“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
ยาหอม ยี่ห้อไหนดี ? รวม 8 ยี่ห้อคุณภาพดี ต้องมีติดบ้าน !
มีใครรู้จัก “ยาหอม” กันบ้างไหมคะ ? ใครที่อยู่บ้านกับคุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย อาจจะเคยเห็นคนเฒ่าคนแก่กินยาหอมกันบ้าง เคยสงสัยมั้ยว่า ยาหอมทำมาจากอะไร ? เป็นยาแผนโบราณไทยใช่หรือไม่ จริงๆ แล้วดีต่อสุขภาพหรือเปล่า สรรพคุณยาหอมมีอะไรบ้าง ช่วยรักษาโรคอะไรได้บ้าง ? เราจะชวนมารู้จักยาหอมให้มากขึ้นกันค่ะ พร้อมแนะนำ ยาหอม ยี่ห้อไหนดี ปัจจุบันนี้ก็หาซื้อได้ง่าย มีขายทางออนไลน์ด้วยเช่นกัน ยาหอมคืออะไร ยาหอม ข้อควรระวังในการใช้มีอะไรบ้าง ไปดูพร้อมๆ กันเลยค่ะ
แนะนำ ยาหอม ยี่ห้อไหนดี ? มัดรวม 8 ยี่ห้อคุณภาพดี มารู้จักยาหอมให้มากขึ้นกัน
ยาหอม เป็นชื่อกลุ่มยาตำรับที่ใช้กันมานาน เป็นยาที่ใช้เพื่อปรับสมดุลธาตุในร่างกาย ที่มีชื่อว่ายาหอมนั้น ก็เพราะว่ามีส่วนประกอบหลักมาจากสมุนไพรไทยกลิ่นหอมหลายชนิด ทั้งเกสรดอกไม้ และของมีกลิ่นหอมอื่นๆ อย่างลูกจันทน์ กฤษณา เปราะหอม หญ้าฝรั่น จันทน์เทศ ฯลฯ บางตำหรับนั้น มีส่วนผสมของพืชสมุนไพรถึง 56 ชนิดที่มีสรรพคุณดีๆ ต่อร่างกาย โดยเฉพาะการรักษาโรคที่เกี่ยวกับลมอย่างอาการท้องอืดท้องเฟ้อ คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ รู้สึกกระวนกระวาย หงุดหงิด หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม ซึ่งยาหอมจัดเป็นยาแผนโบราณสามัญประจำบ้าน แก้โรคได้หลายชนิด มียาหอมยี่ห้ออะไรบ้างที่คุณภาพดี ไปดูกันเลยค่ะ
แนะนำยาหอม 8 ยี่ห้อที่ควรมีติดบ้านไว้ บรรเทาได้สารพัดอาการ
1. ยาหอมศุภเวช
ยาหอมศุภเวช กินง่าย มีกลิ่นหอม เป็นยาหอม ยี่ห้อไหนดีที่ประกอบด้วยสมุนไพรดอกไม้หอมหลากชนิด มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ปรับธาตุลมในร่างกาย ช่วยให้หลับสบายยิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยคลายเครียด แก้อาการปวดศีรษะ แก้ปวดไมเกรน ทั้งยังช่วยควบคุมความดันโลหิตอีกด้วย และถ้าใครมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย สามารถผสมยาหอมศุภเวชกับขิงผงเข้าด้วยกัน แล้วชงดื่มเพื่อบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้ค่ะ
ราคาโดยประมาณ : ขวดละ 380 บาท (20 กรัม)
2. ยาหอมนวโกฐ ตราธงทอง
ยาหอมนวโกฐ ชนิดผง ตราธงทอง เป็นยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ มีสรรพคุณแก้วิงเวียน แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ลมปลายไข้ ช่วยบำรุงหัวใจ มีสมุนไพรหลายชนิดด้วยกัน รับประทานทุกๆ 3 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ โดยการนำเอาไปผสมน้ำอุ่นครั้งละ ½ – 1 ช้อนชา สามารถดื่มทีเดียวหรือค่อยๆ จิบเพื่อให้ชุ่มคอ รู้สึกดีมากขึ้นก็ได้เช่นกัน
ราคาโดยประมาณ : ขวดละ 55 บาท (25 กรัม)
3. ยาหอมอินทจักร์ ตราหมอหวาน
ยาหอม ยี่ห้อไหนดี ตัวต่อมาที่อยากแนะนำก็คือ ยาหอมอินทจักร์ ตราหมอหวาน มีสรรพคุณแก้ลมจุกเสียด แก้คลื่นเหียนอาเจียน โดยรับประทานครั้งละ 1 – 2 กรัม ผสมกับน้ำร้อน หรือน้ำดอกมะลิ น้ำขิง เพื่อบรรเทาอาการต่างๆ รับประทานทุกๆ 3 – 4 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ไม่ควรเกินวันละ 3 ครั้ง ผู้ที่ตั้งครรภ์และผู้ที่มีประวัติแพ้เกสรดอกไม้ควรหลีกเลี่ยง
ราคาโดยประมาณ : ขวดละ 215 บาท (25 กรัม)
4. ยาหอมเทพจิตร ตราห้าม้า
ยาหอมเทพจิตร ตราห้าม้า มีสรรพคุณแก้ไอ แก้วิงเวียน บำรุงหัวใจ มาในรูปแบบเม็ด อมช่วยแก้ไอ ทำให้ชุ่มคอ เป็นยาแผนโบราณที่ผลิตจากสมุนไพรแท้ 100% ประกอบด้วยเกสรดอกบัว ดอกสารถี ดอกพิกุล ดอกมะลิ จะอมครั้งละ 1 – 2 เม็ด หรือละลายกับน้ำต้มสุก 2 ช้อนโต๊ะ รับประทานเมื่อมีอาการ
ราคาโดยประมาณ : กระปุกละ 20 บาท (30 กรัม)
เกร็ดสุขภาพ : วิธีการกินยาหอมทำได้หลายวิธี หากเป็นในรูปแบบผงก็สามารถนำมาผสมน้ำต้มสุกเพื่อชงดื่ม หรือจะกินเป็นผงแล้วดื่มน้ำร้อนตามก็ได้ หากเป็นในรูปแบบเม็ดก็สามารถเอามาเคี้ยวหรืออมไว้ในปากจนกว่าจะละลายได้เช่นกัน หรือจะกินเหมือนกินยาเม็ดก็ได้ แต่วิธีดั้งเดิมและเป็นวิธีที่สุดในการกินยาหอมก็คือ ผสมน้ำอุ่นให้ละลายแล้วค่อยๆ จิบ เพราะจะทำให้ชุ่มคอมากขึ้นด้วยค่ะ
5. ยาหอมหมอลูกอินทร์
ยาหอมหมอลูกอินทร์ จากขุนอุทัยประสิทธิ์ แพทย์แผนไทยประจำจังหวัดปราจีนบุรี ทั้งยังเป็นแพทย์ประจำตัวของเจ้าพระยาอภัยภูเบศรอีกด้วย ซึ่งยาหอม ยี่ห้อไหนดีของเจ้านี้ เป็นตำหรับยาสมุนไพรที่สืบทอดมานานกว่า 110 ปีเลยทีเดียว มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดจะเป็นลม ช่วยบำรุงหัวใจ บรรเทาอาการแน่นหน้าอก ใช้อมครั้งละ 3 – 5 เม็ด เพื่อบรรเทาอาการ
ราคาโดยประมาณ : ขวดละ 110 บาท (8 กรัม)
6. ยาหอมทิพโอสถ ตราโพธิ์ทอง
ยาหอม ยี่ห้อไหนดีอีกตัวหนึ่งที่อยากจะแนะนำก็คือ ยาหอมทิพโอสถ ตราโพธิ์ทอง มีสรรพคุณแก้ลมจุกเสียด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ บรรเทาอาการหน้ามืด เวียนศีรษะ ตาลาย คล้ายจะเป็นลม บรรเทาอาการอ่อนเพลีย ทั้งยังช่วยให้รู้สึกมีเรี่ยวมีแรง รู้สึกสดชื่นมากขึ้นด้วย รับประทานวันละ 3 – 4 ครั้ง ครั้งละ ½ -1 ช้อนชา แนะนำให้ละลายในน้ำต้มสุกเพื่อชงดื่มนะคะ
ราคาโดยประมาณ : ขวดละ 55 บาท (25 กรัม)
7. ยาหอมตราเด็กในพานทอง
ยาหอมตราเด็กในพานทอง ก็เป็นยาหอมยี่ห้อคู่บ้านคู่เรือนคนไทยมานานอีกเช่นกัน มีสรรพคุณแก้วิงเวียน แก้ปวดท้อง แก้คลื่นไส้อาเจียน ประกอบด้วยกานพลู กฤษณา สมุลแว้ง ดอกบุญนาค และโกฐหัวบัว ผสมยาหอม 1 – 2 ช้อนชาในน้ำอุ่น ดื่มวันละ 2 – 3 ครั้งก็จะช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ได้
ราคาโดยประมาณ : ขวดละ 35 บาท (17 กรัม)
8. ยาหอมปัญจศรี
ยาหอม ยี่ห้อไหนดีที่อยากแนะนำเป็นตัวสุดสุดท้ายก็คือ ยาหอมปัญจศรี มีสรรพคุณแก้ลม แก้วิงเวียนศีรษะ แก้คลื่นเหียนอาเจียน ช่วยขับลม บำรุงหัวใจ เป็นยาหอมตำรับโบราณที่มีส่วนผสมของไม้กฤษณา สารถี มะลิ พิมเสน พิกุล เทียนขาว เทียนดำ และตัวยาอื่นๆ อีกหลายชนิด ใช้ในปริมาณน้อย ประมาณ ¼ ช้อนชา ละลายน้ำร้อนดื่มทุกครั้งที่มีอาการ
ราคาโดยประมาณ : ขวดละ 120 บาท (20 กรัม)
สรรพคุณยาหอม ช่วยเรื่องอะไรบ้าง ?
- แก้อาการอ่อนเพลีย หากมีความเครียดสะสม นอนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายก็รู้สึกอ่อนเพลียได้ ซึ่งยาหอมจะช่วยบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย ลดอาการอ่อนเพลียได้ โดยเฉพาะยาหอมที่มีฤทธิ์ร้อน จะช่วยให้เลือดลมไหลเวียนได้ดีขึ้น
- ช่วยป้องกันไข้หวัด อาการไข้หวัดมักเกิดจากการที่ร่างกายเจออุณภูมิร้อนเกินไปหรือเย็นเกินไป ทำให้ร่างกายขาดความสมดุล ทำให้เป็นไข้ตามมา หากเริ่มมีอาการหนาวสั่น ตัวเย็น หรือตัวร้อน มีไข้ต่ำๆ ก็สามารถกินยาหอมเพื่อบรรเทาอาการได้
- ช่วยให้เจริญอาหารหลังหายไข้ ยาหอมที่เป็นสมุนไพรรสขมจะช่วยให้เจริญอาหารได้ เช่น ยาหอมนวโกฐ ยาหอมทิพโอสถ เป็นต้น
- บรรเทาอาการหงุดหงิดก่อนมีประจำเดือน ทางแพทย์แผนไทยได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ช่วงก่อนมีประจำเดือนนั้น ธาตุในร่างกายจะทำงานมากเกินปกติและส่งผลกระทบต่ออารมณ์ได้ ซึ่งยาหอมจะทำให้เลือดลมและการเดินลมของประจำเดือนเป็นปกติ
- แก้อาการนอนไม่หลับ ยาหอมที่มีส่วนประกอบของดอกไม้หลายชนิด เป็นสมุนไพร แก้อาการนอนไม่หลับ ที่จะช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น เพราะช่วยปรับธาตุและปรับทางลมในร่างกายให้สมดุลมากขึ้น ทำให้รู้สึกสบายตัว และนอนหลับได้ง่ายขึ้น
เกร็ดสุขภาพ : อารมณ์ในร่างกายของมนุษย์นั้น ตามทฤษฎีแพทย์แผนไทยแล้ว เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับธาตุไฟ ซึ่งการทำงานของธาตุในร่างกายแต่ละธาตุนั้น มีความเกี่ยวข้องกัน เมื่อเกิดปัญหาที่กระทบกับธาตุไฟในร่างกาย ทำให้อารมณ์แปรปรวน จึงต้องแก้ปัญหาโดยการปรับสมดุลธาตุ ตามคัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์แล้ว มียาหอมหลายตำหรับที่มีฤทธิ์เย็น ซึ่งจะช่วยปรับสมดุลอารมณ์ของเราได้ด้วย เช่น ยาหอมที่มีส่วนประกอบของผิวส้มและดอกมะลิ สรรพคุณดีๆ ที่ช่วยให้รู้สึกสดชื่นแล้วก็คลายกังวล ทำให้อารมณ์ดีมากขึ้น
ยาหอม ข้อควรระวังมีอะไรบ้าง ?
แม้ว่ายาหอมจะมีสรรพคุณดีๆ หลายประการ ทั้งยังเป็นยาสมุนไพรไทย ผลิตจากส่วนผสมธรรมชาติ แต่ก็มีข้อควรระวังในการกินเช่นกัน ยาหอม ข้อควรระวังคือ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกับการกินยากลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (Anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (Antiplatelets) รวมถึงผู้ที่มีความผิดปกติของตับไต ก็ไม่ควรกินยาหอมติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจเกิดการสะสมของการบูร และทำให้เกิดพิษได้ รวมถึงผู้ที่แพ้ละอองเกสรดอกไม้ด้วยเช่นกัน
ยาหอม เป็นยาแผนโบราณสามัญประจำบ้านที่ควรมีติดบ้านไว้อย่างยิ่ง เป็นยาสมุนไพรไทยที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย สมุนไพรจำนวน 50 – 60 ชนิดที่เป็นส่วนประกอบของยาหอมนั้น เป็นสมุนไพรที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่มีความเป็นพิษแต่อย่างใด ยกเว้นผู้ที่มียาประจำตัวบางชนิดอย่างยาละลายลิ่มเลือดและยาป้องกันการแข็งตัวของเกล็ดเลือด ควรระวังในการกินยาหอม เพราะอาจทำให้เกิดโทษได้ค่ะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : thaihealth.or.th, drug.pharmacy.psu.ac.th, pharmacy.mahidol.ac.th
Featured Image Credit : freepik.com/rawpixel.com
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ