X

ไซโคพาธ อาการ เป็นยังไง ? มีจริงมั้ย ? มารู้จักบุคลิกภาพที่เห็นในซีรี่ย์เกาหลีบ่อยๆ กัน !

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

ไซโคพาธ อาการ เป็นยังไง ? มีจริงมั้ย ? มารู้จักบุคลิกภาพที่เห็นในซีรี่ย์เกาหลีบ่อยๆ กัน !

ถ้าใครเป็นแฟนซีรี่ย์เกาหลี คงจะเห็นว่าคาแรกเตอร์ตัวละครที่เห็นบ่อยๆ ก็คือ คนที่เป็นไซโคพาธ หรือการมีบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคมนั่นเอง และนอกจากในซีรี่ย์เกาหลีแล้ว ผู้คนต่างหลงใหลในพล็อตเรื่อง ไซโคพาธ อาการ ตัวละครโรคจิตมาเป็นเวลานาน มีหนังสือ ซีรี่ย์ และภาพยนตร์ หลายต่อหลายเรื่องที่มีตัวละครเอกเป็นไซโคพาธ แต่รู้ไหมว่าคำนี้หมายถึงอะไรกันแน่? ภาวะนี้มีจริงไหม? เป็นอาการผิดปกติทางจิตใช่ไหม ? รักษาได้หรือไม่ มารู้จักให้มากขึ้นกันเลยค่ะ

ไซโคพาธ อาการ เป็นอย่างไร มีอยู่จริงหรือไม่ ?

ไซโคพาธ อาการ, ไซโคพาธ คือ
Image Credit : freepik.com

ไซโคพาธ (Psychopath) คือ ลักษณะบุคลิกภาพที่ผิดปกติ โดยมีลักษณะพฤติกรรมแบบปล่อยตามอารมณ์ ทำตามอำเภอใจ ไม่รู้จักยับยั้งชั่งใจ ขาดความเห็นใจ เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง และมีพฤติกรรมต่อต้านสังคม เป็นคำรวมๆ ของคนที่มีบุคลิกภาพเข้าข่ายลักษณะต่างๆ เหล่านี้ ที่จริงแล้วไม่ใช่การวินิจฉัยโรคทางคลินิก และไม่ได้จัดเป็นโรคทางจิตเวช เนื่องจากมีระดับชั้นความรุนแรงและความเด่นของบุคลิกภาพแต่ละด้านที่สามารถเข้าเกณฑ์วินิจฉัยโรคอื่นๆ ได้ แต่ก็มีความเชื่อมโยงกับอาการป่วยทางจิตที่ซับซ้อนขึ้น ไซโคพาธ อาการ มีแบบไหนบ้าง มาดูกันค่ะ

  • จิตใจแข็งกระด้าง ไม่รู้สึกเห็นใจ เห็นแต่ประโยชน์ส่วนตน 
  • ทำอะไรตามใจตัวเอง ไม่สนใจผู้อื่นในสังคม  
  • มีความผิดปกติทางอารมณ์และความคิด  โดยเฉพาะเมื่อต้องเข้าสังคม 
  • มีความเชื่อมโยงกับพฤติกรรมความรุนแรง จากการปล่อยตามอารมณ์ ไม่ยั้งคิด และอาจทำสิ่งที่ผิดกฎหมายได้
  • โมโหร้าย ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ 
  • พูดโกหก หลอกลวงผู้อื่นเพื่อผลประโยชน์ แยกแยะความดีความผิดไม่ได้
  • ทำสิ่งที่เสี่ยงต่ออันตราย เพราะคลั่งไคล้ความตื่นเต้น
  • ไร้จิตสำนึกในความผิดที่ตนเองก่อขึ้น

ไซโคพาธ อาการ ที่เกิดขึ้น เกิดจากอะไร ?

ไซโคพาธ อาการ, ไซโคพาธ คือ
Image Credit : freepik.com
  1. เกิดจากความผิดปกติที่ส่งผลต่อการทำงานของสมอง โดยเฉพาะสมองส่วนหน้าและส่วนอะมิกดะลา เช่น ความผิดปกติของสารเคมีในสมองหลังจากเกิดอุบัติเหตุทางสมอง เกิดภาวะสมองขาดเลือด หรืออาจเกิดจากพันธุกรรม
  2. ผลกระทบด้านจิตใจและสังคม เช่น เคยถูกทารุณกรรมในวัยเด็ก โดนทำร้ายร่างกายและจิตใจ การถูกเลี้ยงดู อาชญากรรมในครอบครัว ครอบครัวแตกแยก สภาพสังคมรอบตัวที่โหดร้าย

แม้ว่าไซโคพาธจะไม่ได้เป็นคำวินิจฉัยทางการแพทย์ของความผิดปกติทางจิตแบบตรงๆ แต่ก็ระบุถึงลักษณะเฉพาะของการรับรู้และการตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวอันมีคุณลักษณะเด่นหลายประการ ตามที่นายแพทย์ Igor Galynker ศาสตราจารย์ด้านจิตเวชศาสตร์ ที่ Mount Sinai ในนิวยอร์ก และรองประธานฝ่ายวิจัยภาควิชาจิตเวชที่ Mount Sinai Beth Israel ได้กล่าวไว้ว่า “ไซโคพาธ อาการโดยทั่วไป เป็นคนใจแข็ง ต่อต้านสังคม ไม่เห็นคนอื่นเป็นมนุษย์ ชอบบงการคนอื่น และไม่คำนึงถึงกฎหมาย แต่ในขณะเดียวกันบุคลิกอีกด้าน ผู้คนก็มองว่าพวกเขามีเสน่ห์ สุภาพ เข้ากับคนง่าย และน่ารัก” ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นการแกล้งทำเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ดังนั้น คนภายนอกจึงมองว่าเป็นบุคลิกภาพที่ลึกลับน่าค้นหา เดาทางยากและดูมีเสน่ห์ได้

บุคลิกภาพแบบไซโคพาธ กับคาแรกเตอร์ของตัวละคร

ด้วยความน่าสนใจของบุคลิกภาพแบบไซโคพาธอีกด้านหนึ่งที่แสดงถึงความมีเสน่ห์ ซับซ้อน มีมิติและคาดเดายาก  อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้มีการเอามาแต่งหนังสือ ทำภาพยนตร์ และสร้างซี่รีย์ จนเป็นเรื่องราวที่สนุกน่าติดตาม และโด่งดังหลายๆ เรื่อง เนื่องจากเป็นบุคลิกภาพที่คาดเดาไม่ได้ เดาทางไม่ได้ ไม่รู้ว่าจะมีพฤติกรรมอย่างไรต่อไป อันกระตุ้นให้ผู้ชมอยากติดตามและเป็นการสร้างพล็อตเรื่องให้มีความเข้มข้นมากขึ้นนั่นเอง

ไซโคพาธ อาการ ที่แสดงออกนั้น ขึ้นกับสัดส่วนของบุคลิกภาพสองด้านที่ขัดแย้งกันอย่างสุดขั้ว อันมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยบางคนจะแสดงออกทางด้านเสน่ห์มากกว่า ในขณะที่บางคนจะแสดงพฤติกรรมต่อต้านสังคมมากกว่า อย่างไรก็ตาม แม้ว่าไซโคพาธมีความเสี่ยงที่จะแสดงพฤติกรรมรุนแรงมากขึ้น แต่ก็ยังไม่ใช่ลักษณะกำหนดของโรคจิตเภท (Schizophrenia) ซึ่งเป็นหนึ่งในความผิดปกติทางจิตที่รู้จักและได้รับการศึกษากันมากที่สุด โดยมีลักษณะเฉพาะคือขาดความเห็นอกเห็นใจอย่างมาก ขาดมโนธรรมหรือความรู้สึกผิด และปฏิเสธที่จะรับผิดชอบต่อการกระทำของตน อันมีคามคล้ายคลึงกับพฤติกรรมไซโคพาธนั่นเอง

ดังนั้น จึงมีความพยายามในการศึกษาว่า ไซโคพาธ อาการแบบไหน ที่จะพัฒนาไปเป็นโรคทางจิตเวช นักวิทยาศาสตร์ทำความเข้าใจว่าคุณลักษณะเฉพาะของไซโคพาธนั้น ถูกพัฒนามาอย่างไร  ทัศนคติต่อโลกรอบตัวเป็นอย่างไรและพบว่า การปรับบุคลิกภาพให้เหมาะสมตั้งแต่เด็กนั้นมีส่วนสำคัญ เด็กที่มีแนวโน้มต่อต้านสังคมหรือมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงผิดปกติสามารถพัฒนาไปเป็นโรคจิตเภทในวัยผู้ใหญ่ได้ ดังนั้นอย่ารีรอที่จะ ปรึกษาจิตแพทย์ ถ้าบุตรหลานมีบุคลิกภาพที่อาจนำไปสู่การป่วยในอนาคต

เกร็ดสุขภาพ : เด็กที่แสดงการขาดความเห็นอกเห็นใจ ขาดความรู้สึกผิด  ใจแข็งและเก็บกดอารมณ์ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคทางจิตเมื่อเป็นผู้ใหญ่ อาจแสดงพฤติกรร แบบไซโคพาธ อาการ ต่อต้านสังคม เช่น การกลั่นแกล้ง อันธพาล  มีความก้าวร้าว สนุกกับการเล่นบทโหดมากกว่าใจดี และไม่ค่อยสร้างสร้างมิตรภาพระยะยาว จากการศึกษาทางจิตวิทยาพบว่า ลักษณะบุคลิกภาพแบบใจแข็งและไม่แสดงอารมณ์นั้นได้รับอิทธิพลจากยีน ส่วนพฤติกรรมต่อต้านสังคม มักจากสิ่งแวดล้อมมากกว่าพันธุกรรม

ไซโคพาธและความรุนแรง เชื่อมโยงกันอย่างไร  ทำไมฆาตรกรต้องเป็นโรคจิต

ไซโคพาธ อาการ, ไซโคพาธ คือ
Image Credit : freepik.com

ไซโคพาธ คือ ตัวนำไปสู่การเป็น “อาชญากร” หรือ “ฆาตกรโรคจิต” ได้จริงไหม ? นักจิตวิทยาพบว่าพฤติกรรมต่อต้านสังคมมีแนวโน้มมากกว่าคนอื่นๆ ที่จะข้ามขอบเขตทางศีลธรรม และนำไปสู่การข่มขู่ ทำร้าย และใช้ความรุนแรง รวมทั้งหันเหความผิดอย่างไร้สำนึกผิดชอบชั่วดี ทว่าความเชื่อมโยงระหว่างไซโคพาธที่มีพฤติกรรมต่อต้านสังคมนั้น ไม่ใช่เหตุผลที่แท้จริงของอารก่อเหตุอาชญากรรม แม้แต่คนป่วยโรคจิตเองทุกคนก็ไม่ใช่ฆาตกรหรือจะต้องเป็นอาชญากรเสมอไป ยังต้องประกอบด้วยความซับซ้อนของบุคลิกภาพและรูปแบบทางพยาธิวิทยาอื่นๆ ที่นำไปสู่พฤติกรรมที่รุนแรง ขาดสามัญสำนึก ไม่เกรงกลัวต่อการกระทำผิดกฎหมาย และแน่นอนว่ามีฆาตรกรและอาชญากรรมที่เกิดจากคนที่ไม่ได้ป่วยทางจิตด้วยเช่นกัน

มีฆาตกรโรคจิตกี่คน ? ทำไมซีรี่ย์ชอบให้บทบาทไซโคพาธกับฆาตรกร

ในประชากรทั่วไป มีคนที่เป็นไซโคพาธประมาณร้อยละ 1 แต่พบว่าบรรดาอาชญากรรมรุนแรงมากกว่าหนึ่งในสี่ก่อเหตุโดยคนโรคจิต และมีหลักฐานว่ามักจะกระทำความผิดซ้ำหลายครั้ง แต่คนที่เป็นไซโคพาธหลายคนก็ไม่ได้มีประวัติการก่อเหตุความรุนแรงแต่อย่างใด สรุปได้ว่า ฆาตกรต่อเนื่องทุกคนไม่จำเป็นต้องเป็นโรคจิต แม้ว่าฆาตกรต่อเนื่องหลายคน (อาจเป็นส่วนใหญ่) จะมีบุคลิกภาพแบบไซโคพาธ คือ ขาดความเห็นอกเห็นใจเหยื่อ ไม่มีสำนึกผิดชอบชั่วดี คาดเดาพฤติกรรมไม่ได้ มีความเย็นชา แข็งกระด้าง แต่บุคลิกภาพอีกด้านกลับเป็นคนที่มีเสน่ห์ น่าค้นหา ด้วยบุคลิกภาพที่ขัดแย้งกันนี้ เลยเป็นที่มาของบทบาทที่น่าสนใจและชวนติดตามในซีรี่ย์ที่ให้เราติดกันงอมแงมนั่นเอง

เกร็ดสุขภาพ : มีตัวละครที่มีบุคลิกภาพแบบไซโคพาธหรือมีพฤติกรรมต่อต้านสังคมมากมาย เช่น โทฮยอนซูในเรื่อง Flower of Evil โมแทกู จาก Voice หรือฆาตกรต่อเนื่องจากเรื่อง Mouse หากเป็นทางฝั่งตะวันตกก็เรื่อง Hannibal แม้แต่ในการ์ตูนก็มีตัวละครที่มีบุคลิกภาพแบบไซโคพาธ เช่น จามาบิ ยูเมะโกะ จากเรื่อง Kakegurui ยานามิ ไลท์ ใน Death Note หรือโดมะ จาก Demon Slayer เป็นต้น

ไซโคพาธ รักษาได้หรือไม่ ?

ไซโคพาธ อาการ, ไซโคพาธ คือ
Image Credit : freepik.com

การรักษาลักษณะทางบุคลิกภาพและโรคทางจิตเวชที่หยั่งรากลึกในโครงข่ายประสาท  พัฒนาโดยอาศัยความหัศจรรย์ของระบบประสาทและสมองที่มีความยืดหยุ่น ทำให้ สามารถซ่อมแซม “การเชื่อมต่อ” ที่ขาดหายของสัญญาณประสาท ซึ่งมีทั้งการบำบัดกาย ใจ การปรับพฤติกรรมในเชิงบวก รวมทั้งการใช้ยา ทำให้การรักษาโรคทางจิตหลายอย่างได้ผลดี อันสามารถปรับพฤติกรรมของผู้ที่มีลักษณะบุคลิกภาพแบบไซโคพาธให้มีอาการดีขึ้นได้

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการรักษาไซโคพาธ อาการทางจิตที่สำคัญคือ ความรู้สึกด้านชา ไม่มีความสำนึกความผิด ไม่กลัวและไม่เรียนรู้อะไรจากการลงโทษ  บางคนถึงกับกล่าวว่า ไซโคพาธ ไม่ใช่คนชั่วร้าย เพียงแต่ตัดสินใจได้แย่มาก ส่วนหนึ่งอาจมาจากความผิดปกติทาสมองด้านการคิด การวางแผน การตัดสินใจ เช่น ถ้าเราต้องการเงิน  100,000 บาท แล้วเราจะได้มันจริงๆ โดยเราจะต้องฆ่าใครสักคนก่อน ในคนปกติทั่วไปแล้วสมองก็ต้องทำงานประมวลผลว่า “เดี๋ยวก่อน!  มันไม่ถูกต้อง มันไม่คุ้มค่าที่จะสละชีวิตของคนอื่นเพื่อเงิน และจะรับผลที่ตามมาจากการกระทำอย่างไร” แต่กับไซโคพาธ คือ จะไม่มีวิจารณญาณถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ ไม่รู้โทษ รวมทั้งอาจเลยไปถึงละเลยคุณธรรม จริยธรรมที่ควรมี ซึ่งอาจจะนำมาสู่การก่อเหตุที่ผิดกฎหมายและผิดศีลธรรมได้

ไซโคพาธ คือบุคลิกภาพที่ผิดปกติอย่างหนึ่งซึ่งมีพฤติกรรมต่อต้านสังคม ไม่รู้สำนึกผิดชอบชั่วดี ขาดความยั้งคิด มีความก้าวร้าวและอาจก่อเหตุรุนแรงจนถึงขั้นทำสิ่งที่ผิดกฎหมายได้ แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีบุคลิกภาพอีกด้านหนึ่งที่แสดงถึงความน่ารัก มีเสน่ห์ ดูเป็นคนดี ซึ่งเกิดจากการแกล้งทำเพื่อให้ได้สิ่งที่ตนเองต้องการ หากสังเกตุคนรอบตัวแล้วพบว่ามีพฤติกรรมรุนแรงหรือมีลักษณะที่เข้าข่ายการเป็นไซโคพาธ ควรแนะนำให้ไปปรึกษาจิตแพทย์และทำการรักษาโดยเร็ว เนื่องจากอาจนำไปสู่การสร้างความเดือดร้อนให้กับตัวเองและคนอื่นได้

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : verywellmind.com, forbes.com, medicalnewstoday.com

Featured Image Credit : freepik.com/rawpixel.com

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save