการของโรค ซึ่งอาจรวมถึงยาต้านความวิตกกังวล เช่น benzodiazepines หรือ beta-blockers หรือยากล่อมประสาท เช่น selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs)

  1. การทำจิตบำบัด

การทำจิตบำบัดเป็นการรักษาโดยจิตแพทย์ หรือ นักจิตวิทยา โดยจะใช้แบบทดสอบโรคกลัวการอยู่คนเดียวเพื่อประเมินอาการและใช้เทคนิคการบำบัดความคิดและพฤติกรรม CBT(Cognitive Behavioral Therapy ) CBT ช่วยให้คุณเรียนรู้วิธีสังเกตและท้าทายความคิดอัตโนมัติที่เกี่ยวข้องกับความหวาดกลัวของคุณ สิ่งนี้อาจช่วยให้คุณระบุช่วงเวลาที่ความวิตกกังวลของคุณเกินสัดส่วนกับอันตรายที่แท้จริงของการอยู่คนเดียว

วิธีรับมือกับการอยู่คนเดียว

โรคกลัวการอยู่คนเดียว_, แบบทดสอบโรคกลัวการอยู่คนเดียว

“ยิ่งเราเลือกที่จะไม่มองดูความเหงามากเท่าไหร่ ความเหงาก็จะเข้ามาครอบงำจิตใจเรามากขึ้นเท่านั้น” Sokoll-Ward กล่าว  บทความนี้ขอแนะนำ 5 วิธีรับมือกับการอยู่คนเดียว

  1. ให้เวลากับตัวเอง

โดยธรรมชาติแล้วเมื่อต้องอยู่คนเดียว เราจะเป็นนักคิด ที่ไม่หยุดนิ่ง ความคิดมากมายจะวิ่งเข้าหาเราเมื่อเราอยู่คนเดียว ดังนั้นการทำสมาธิจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเมื่อเรามีสมาธิ เราจะรับมือกับความคิดฟุ้งซ่านได้ดีขึ้น 

การทำสมาธิอาจเป็นเรื่องยากสำหรับใครหลายคน ในช่วงแรกแนะนำให้เริ่มจากการทำสมาธิในระยะเวลาสั้น ๆ สัก 5-10 นาที

  1. ค้นหาความสุข

ลองนึกภาพตอนที่คุณยังเด็ก อะไรทำให้คุณมีความสุข  เมื่อเราต้องอยู่คนเดียว ให้ลองมองหากิจกรรมที่เราทำแล้วมีความสุข เพื่อต่อสู้กับความรู้สึกเหงา เช่น การออกกำลังกาย นอกจากจะทำให้รู้สึกดีแล้วยังช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีและดูดีด้วย การที่เรามีกิจกรรมให้ทำ และพยายามจดจ่อกับการทำบางสิ่งบางอย่าง ที่ทำให้มีความสุขจะช่วยลดความเหงา และความรู้สึกไม่ดีเมื่อต้องอยู่คนเดียวได้

  1. โทรหาเพื่อน หรือคนที่คุณไว้ใจ

เมื่อคุณรู้สึกเหงา โดดเดี่ยว ทุกข์ใจจากการอยู่คนเดียว ลองโทรหาเพื่อน หรือคนที่คุณไว้ใจ เพื่อพูดคุย แบ่งปันเรื่องราวความอึดอัดใจให้พวกเขาฟัง การได้ระบายความอึดอัดใจออกไปบ้างจะช่วยทำให้คุณรู้สึกเบา สบายขึ้น เราทุกคนต่างต้องการคนรับฟัง

  1. คุยกับคนแปลกหน้า

การเปิดใจรับบุคคลภายนอกเข้ามาในชีวิตบ้าง สามารถทำให้คุณฝึกทักษะการเข้าสังคมได้เป็นอย่างดี ลองพูดคุยกับคนแปลกหน้าดูบ้าง อาจเริ่มจาก คนที่คุณพบเจอบ่อย ๆ เช่น พนักงานชงกาแฟร้านที่คุณซื้อประจำ หรือพี่ รปภ หน้าหมู่บ้าน หน้าบริษัท และค่อย ๆ พัฒนาไปเป็นบุคคลอื่นที่คุณอาจไม่คุ้นชิน 

การเปิดใจรับบุคคลอื่นเข้ามาในชีวิตบ้าง นอกจากจะได้ฝึกทักษะการเข้าสังคมแล้ว อาจทำให้คุณได้พบเพื่อนใหม่ และไม่กลัวการอยู่คนเดียวอีกต่อไป

  1. พูดคุยกับจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

หากความกลัวการอยู่คนเดียวของคุณรุนแรง หรือส่งผลต่อชีวิตประจำวันของคุณ วิธีที่ดีที่สุดคือไปปรึกษาจิตแพทย์ที่ไหนก็ได้คุณรู้สึกเชื่อใจ โรคกลัวคนเดียวเป็นภาวะที่รักษาได้ และการขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตสามารถช่วยคุณจัดการกับความหวาดกลัวการอยู่คนเดียวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เกร็ดสุขภาพ : การรู้สึกว่าไม่สามารถอยู่คนเดียวได้อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ เพราะบ่อยครั้งคนที่เป็นโรคกลัวการอยู่คนเดียวจะมีพฤติกรรมผูกติดกับคนรัก และเมื่อรู้สึกว่าตนเองถูกทอดทิ้งจะแสดงอารมณ์โกรธที่รุนแรง ดังนั้น หากคุณกำลังเผชิญกับความกลัวการอยู่คนเดียว และต้องการจัดการกับความรู้สึกเหล่านั้น สิ่งสำคัญคือคุณต้องกล้าที่จะเผชิญหน้ากับความกลัว เรียนรู้และลองรับมือกับความกลัวด้วยตัวเอง และต้องเข้ารับการรักษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นด้วยการบำบัดและการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต แพทย์อาจสั่งยาที่รักษาความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า ยาเหล่านี้สามารถปรับปรุงอาการของคุณและช่วยให้คุณทำงานในชีวิตประจำวันได้ อาจใช้เวลาถึงสามเดือนในการใช้ยาเพื่อให้อาการของคุณดีขึ้น ส่วนใครที่หากลองเช็กอาการแล้วพบว่าเรากำลังเข้าข่ายกลัวการเข้าสังคม แนะนำให้ไปพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เพื่อหาแนวทางในการรักษาต่อไป เพื่อสามารถกลับมาใช้ชีวิตเข้าสังคมได้ตามปกติค่ะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : glamour.com, verywellmind.com, psychologistanywhereanytime.com

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save