“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
นอนน้ำลายไหล เกิดจาก อะไร ? แก้ไขได้มั้ย อันตรายหรือเปล่า ?!
น้ำลายเป็นของเหลวที่ร่างกายเราหลั่งออกมาจากส่วนที่เรียกว่าต่อมน้ำลาย มีหน้าที่ในการช่วยย่อยอาหาร ทำให้ช่องปากชุ่มชื้น ช่วยในการรับรส ช่วยต่อต้านเชื้อโรค ป้องกันฟันผุ ปกติแล้วร่างกายจะผลิตน้ำลายวันละประมาณ 0.75-1.5 ลิตรต่อวัน การผลิตน้ำลายส่วนมากจะอยู่ในช่วงกลางวัน ในระหว่างนอนหรือช่วงกลางคืนจะผลิตน้อยลงหรือหยุดผลิต ทำให้เรามีกลิ่นปากตอนตื่นนอน และถ้าไม่แปรงฟันก่อนนอนก็จะเพิ่มโอกาสเกิดฟันผุได้ ปริมาณน้ำลายยังขึ้นอยู่กับอายุ อาหาร การใช้ชีวิต โรคประจำตัว และสุขภาพ ซึ่งมีผลแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล การนอนแล้วน้ำลายไหลจึงเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ ในขณะเดียวกันก็อาจเป็นสัญญาณภาวะสุขภาพ ที่ต้องได้รับการดูแลก็ได้เช่นกัน นอนน้ำลายไหลแก้ยังไงก็ขึ้นกับว่า นอนน้ำลายไหล เกิดจาก สาเหตุใด ลองมาอ่านและทำความเข้าใจกันค่ะ
สงสัยว่า นอนน้ำลายไหล เกิดจากอะไร ? หาคำตอบได้ในบทความนี้ !
นอนน้ำลายไหล เกิดจากอะไรได้บ้าง ?
• นอนน้ำลายไหล เกิดจาก ท่าทางการนอน
การนอนหลับในท่านอนคว่ำ นอนตะแคง มีโอกาสที่น้ำลายที่ค้างในช่องปาก ลำคอ ไหลออกมาตามแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้ตื่นมาด้วยหมอนที่ชุ่มไปกับน้ำลายได้อยู่แล้ว และยิ่งถ้าใครนอนอ้าปากด้วยแล้ว ต่อให้นอนหงาย น้ำลายก็ไหลออกจากปากได้แน่นอน ลองสังเกตดูว่า นอนน้ำลายไหล เกิดจาก ท่าทางการนอนไหม ซึ่งมักจะเจอร่วมกับอาการนอนกรน ซึ่งสามารถปรับแก้ด้วยการเปลี่ยนท่านอนเป็นนอนหงาย นอนตะแคง และอาจต้องฝึกการนอนปิดปาก (บางคน นอนอ้าปากเพื่อช่วยในการหายใจเวลานอนหลับ หรือเพราะสรีระทำให้ปิดปากไม่สนิทตอนหลับ)
• นอนน้ำลายไหล เกิดจากภูมิแพ้ และการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
การเป็นหวัด คัดจมูก จากการติดเชื้อไวรัสหรือโรคภูมิแพ้กำเริบ ทำให้หายใจลำบากก็เลยต้องอ้าปากช่วยในการหายใจ ทำให้นอนน้ำลายไหลได้มากกว่าปกติ นอกจากนั้นแล้ว นอนน้ำลายไหล เกิดจาก ต่อมทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ หรือแม้แต่ปอดบวมก็ได้เช่นกัน
• นอนน้ำลายไหล จากอาการ GERD
Gastroesophageal Reflux Disease หรือที่เรียกกันติดปากว่า GERD ซึ่งอาการที่รู้จักกันมักมีแค่อาการ Heartburn เท่านั้น แต่จริงๆ แล้ว การกลืนลำบากและนอนน้ำลายไหล ก็เป็นอาการของโรคนี้ได้เช่นกัน คนเป็น GERD จะมีอาการเหมือนมีก้อนอะไรจุกอยู่ระหว่างหลอดอาหารทำให้ระคายเคือง จะกระตุ้นให้การสร้างน้ำลายมากขึ้น ประกอบกับการกลืนลำบากทำให้น้ำลายล้น นอนน้ำลายไหล ส่วนวิธีแก้สาเหตุนี้คือต้องดูแลเรื่องอาหาร เรื่องพฤติกรรมที่จะลดอาการของ GERD นั่นเอง
เกร็ดสุขภาพ : นอนน้ำลายไหล หรือแม้แต่น้ำลายไหลมากเป็นเรื่องปกติในช่วงเจริญเติบโตของเด็ก เด็กเล็กที่น้ำลายไหลช่วงฟันงอกอาจได้ประโยชน์จากการเคี้ยวไอติมหรือของเย็นอื่นๆ ผู้ที่มีอาการน้ำลายไหลเรื้อรังสามารถลองจำกัดอาหารที่เป็นกรดหรือน้ำตาล เนื่องจากอาหารเหล่านี้สามารถเพิ่มการผลิตน้ำลายได้
• นอนน้ำลายไหล เกิดจาก Obstructive Sleep Apnea
Obstructive Sleep Apnea (OSA) คือภาวะผิดปกติของการหายใจที่สัมพันธ์กับการนอนหลับ กล่าวคือมีภาวะหยุดหายใจชั่วขณะตอนนอนหลับจากอุดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้ร่างกายปรับสภาพด้วยการใช้การหายใจทางปากช่วยระหว่างการนอน ทำให้ นอนน้ำลายไหล ได้ง่ายกว่าคนทั่วๆ ไป อาการที่เกิดร่วม เช่น กรน หอบ หรือสำลักขณะนอนหลับ ตื่นกลางดึก ปวดศีรษะตอนเช้า นอนน้อย อ่อนเพลียหรือง่วงซึมระหว่างวัน สาเหตุนี้ต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อรักษาอย่างจริงจัง เพราะมีผลทางด้านสุขภาพอื่นๆ ด้วยที่ต้องได้รับการแก้ไข
• นอนน้ำลายไหล เกิดจากการนอนกัดฟัน
นอนกัดฟัน มักมาพร้อมกับน้ำลายไหลตอนหลับ ซึ่งน่าจะจากการที่ปากขยับและริมฝีปากสบไม่สนิท ทำให้น้ำลายที่ค้างในช่องปากไหลออกมาได้ตามช่องฟัน นอนกัดฟัน ยังสัมพันธ์กับการนอนกรน ภาวะเครียด นอนไม่หลับ และท่าทางการนอนที่เป็นการนอนคว่ำด้วย
• นอนน้ำลายไหล เกิดจากผลข้างเคียงของยา
ยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคจิต และยาที่ใช้รักษาโรคอัลไซเมอร์ อาจทำให้การผลิต น้ำลายในปริมาณมาก หากมีการใช้ยาตามใบสั่งแพทย์อยู่ และพบว่า นอนน้ำลายไหล แก้ยังไง ถ้าสงสัยว่ายาที่ใช้อยู่อาจเป็นสาเหตุ อย่างแรก อย่าหยุดรับประทานยาเองก่อนปรึกษาแพทย์ ให้ขอคำแนะนำ และตรวจสอบรายการผลข้างเคียงกับแพทย์ที่ดูแลเพื่อแนะนำยาอื่นทดแทน
• นอนน้ำลายไหล เกิดจากโรคประจำตัวเดิม
โรคหรือบางกลุ่มอาการ มีอาการทางระบบประสาทที่สัมพันธ์กับการกระตุ้นต่อมน้ำลายให้ทำงานมากผิดปกติ หรือบางอย่างทำให้ ระบบการกลืนลำบาก ทำให้ นอนน้ำลายไหล ตัวอย่างการศึกษา พบว่า ประมาณ 70% ของผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสัน และมากถึง 80% ของผู้ที่เป็นโรคอัมพาตสมองมีน้ำลายไหลมากเกินไป ผลของโรคที่ทำให้การกลืนลำบากและน้ำลายไหลมากเกินไป อาจเกิดขึ้นจาก
- ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบ
- โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก
- ภาวะเลือดคั่งในสมอง
- การบาดเจ็บทางสมองอื่นๆ
- กลุ่มอาการโรคทางสมอง เช่น ดาวน์ซินโดม ออทิสติก เป็นต้น
นอนน้ำลายไหล แก้ยังไงได้บ้าง ?
1. ปรับท่านอน
หากว่าการนอนน้ำลายไหล เกิดจากนอนคว่ำ นอนอ้าปาก ให้ใช้วิธีการปรับท่านอนเพื่อให้นอนหายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น เช่น การนอนตะเคียงข้าง นอนหงาย
2. รักษาภาวะภูมิแพ้และโรคทางเดินหายใจ
การหายใจโล่งๆ จะลดการนอนหายใจทางปาก ซึ่งจะเป็นการลดน้ำลายไหลที่มากไปได้ในตัว
3. พิจารณาการรักษาด้วยโบทอกซ์
กรณีที่เกิดจากระบบประสาทการสร้างน้ำลายจากต่อมน้ำลายมากไป การฉีดโบทอกซ์จะช่วยลดการสร้างน้ำลายได้อย่างปลอดภัย และผลข้างเคียงน้อย เหมือนกับใช้ในการรักษาเหงื่อออกมือเท้า แต่ผลการรักษาไม่ถาวร จำเป็นต้องฉีดซ้ำเมื่อหมดฤทธิ์ยา
4. ใส่เครื่องมือ Mandibular Device หรือ ฟันยาง
เป็นเครื่องมือพิเศษที่ทำขึ้นเฉพาะของแต่ละบุคคล เพื่อจัดให้ลิ้นและฟันอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ใช้ในการรักษา OSA การกรน และการนอนกัดฟัน การใช้เครื่องมือจะช่วยให้ลดสาเหตุของการนอนน้ำลายไหล แต่อาจจะรำคาญตอนใส่ใหม่ๆ และปวดขากรรไกรได้
5. ฝึกการพูดกับนักบำบัด
นอนน้ำลายไหล แก้ยังไง อีกวิธีหนึ่งที่แนะนำคือใช้การบำบัด นักบำบัดด้วยการพูดสามารถสอนการออกกำลังเฉพาะที่เพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อลิ้นและกราม ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง การบำบัดด้วยการพูดอาจทำให้กลืนได้ดีขึ้น หายใจได้ดีขึ้นแม้ขณะเมื่อปิดปาก และลดการนอนน้ำลายไหล
6. การรักษาด้วยยา
ผู้ที่มีอาการทางระบบประสาทอาจได้รับยาเพื่อหยุดน้ำลายไหล ยาเหล่านี้ช่วยลดการหลั่งน้ำลายโดยปิดการกระตุ้นเส้นประสาทที่ไปยังต่อมน้ำลาย อย่างไรก็ตาม ยาเหล่านี้มักก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ปากแห้งมากเกินไป
7. การรักษาด้วยการผ่าตัด
กรณีที่นอนน้ำลายไหล เกิดจากภาวะน้ำลายไหลมากเกินปกติ แพทย์อาจแนะนำให้ทำการผ่าตัด การผ่าตัดที่ช่วยรักษาอาการน้ำลายไหลมากไป ได้แก่ ผ่าตัดต่อมน้ำลาย โดยการเปลี่ยนแปลงท่อต่อมน้ำลาย การลดการเชื่อมต่อของเส้นประสาทไปยังต่อมน้ำลาย โดยปกติ การผ่าตัดจะสงวนไว้สำหรับผู้ที่น้ำลายไหลมากเกินไปในระหว่างชั่วโมงตื่นนอน และถือเป็นทางเลือกสุดท้าย หลังจากที่ได้รักษาด้วยวิธีอื่นๆ แล้วไม่ได้ผล
เกร็ดสุขภาพ : การนอนน้ำลายไหลนั้นเป็นเรื่องปกติของการนอน แต่ถ้าสังเกตเห็นว่าน้ำลายไหลมากเกินไปหรือเกิดขึ้นแบบกะทันหันจนกังวลและสังเกตเห็นสัญญาณเตือน ควรนัดหมายกับผู้ให้บริการทางการแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และหาทางรักษาต่อไป
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : sleepfoundation.org, my.clevelandclinic.org
Featured Image Credit : freepik.com
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ