“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
หญ้าหนวดแมว ข้อควรระวัง มีอะไรบ้าง ? ชวนรู้จักสมุนไพรชื่อน่ารัก แต่สารพัดประโยชน์ !
สมุนไพรไทยนั้นมีอยู่มากมายหลากหลายชนิด ทั้งที่รู้จักและคุ้นเคยกันดี รวมถึงสมุนไพรชื่อแปลกต่างๆ มากมาย เช่น กะเม็งตัวผู้ ใบสามเสือ ใบอังกาบหนู สรรพคุณที่มีมากมาย และอื่นๆ อีกหลายชนิด ซึ่งการนำสมุนไพรมาใช้นั้น ก็เป็นภูมิปัญญาแพทย์แผนโบราณที่มีมาอย่างเนิ่นนาน และสมุนไพรหลายๆ ชนิดก็ได้รับการศึกษาวิจัยทางการแพทย์และทางวิทยาศาสตร์แล้วว่ามีสรรพคุณที่ดีต่อร่างกายจริง และอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการนำเอาสมุนไพรมาใช้บรรเทาอาการรักษาโรคต่างๆ ในบทความนี้ จะพาไปรู้จักสมุนไพรที่ทั้งชื่อแปลกและน่ารักอีกชนิดหนึ่งอย่าง “หญ้าหนวดแมว” กันให้มากขึ้นค่ะ หญ้าหนวดแมว คืออะไร ? เป็นสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคอะไรได้บ้าง ? มีวิธีการนำเอาไปใช้อย่างไร รวมถึง หญ้าหนวดแมว ข้อควรระวัง มีอะไรบ้าง จะได้ใช้สมุนไพรชนิดนี้กันอย่างปลอดภัย และให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุดนะคะ
ชวนรู้จักสมุนไพร หญ้าหนวดแมว ข้อควรระวัง ประโยชน์ วิธีใช้ สรรพคุณมีอะไรบ้าง มาดูกัน !
ถ้าพูดชื่อสมุนไพร “หญ้าหนวดแมว” ขึ้นมา บางคนก็อาจจะนึกภาพเจ้าสมุนไพรชนิดนี้ไม่ออก และกำลังสงสัยอยู่ว่า หญ้าหนวดแมว คืออะไร ? หญ้าหนวดแมว เป็นพืชที่จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับกระเพรา มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Orthosiphon stamineus มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ เช่น อีตู่ดง บางรักป่า พยับเมฆ หญ้าหนวดเสือ เป็นต้น หญ้าหนวดแมวจัดเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก สูงประมาณ 30 – 60 เซนติเมตร โดยลำต้นและกิ่งก้านจะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมชัดเจน มีสีม่วงแดง มีขนเล็กน้อย ดอกจะมีสีขาว หรือสีขาวอมม่วงอ่อน มีลักษณะเป็นช่อกระจะตั้งขึ้น และมีดอกย่อยเล็กๆ ภายในช่อ บริเวณปลายยอดจะเป็นรูปฉัตร สาเหตุที่ชื่อว่า “หญ้าหนวดแมว” ก็เพราะว่าตรงกลางมีเกสรสีขาวยาวโผล่ออกมา มีลักษณะคล้ายกับหนวดแมว จึงเรียกกันว่าหญ้าหนวดแมวนั่นเอง แล้วสมุนไพรชนิดนี้ มีประโยชน์ในด้านใดบ้าง มีการนำเอามาใช้อย่างไร ? หญ้าหนวดแมว ข้อควรระวัง มีอะไรบ้าง มาเจาะลึกกันเลยค่ะ
เกร็ดสุขภาพ : หญ้าหนวดแมวจัดเป็นพืชป่าในเขตร้อนชื้น มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียใต้ เช่น ประเทศอินเดีย บังคลาเทศ ศรีลังกาและทางตอนใต้ของจีน มีการกระจายพันธ์ุไปสู่ประเทศเขตร้อนใกล้เคียง เช่น พม่า ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย และอื่นๆ ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้ยาหนวดแมวกันมากขึ้นสำหรับการบำบัดรักษาโรคและภาวะต่างๆ จึงทำให้ได้รับความนิยมและมีการใช้หญ้าหนวดแมวเพิ่มมากขึ้น
หญ้าหนวดแมว สรรพคุณและข้อควรระวัง
1. ใช้สำหรับขับปัสสาวะ
ในตำรายาไทย หน้าหนวดแมว เป็นสมุนไพรไทย รักษาโรคมาอย่างยาวนาน และได้มีการใช้ใบของต้นหญ้าหนวดแมวชงดื่มเป็นชาสำหรับขับปัสสาวะ โดยใช้ใบที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป นำมาล้างให้สะอาด นำมาผึ่งที่ร่มให้แห้ง จากกนั้นนำใบหญ้าหนวดแมวประมาณ 4 กรัมมาชงกับน้ำเดือดประมาณ 750 มิลลิลิตร ดื่มแทนน้ำตลอดทั้งวัน จะช่วยขับปัสสาวะได้ นอกจากนี้ การศึกษาในหนูทดลองพบว่า สารสกัดจากใบหญ้าหนวดแมวมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ขับกรดยูริก และขับโซเดียมได้ ทั้งนี้ หญ้าหนวดแมว ข้อควรระวังคือ ห้ามใช้หญ้าหนวดแมวในการรักษาภาวะบวมน้ำที่เป็นผลมาจากปัญหาของหัวใจและไต เพราะอาจเป็นอันตรายได้
เกร็ดสุขภาพ : ผลข้างเคียงของการรับประทานหญ้าหนวดแมว ข้อควรระวังที่อาจส่งผลต่อร่างกายคือ ใจสั่น หายใจลำบาก สำหรับผู้ที่ทดลองดื่มสมุนไพรชนิดนี้เป็นครั้งแรก ควรชงดื่มด้วยการจิบในปริมาณเล็กน้อยก่อน และถ้าหากมีอาการผิดปกติควรหยุดดื่มทันที และดื่มน้ำตามมากๆ โดยอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นเอง
2. มีฤทธิ์ในการรักษานิ่ว
หญ้าหนวดแมว สรรพคุณนั้นสามารถรักษานิ่วได้ การศึกษาจากโรงพยาบาลรามาธิบดีพบว่าการใช้ยาชงจากหญ้าหนวดแมวขนาด 4 กรัม ชงกับน้ำเดือด 750 มิลลิตร และให้คนไข้ดื่มแทนน้ำ (ศึกษาจากคนไข้ 27 คน) ผลการศึกษาพบว่า ปัสสาวะคล่องและใส อาการปวดนิ่วลดลงและนิ่วมีขนาดเล็กลง และหลุดออกมาได้เอง และหายจากอาการปวดนิ่วอีกด้วย
3. ช่วยรักษาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
นอกจากหญ้าหนวดแมวจะมีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะและช่วยรักษานิ่วได้แล้ว ยังสามารถลดการเกาะติดของเชื้อประเภท Uropathognic Escherichia coli กับเซลล์กระเพาะปัสสาวะได้ ทำให้เชื้อถูกขับออกไปจากระบบทางเดินปัสสาวะได้ง่ายและเร็วขึ้น และยังช่วยลดอาการอักเสบได้ด้วย
4. ช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้
สารสกัดจากหญ้าหนวดแมวสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูทดลองที่เป็นโรคเบาหวานได้ และช่วยป้องกันความเป็นพิษที่เกิดจาดการได้รับกลูโคสในปริมาณมาก และมีการสันนิษฐานว่า สาร Sinensetin ที่สกัดได้จากหญ้าหนวดแมวเป็นสารสำคัญชนิดหนึ่งที่สามารถต้านเบาหวานชนิดที่ไม่ขึ้นกับอินซูลินได้
5. ช่วยรักษาโรคข้ออักเสบได้
หญ้าหนวดแมวมีสารต้านอนุมูลอิสระจำพวกฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์ ซึ่งอาจมีคุณสมบัติสามารถรักษาโรคข้ออักเสบได้ มีการศึกษานำเอาสารสกัดจากหญ้าหนวดแมวมาใช้กับหนูทดลอง พบว่าหญ้าหนวดแมวมีฤทธิ์ลดอาการอุ้งเท้าบวมในหนูทดลองที่มีอาการอักเสบชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรังได้ ทั้งนี้ ยังช่วยลดอาการอักเสบในเซลล์ของมนุษย์และหนูที่เป็นโรคข้ออักเสบได้ด้วยเช่นกัน
นอกจากประโยชน์ข้างต้นแล้ว หญ้าหนวดแมว สรรพคุณด้านอื่นๆ ยังมีอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นช่วยลดไขมันในเลือด ลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ และคอเลสเตอรอลชนิด LDL และยังเป็นอีกหนึ่งในสมุนไพรลดความดันโลหิตสูง รวมถึงช่วยลดไข้ และยังมีฤทธ์ยั้บยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากได้ด้วย อย่างไรก็ตาม แม้หญ้าหนวดแมวจะมีประโยชน์ในด้านสุขภาพหลายประการ แต่ก็มีข้อจำกัดในการใช้ด้วยเช่นกัน หญ้าหนวดแมว ข้อควรระวังมีอะไรบ้าง จะได้ใช้อย่างถูกต้องและไม่อันตราย ไปดูในส่วนถัดไปเลยค่ะ
หญ้าหนวดแมว ข้อควรระวัง และวิธีการใช้ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
- ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและโรคไต ไม่ควรรับประทานหญ้าหนวดแมวโดยเด็ดขาด เพราะมีโพแทสเซียมสูงมาก ถ้าไตไม่สามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ ร่างกายจะไม่สามารถขับโพแทสเซียมออกมาได้ ทำให้เป็นโทษต่อร่างกายร้ายแรง นอกจากนี้ การได้รับโพแทสเซียมในปริมาณสูง อาจไปกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ และส่งผลกระทบต่ออาการของโรคหัวใจได้
- การเลือกใบหญ้าหนวดแมวมาใช้เป็นยาสมุนไพรนั้น ควรเลือกใช้ใบอ่อนมาปรุงเป็นยา เพราะใบแก่จะมีฤทธิ์เข้มข้นมาก อาจทำให้ไปกดหัวใจได้ และควรใช้ใบตากแห้งมาปรุงเป็นยา และใช้ใบสดอาจจะทำให้มีอาการคลื่นไส้และมีอาการใจสั่นได้ด้วย
- สำหรับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์และให้นมบุตร ให้หลีกเลี่ยงการบริโภคหญ้าหนวดแมว เพราะปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยของการใช้หญ้าหนวดแมวสำหรับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรอย่างเพียงพอ
- ผู้ที่กำลังใช้ยาต้านเศร้าประเภทยาลิเทียม ไม่ควรใช้หญ้าหนวดแมว เนื่องจากหญ้าหนวดแมวอาจทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง หรืออาจเกิดผลข้างเคียงได้ ดังนั้น จึงควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนใช้ยา ทั้งเพื่อความปลอดภัยและเพื่อประสิทธิภาพของยาที่ใช้รักษาโรคปัจจุบัน
- การใช้หญ้าหนวดแมว ข้อควรระวังอีกประการหนึ่งคือ ไม่ควรใช้สมุนไพรหญ้าหนวดแมวร่วมกับการรับประทานยาแอสไพริน เนื่องจากฤทธิ์ของหญ้าหนวดแมวจะส่งผลให้ยาแอสไพรินไปจับกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น
ในตอนนี้ทุกคนก็คงจะรู้จักกับสมุนไพรชื่อน่ารักน่าชังอย่างหญ้าหนวดแมวกันเพิ่มมากขึ้นแล้ว และหญ้าหนวดแมวนั้น ก็มีประโยชน์ในเชิงสุขภาพหลากหลายด้านด้วยกัน สำหรับการนำหญ้าหนวดแมวมาใช้นั้น ก็มีทั้งการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป เช่น หญ้าหนวดแมวแคปซูล หญ้าหนวดแมวผง ชาหญ้าหนวดแมว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หญ้าหนวดแมว ข้อควรระวังในการใช้ก็มีอยู่หลายประการด้วยกัน ดังนั้น ก่อนจะใช้หญ้าหนวดแมว ควรประเมินสุขภาพของตัวเองก่อนว่าสามารถใช้ได้หรือไม่ หากมีโรคประจำตัวอย่างโรคหัวใจหรือโรคไต รวมถึงอยู่ในภาวะตั้งครรภ์ ให้นมบุตร หรือใช้ยาบางชนิดเป็นประจำ ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้หญ้าหนวดแมว เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ และสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวอื่นๆ ก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาสมุนไพรทุกประเภท เพื่อความปลอดภัยต่อร่างกายนะคะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : disthai.com, ittm.dtam.moph.go.th, nature-ceuticals.com.au, apps.phar.ubu.ac.th, pharmacy.su.ac.th
Featured Image Credit : vecteezy.com/georgeburba
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ