X

เอ็นร้อยหวายอักเสบ รักษา ยังไง ? ชวนรู้จักเรื่องเอ็นร้อยหวาย พร้อมวิธีรักษา และดูแลตัวเอง !

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

เอ็นร้อยหวายอักเสบ รักษา ยังไง ? ชวนรู้จักเรื่องเอ็นร้อยหวาย พร้อมวิธีรักษา และดูแลตัวเอง !

หากเดินหรือวิ่งแล้วมีอาการเจ็บที่ข้อเท้าอาจเป็นสัญญาณบอกถึงอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบได้ ซึ่งเอ็นร้อยหวาย หรือ Achilles tendon คือกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ที่ยึดระหว่างกล้ามเนื้อน่องซึ่งอยู่ด้านหลังของขากับกระดูกส้นเท้า เป็นกล้ามเนื้อที่แข็งแรงและหนาที่สุดของร่างกาย มีความเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวที่ใช้เท้าเป็นหลัก เช่น เดิน วิ่ง กระดกข้อเท้าขึ้น – ลง เป็นต้น ดังนั้นหากมีอาการเอ็นรอยหวายอักเสบจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตอย่างมาก ทำให้ไม่สามารถเดินหรือวิ่งได้อย่างสะดวก และถ้าปล่อยไว้นานก็อาจจะทำให้อาการยิ่งแย่ลงได้ เราจึงได้นำข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้มาฝากกันค่ะ พร้อมบอกวิธี เอ็นร้อยหวายอักเสบ รักษา ยังไงถึงจะหายดี หากใครกำลังมีอาการแบบนี้อยู่ ก็มาดูกันต่อเลย

ทำความรู้จัก เอ็นร้อยหวายอักเสบ รักษา ยังไง ? พร้อมบอกวิธีดูแลตัวเองและแนวทางรักษา !

เอ็นร้อยหวายอักเสบ รักษา, เอ็นร้อยหวายอักเสบ กี่วันหาย
Image Credit : bangkokhospital.com

เอ็นร้อยหวายเป็นกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของเท้า หากเส้นเอ็นกล้ามเนื้อมีความตึงมากเกินไปก็อาจทำให้รู้สึกปวดและมีอาการอักเสบได้ โดยส่วนมากโรคนี้มักเกิดขึ้นกับผู้ที่เล่นกีฬาเป็นประจำ ถ้าหากมีอาการอักเสบที่ไม่รุนแรงมากก็สามารถรักษาให้หายด้วยตัวเองได้ แต่ก่อนที่จะไปดูว่าเอ็นร้อยหวายอักเสบ รักษายังไง เรามาดูอาการเบื้องต้นและสาเหตุของเอ็นร้อยหวายอักเสบกันก่อนเลยค่ะ อาการบาดเจ็บจากเอ็นร้อยหวาย แบ่งเป็น 2 ประเภท ตามบริเวณที่บาดเจ็บ ดังนี้

1. มีการอักเสบที่จุดเกาะเอ็นร้อยหวาย

คือ การอักเสบของเอ็นร้อยหวายบริเวณจุดที่ยึดเกาะกับกระดูกส้นเท้า อาจพบว่ามีกระดูกงอกในจุดที่เกาะเอ็นร้อยหวายด้วยแต่จะไม่มีอาการ เจ็บส้นเท้าจี๊ดๆ โดยเกิดจากการใช้งานหนักมาเป็นเวลานาน สามารถสังเกตอาการได้ว่า มีอาการกดเจ็บและบวมที่ข้อเท้าด้านหลัง คลำแล้วรู้สึกได้ถึงกระดูกงอก และอาจมีการเสียดสีกับขอบรองเท้าด้วย มักเป็นอาการที่มักพบในผู้สูงอายุ

2. มีการอักเสบที่เส้นเอ็น

คือ การอักเสบของเส้นเอ็นร้อยหวายในบริเวณ 3 – 4 เซนติเมตรจากจุดยึดเกาะเอ็นร้อยหวายขึ้นมา มักเกิดขึ้นได้ในผู้ที่ใช้งานเอ็นร้อยหวายอย่างหนัก มีกิจกรรมเดินหรือวิ่งเยอะ เช่น นักกีฬา เพราะบริเวณนี้เป็นจุดที่มีเลือดมาเลี้ยงน้อยกว่าเอ็นร้อยหวายส่วนอื่น จึงทำให้ซ่อมแซมเส้นเอ็นได้ช้าและบาดเจ็บง่าย ถ้าคลำดูก็จะพบว่าเอ็นร้อยหวายมีอาการบวมและหนาตัวขึ้น

วิธีสังเกตอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบ

เอ็นร้อยหวายอักเสบ รักษา, เอ็นร้อยหวายอักเสบ กี่วันหาย
Image Credit : sportsinjuryclinic.net
  • บริเวณเอ็นร้อยหวายมีอาการบวม แดง และอักเสบจนทำให้รู้สึกปวดเจ็บ และอาการปวดอาจลามไปจนถึงกล้ามเนื้อน่องขา
  • ในตอนเช้าจะรู้สึกเจ็บและรู้สึกฝืดบริเวณเอ็นร้อยหวาย
  • มีอาการปวดตามแนวเส้นของเอ็นร้อยหวายหรือหลังส้นเท้า และยิ่งรู้สึกเจ็บมากขึ้นเมื่อเคลื่อนไหวร่างกาย โดยเฉพาะการเดินหรือวิ่ง
  • เมื่อออกกำลังกายจะรู้สึกปวด และยิ่งปวดมากขึ้นหลังจากหยุดออกกำลังกายแล้ว
  • กดบริเวณเอ็นร้อยหวายแล้วรู้สึกเจ็บ
  • คลำบริเวณเอ็นร้อยหวายแล้วพบว่ามีตุ่มหรือก้อน
  • หากได้ยินเสียงดัง “ป๊อป” ในบริเวณด้านหลังน่องหรือส้นเท้า อาจเกิดจากการที่เอ็นร้อยหวายฉีกขาดได้

สาเหตุที่ทำให้เอ็นร้อยหวายอักเสบ

เอ็นร้อยหวายอักเสบ รักษาได้หากรู้สาเหตุว่าเกิดจากอะไร โดยส่วนมากมักมีสาเหตุมาจากการใช้งานเอ็นร้อยหวายอย่างหนักหรือทำแต่กิจกรรมเดิมๆ จนทำให้เอ็นร้อยหวายตึงและบาดเจ็บ รวมทั้งอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ดังนี้

1. ใช้งานข้อเท้าหนักเกินไป

เอ็นร้อยหวายเป็นเส้นเอ็นที่เชื่อมต่อบริเวณข้อเท้า หากใช้งานข้อเท้าหนักเกินไปไม่ว่าจะเป็น การนั่ง การเดิน การยืน หรือ กระโดด ก็จะทำให้มีอาการตึงและเอ็นร้อยหวายอักเสบได้ โดยเฉพาะนักกีฬาที่ต้องซ้อมและมีการเคลื่อนไหวข้อเท้าเป็นประจำ

2. ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา

ในบางรายอาจไม่รู้สึกเจ็บในขณะออกกำลังกายแต่จะรู้สึกเจ็บบริเวณหลังส้นเท้าหลังจากออกกำลังกายเสร็จ เพราะในระหว่างที่ออกกำลังกายอาจกระตุ้นให้เส้นเอ็นแข็งตึงได้ หรือเกิดจากการเพิ่มระยะเวลาในการออกกำลังกายอย่างรวดเร็วโดยที่ร่างกายปรับตัวไม่ทัน รวมทั้งการที่ไม่ยืดเหยียดก่อนออกกำลังกายก็ส่งผลทำให้เอ็นร้อยหวายอักเสบได้เช่นกัน

3. กล้ามเนื้อตึงตัว

การที่กล้ามเนื้อตึงตัว หรือมีการเกร็งกล้ามเนื้อเป็นเวลานานเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เอ็นร้อยหวายอักเสบเลยก็ว่าได้ เพราะเมื่อกล้ามเนื้อมีความตึงจนเกินไปก็จะบาดเจ็บได้ง่ายขึ้นจนทำให้มีอาการอักเสบตามมานั่นเอง

4. โรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ

นอกจากกิจกรรมที่ทำแล้ว เอ็นร้อยหวายอักเสบอาจพบในผู้ที่มีกระดูกงอกบริเวณส้นเท้าได้ด้วยเช่นกัน เพราะมีการเสียดสีระหว่างส้นเท้าและเอ็นร้อยหวายเป็นประจำจึงทำให้รู้สึกปวดและอักเสบ รวมทั้งอาจพบได้ในผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อ เช่น โรครูมาตอยด์ เป็นต้น (สามารถอ่าน โรครูมาตอยด์เกิดจากอะไร ? เป็นข้อมูลเพิ่มเติมได้นะคะ)

เกร็ดสุขภาพ : นอกจากสาเหตุที่กล่าวไปแล้ว อาจมีปัจจัยอื่นที่กระตุ้นให้เอ็นร้อยหวายอักเสบได้ด้วยเช่นกัน ได้แก่ การกินยาในกลุ่มสเตียรอยด์ หรือฟลูออโรควิโนโลน การอายุที่เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะเมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไป รวมถึงผู้ที่เป็นโรคประจำตัว เช่น โรคเก๊าท์ โรคมารูตอยด์ หรือความดันโลหิตสูง และผู้ที่มีเท้าผิดรูปหรือน้ำหนักตัวเยอะ ก็อาจเสี่ยงที่จะเป็นเอ็นร้อยหวายอักเสบได้ นอกจากนี้ เอ็นร้อยหวายยังพบในเพศชายได้มากกว่าเพศหญิงอีกด้วย

เอ็นร้อยหวายอักเสบ รักษาให้หายด้วยตัวเองได้หากมีอาการไม่รุนแรง มีวิธีรักษาเบื้องต้นดังนี้

เอ็นร้อยหวายอักเสบ รักษาให้หายด้วยตัวเองได้หากมีอาการไม่รุนแรง มีวิธีรักษาเบื้องต้นดังนี้

1. พักการใช้งานข้อเท้า

ในระยะแรกที่เอ็นร้อยหวายอักเสบจะเริ่มมีอาการปวดเล็กน้อย ให้หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ส่งผลเสียต่อเอ็นร้อยหวาย และหลีกเลี่ยงการกดทับบริเวณเอ็นร้อยหวายไปก่อน ควรพักข้อเท้าจนกว่าจะหายดี

2. ประคบเย็น

หลายคนอาจร้อนใจว่าเอ็นร้อยหวายอักเสบ กี่วันหาย ? ถ้าอยากหายเร็วขึ้นก็แนะนำให้ประคบเย็นได้เลยค่ะ เพราะเป็นวิธีการรักษาที่ช่วยลดอาการปวดและบวมได้ดีมาก โดยหมั่นประคบเย็นในบริเวณที่เส้นเอ็นอักเสบ ประมาณ 15 – 20 นาทีเป็นประจำ ก็จะทำให้อาการปวดอักเสบค่อยๆ ทุเลาลง

3. ใช้ผ้าพันบริเวณข้อเท้า

การพันผ้าในบริเวณข้อเท้าจะช่วยลดการเคลื่อนตัวของเส้นเอ็นได้ จึงส่งผลทำให้อาการอักเสบลดลง แต่ไม่ควรพันผ้าแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกและกลายเป็นอักเสบมากขึ้นกว่าเดิมได้

4. ทำกายภาพบำบัดด้วยตัวเอง

เมื่อมีอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบ รักษาด้วยการทำกายภาพได้โดยนอนราบและใช้หมอนหนุนให้เท้าอยู่สูงกว่าระดับอกเพื่อลดอาการบวม หรือทำกายบริหารเพื่อให้เอ็นร้อยหวายแข็งแรงและยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งทำได้โดยการนำลูกบอลหรือลูกเทนนิสมาคลึงใต้ฝ่าเท้า เป็นเวลา 30 – 60 วินาที ทำซ้ำ 5 รอบ หรือนั่งเหยียดขาตรง นำผ้ามาคล้องที่ฝ่าเท้า จากนั้นออกแรงดึงเข้าหาตัว นับค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำประมาณ 5 เซ็ต ก็จะช่วยลดอาการปวดตึงได้

เอ็นร้อยหวายอักเสบ รักษาด้วยวิธีอะไรได้อีกบ้าง ?

เอ็นร้อยหวายอักเสบ รักษา, เอ็นร้อยหวายอักเสบ กี่วันหาย
Image Credit : samitivejchinatown.com

หากมีอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบนานจนสงสัยว่าเอ็นร้อยหวายอักเสบ กี่วันหายแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาโรคเพิ่มเติม เพื่อที่จะได้รักษาอย่างถูกวิธี ซึ่งเอ็นร้อยหวายอักเสบสามารถรักษาให้หายขาดได้หลายวิธี ได้แก่

  1. การกินยา เช่น ยาไอบูโปรเฟน หรือยาในกลุ่มเอ็นเซด (NSAID) เป็นต้น แต่จะต้องให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยตรวจอาการเบื้องต้นก่อน ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายได้ 
  2. ใช้เครื่องกายภาพบำบัดช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของเอ็นร้อยหวายที่อักเสบ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของนักกายภาพบำบัด
  3. ถ้าทำทุกวิธีแล้วอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบยังไม่หายหรืออาการไม่ดีขึ้นเลยก็อาจจะเสี่ยงต่อการเกิดเอ็นฉีกขาดได้ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องให้แพทย์ทำการผ่าตัดเพื่อรักษา

 วิธีป้องกันเอ็นร้อยหวายอักเสบ

  1. ไม่หักโหมออกกำลังกายหนักมากเกินไป และเมื่อรู้สึกปวดข้อเท้าหรือปวดบริเวณเอ็นร้อยหวายควรหยุดพักทันที
  2. ทำท่ายืดก่อนวิ่งหรือยืดเหยียดกล้ามเนื้อทุกวัน เพื่อคลายความตึงของเส้นเอ็น
  3. เลือกใส่รองเท้าที่ช่วยลดแรงกระแทกและซัพพอร์ตข้อเท้าได้ดี หลีกเลี่ยงการสวมใส่รองเท้าส้นสูง
  4. ไม่เล่นกีฬาชนิดเดิมซ้ำๆ ติดกันนานเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้เอ็นร้อยหวายทำงานหนัก

เกร็ดสุขภาพ : หากเป็นเอ็นร้อยหวายอักเสบและไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีก็อาจมีภาวะแทรกซ้อนได้  เช่น อาการเอ็นร้อยหวายฉีกขาด หรือในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบเรื้อรังได้ถ้าไม่รีบทำการรักษา และในบางรายอาจมีอาการรุนแรงจนถึงขั้นที่ต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ซึ่งอาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน และภาวะเลือดออกในเนื้อเยื่อ เป็นต้น

หวังว่าข้อมูลเอ็นร้อยหวายอักเสบ รักษายังไงจะเป็นประโยชน์กับทุกคนได้นะคะ สำหรับใครที่สงสัยว่าเอ็นร้อยหวายอักเสบ กี่วันหายนั้นก็ขึ้นอยู่กับวิธีการดูแลรักษาของตัวเองด้วยเช่นกัน ซึ่งโรคนี้ใช้เวลารักษาให้หายขาดค่อนข้างนานและบางรายอาจใช้เวลาหลายเดือนเลย เนื่องจากการอักเสบและการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นมีการสะสมมาเป็นเวลานาน ดังนั้นควรป้องกันไม่ให้มีอาการเอ็นร้อยอักเสบตั้งแต่เนิ่นๆจะดีกว่าค่ะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : vejthani.com, samitivejchinatown.com, bangkokhospital.com, mayoclinic.org, orthoinfo.aaos.org

Featured Image Credit : freepik.com/pressfoto

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save