X

ชวนเช็กตัวเองด้วย แบบทดสอบภาวะสิ้นยินดี ฉันแค่รู้สึกเซ็ง หรือจริงๆ แล้วฉันป่วยกันแน่ !

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

ชวนเช็กตัวเองด้วย แบบทดสอบภาวะสิ้นยินดี ฉันแค่รู้สึกเซ็ง หรือจริงๆ แล้วฉันป่วยกันแน่ !

จะเป็นอย่างไรถ้าความสุขของเราหายไป ? หรือรู้สึกว่าไม่มีสิ่งใดที่สามารถทำให้มีความสุขได้เลย มองโลกเป็นสีเทาหม่นหมอง มองไปทางไหนก็ว่างเปล่า เฉยๆ กับทุกอย่าง รู้สึกเฉื่อยชา กินข้าวก็ไม่อร่อย ดูหนังก็ไม่สนุก เพื่อนเล่นตลกเราก็ไม่ขำ อะไรที่เคยชอบทำก็ไม่รู้สึกสนุกหรือมีความสุขเลย แถมยังไม่อยากคุยกับใคร ไม่อยากเจอใคร อยากอยู่เฉยๆ ไม่แน่ว่าเราอาจกำลังอยู่ในภาวะสิ้นยินดี หรือ Anhedonia อยู่ก็ได้ ในบทความนี้ เพื่อสุขภาพจะพาคุณไปรู้จักกับอาการสิ้นยินดี พร้อมชวนเช็กตัวเองด้วยแบบทดสอบให้ชี้ชัดกันไปว่า เรามีอาการ Anhedonia หรือเพียงแค่รู้สึกเบื่อๆ เซ็งๆ กับชีวิตช่วงนี้เฉยๆ กันแน่ ?

Anhedonia คืออะไร ? ชวนเช็กตัวเองผ่าน แบบทดสอบภาวะสิ้นยินดีกัน !

ภาวะสิ้นยินดี แบบทดสอบ, ภาวะสิ้นยินดี
Image Credit : Unsplash

ในโลกที่เต็มไปด้วยสีสันและความสุข บางครั้งเราอาจพบว่าตัวเองกำลังยืนอยู่ในโลกที่ไร้สี ภาวะสิ้นยินดี หรือ Anhedonia เป็นเสมือนม่านหมอกที่บดบังความสุขและความพึงพอใจในชีวิต ทำให้กิจกรรมที่เคยสร้างรอยยิ้มกลับกลายเป็นเรื่องจืดชืด ภาวะนี้ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อความสุขส่วนตัว แต่ยังอาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพจิตที่ลึกซึ้งกว่านั้น การเข้าใจและตระหนักถึงภาวะนี้จึงเป็นก้าวแรกสู่การฟื้นฟูความสุขและสีสันในชีวิตอีกครั้ง มาเข้าใจเรื่องนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ

หนังสือ ยกหิน 100 ตันออกจากอก ด้วยคำพูดเปลี่ยนชีวิต

ภาวะสิ้นยินดี คืออะไร ?

ภาวะสิ้นยินดี หรือ แอนฮีโดเนีย (Anhedonia) เป็นอาการทางจิตใจ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณ 2 คำ คือ an แปลว่า ปราศจาก และ hēdonē แปลว่า ความพึงพอใจ หมายความได้ว่า “ปราศจากความพึงพอใจ” นั่นเอง ทำให้รู้สึกเฉื่อยชา เฉยเมย เฉยๆ กับทุกสิ่ง ไม่รู้สึกยินดียินร้ายอะไร ไม่รู้สึกพึงพอใจในชีวิต หรือไม่พึงพอใจในสิ่งที่เคยชอบอีกต่อไป ไม่มึอารมณ์ร่วมไปกับสถานการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะทำกิจกรรมอะไรก็ตาม ไม่สุข ไม่เศร้า แต่รู้สึกเหนื่อย เบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไร และรู้สึกว่าทุกอย่างว่างเปล่า

สมาคมจิตเวชของอเมริกาได้ระบุว่า ภาวะ Anhedonia เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ และพบได้ในโรคจิตเภทและความผิดปกติทางจิตอื่นๆ หากใครกำลังสงสัยว่าตัวเองกำลังอยู่ในภาวะนี้หรือไม่ สามาถแบบทดสอบ Anhedonia ได้ที่เว็บไซต์ psymed.info

เราสามารถสังเกตตัวเองผ่านแบบทดสอบว่าเรามีอาการเข้าข่ายภาวะนี้หรือเปล่า ซึ่งเป็นการสังเกตอาการเบื้องต้นเท่านั้น เพราะจะต้องได้รับการวินิจฉัยทางแพทย์โดยตรง ไม่สามารถสรุปว่าตนเองหรือคนรอบข้างอยู่ในภาวะนี้จากการแค่ทำแบบทดสอบเพียงอย่างเดียว

เช็กอาการ ลองสำรวจตัวเองและคนรอบข้างว่า มีอาการของ Anhedonia หรือไม่ ?

ภาวะสิ้นยินดี แบบทดสอบ, ภาวะสิ้นยินดี
Image Credit : Pexels

อาการของความสิ้นยินดีจะแตกต่างกันไปแต่ละบุคคล ซึ่งสามารถสังเกตได้ผ่านแบบทดสอบภาวะสิ้นยินดี ซึ่งมักจะสอบถามว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่

  • รู้สึกเฉยๆ มีความเฉื่อยชาต่อสิ่งรอบข้าง
  • เก็บตัว แยกตัวออกจากสังคม และไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
  • มีอาการของโรคกลัวการเข้าสังคม
  • รู้สึกสิ้นหวัง หมดหวัง หดหู่กับชีวิต
  • มีความคิดเชิงลบต่อตนเองและคนอื่นๆ
  • มีการแสดงออกเชิงอารมณ์และการกระทำน้อยลง พูดน้อยลง
  • ไม่ยิ้ม ไม่หัวเราะ หรือรู้สึกไม่มีความสุขกับสิ่งที่เคยเป็นความชอบของตัวเอง
  • รู้สึกฝืนตัวเองในการแสดงอารมณ์ต่างๆ 
  • รู้สึกหวาดระแวงผู้อื่น หรือหงุดหงิด รำคาญผู้อื่น
  • ไม่รู้สึกดีเมื่อได้รับคำปลอบโยน
  • ขาดความสนใจในตัวเอง ไม่ดูแลตัวเอง 
  • อยากอยู่เฉยๆ ไม่อยากทำอะไรทั้งสิ้น ทั้งเรื่องงานและเรื่องชีวิตส่วนตัว
  • มีความต้องการทางเพศลดลง
  • อารมณ์ดิ่งจนถึงขั้นทำร้ายตัวเอง หรือมีความคิดว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป

หากลองเข็กตัวเองผ่านแบบทดสอบแล้วพบว่ามีอาการเหล่านี้เกินครึ่ง แนะนำว่าให้ลองไปพูดคุยกับนักจิตวิทยาหรือปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อหาทางรักษาอย่างเหมาะสมนะคะ

เกร็ดสุขภาพ : โดยปกติแล้ว Anhedonia  สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ การสิ้นยินดีทางสังคม (Social Anhedonia) ซึ่งผู้ที่มีอาการนี้จะไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่อยากใช้เวลาไปกับการเข้าสังคมกับใคร และ การสิ้นยินดีทางร่างกาย (Physical Anhedonia) คือ ไม่รู้สึกมีความพึงพอใจทางกาย ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารที่ชอบ การถูดกอดหรือถูกสัมผัส การทำกิจกรรมต่างๆ หรือแม้กระทั่งการมีเพศสัมพันธ์ ก็ไม่รู้สึกว่า กิจกรรมเหล่านั้นทำให้เกิดความสุขแต่อย่างใด

หนังสือ เราจะเติบโตขึ้นทุกครั้งหลังฝนตก

สาเหตุของการเกิดภาวะ Anhedonia

การเกิดภาวะนี้ คาดว่าเป็นผลมาจากการที่สมองมีการทำงานเปลี่ยนแปลงไปต่อการตอบสนองสารโดปามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารที่กระตุ้นให้รู้สึกพึงพอใจหรือมีความสุข ดังนั้น เมื่อสมองมีปัญหาต่อการตอบสนองของสารชนิดนี้ ทำให้ไม่สามารถรับรู้ถึงความสุข หรือความพึงพอใจได้ 

โดยส่วนใหญ่จะพบมากในผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า (Depression) ไบโพลาร์ (Bipolar Disoder) หรือโรคจิตเภท (Schizophrenia) โรคการกินผิดปกติ (Eating Disoders)  รวมถึงผู้ที่ใช้ยาต้านเศร้า หรือยารักษาความผิดปกติทางจิตใจอื่นๆ และอาจพบได้ในผู้ที่ใช้สารเสพติดได้ด้วยเช่นกัน และพบในผู้ที่เคยถูกทำร้าย ถูกทอดทิ้ง ผู้ที่เคยผ่านเหตุการณ์ที่กระทบจิตใจอย่างรุนแรง หรือเจ็บป่วยด้วยโรคที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ก็อาจทำให้เกิดภาวะสิ้นยินดีได้เช่นกัน

แล้วจะรักษาภาวะสิ้นยินดีได้อย่างไร ?

ภาวะสิ้นยินดี แบบทดสอบ, ภาวะสิ้นยินดี
Image Credit : Pexels

หากเราทราบว่าเรามีอาการนี้หรือไม่ จากการเช็กตัวเองผ่านเครื่องมือ แบบทดสอบภาวะสิ้นยินดี และได้รับการประเมินวินิจฉัยโดยแพทย์แล้ว จะต้องทำการรักษา และการรักษาโดยตรงนั้น จะเป็นการใช้วิธีทางจิตบำบัดเป็นส่วนใหญ่ เช่น การบำบัดโดยการพูดคุย การใช้วิธีทางจิตวิทยาการปรึกษา เป็นต้น และยังไม่มียารักษาได้โดยตรง  ถ้าสังเกตอาการตัวเองและคนรอบข้างว่าเข้าข่ายจะเป็นภาวะนี้ ควรไปปรึกษาจิตแพทย์และให้แพทย์วินิจฉัยอย่างละเอียด โดยแพทย์อาจตรวจร่างกายเพื่อตรวจหาภาวะขาดวิตามินหรือปัญหาทางสุขภาพอื่นๆ ที่ส่งผลต่อความผิดปกติทางอารมณ์ได้ และอาจรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์อื่นๆ ร่วมด้วย เช่น Electroconvulsive Therapy (ECT) 

ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ก็อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้มีปัญหาในเรื่องความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง และอาจส่งผลต่อสุขภาพกาย หรือมีการทำร้ายตัวเองร่วมด้วย ในกรณีที่มีภาวะสิ้นยินดีร่วมกับปัญหาทางสุขภาพใจอื่นๆ

เกร็ดสุขภาพ : หากได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการของภาวะ Anhedonia ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือจิตแพทย์อย่างเคร่งครัด และไม่กล่าวโทษตัวเอง สร้างกำลังใจให้ตัวเองบ้าง และเริ่มกลับมาทำสิ่งที่ตัวเองชอบอีกครั้ง แม้จะยังไม่รู้สึกดีขึ้นก็ตาม ที่สำคัญคือ อย่ากดดันตัวเองหรือรู้สึกแย่กับตัวเอง ซึ่งอาการป่วยทางใจก็เหมือนกับอาการป่วยทางกายที่ต้องใช้เวลาในการรักษาเช่นเดียวกัน

ภาวะสิ้นยินดี สามารถป้องกันได้หรือไม่ ?

ภาวะสิ้นยินดี แบบทดสอบ, ภาวะสิ้นยินดี
Image Credit : Pexels

ภาวะนี้ เป็นปัญหาทางด้านสุขภาพจิตที่อาจมีปัจจัยมาจากหลายๆ สาเหตุ เช่น สภาพแวดล้อม การถูกเลี้ยงดู เหตุการณ์ที่พบเจอในชีวิต ความเครียด หรือปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า ซึ่งทำให้มีภาวะสิ้นยินดีร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม ปัญหาทางด้านสุขภาพจิตหลายๆ อาการ ยังไม่มีวิธีป้องกันที่ตายตัว แต่ถ้าหากสังเกตได้ว่าตัวเองมีภาวะดังกล่าว หรือมีปัญหาทางด้านสุขภาพจิตอื่นๆ ควรปรึกษานักจิตวิทยาหรือปรึกษาจิตแพทย์ใกล้บ้าน เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยและทำการรักษาอย่างเหมาะสม

ทั้งนี้ เราสามารถดูแลสุขภาพจิตของตนเองได้โดยการดูแลจิตใจตนเอง ไม่เครียดจนเกินไป มีวิธีการจัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม มีการพัฒนาจิตใจตนเอง หากมีปัญหาหรือความทุกข์ในใจอาจระบายกับเพื่อนสนิท หรือสามารถพูดคุยกับนักจิตวิทยาได้ ซึ่งการพูดคุยกับนักจิตวิทยาไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องป่วยทางใจก่อนเสมอไป ปัจจุบันมีองค์กรที่รับปรึกษาปัญหาความเครียดเชิงจิตวิทยามากมายทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น สายด่วนสุขภาพจิต หรือคลินิกสุขภาพใจ หากเรามีการจัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม ก็อาจช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิตได้ 

หนังสือ วันนี้ใช้ชีวิตได้ดีมากเลยนะ

ในตอนนี้ เราก็ได้รู้จักกับภาวะสิ้นยินดี หรือ Anhedonia มากขึ้นแล้ว ใครอยากลองเช็กตัวเองผ่าน แบบทดสอบภาวะสิ้นยินดี ก็ลองทำดูได้เลยนะคะ อย่างที่บอกไปว่า หากใครคิดว่าตัวเองกำลังอยู่ในภาวะนี้ ก็แนะนำให้ไปปรึกษาจิตแพทย์ หรือพูดคุยกับนักจิตวิทยาก่อนก็ได้ค่ะ เราสามารถพูดคุยกับนักจิตวิทยาได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเครียดหรือความไม่สบายใจอื่นๆ และถ้าหากสงสัยว่าตัวเองกำลังมีอาการของ Anhedonia ก็สามารถไปพูดคุยก่อนได้ ปัจจุบันมีช่องทางมากมายทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ ถ้าไม่สะดวกเจอตัวก็อาจจะโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิตของกรมสุขภาพจิต หรือทักแชทหานักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ผ่านช่องทางออนไลน์ก่อนก็ได้ การดูแลสุขภาพใจของตัวเองเป็นเรื่องสำคัญมากๆ หากกำลังรู้ตัวว่ามีความเครียดอย่างหนัก หรือมีปัญหาที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจ ก็ต้องหาทางแก้ไข ก่อนที่จะบายปลายนะคะ

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save