“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
ผิวเผือก เกิดจาก อะไร ? ต้องระวังอะไรบ้าง ? มารู้จักโรคพันธุกรรมแบบนี้กัน !
โรคผิวเผือกเป็นโรคที่อาจพบได้ไม่บ่อยนักในประเทศไทย แต่ก็มีคนไทยที่ป่วยเป็นโรคผิวเผือกตั้งแต่กำเนิดจนทำให้มีผิวขาวซีดกว่าคนทั่วไป ซึ่งหลายคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ความจริงแล้วโรคผิวเผือกนั้นส่งผลกระทบมากกว่าที่คิด เพราะนอกจากจะมีผิวขาวจนดูแปลกตาแล้วก็ยังทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติอีกด้วย ในบทความนี้เราจึงอยากพาไปทำความรู้จักกันว่าโรค ผิวเผือก เกิดจาก อะไร มีอาการอย่างไร สามารถรักษาได้มั้ย ? ไปดูกันเลยค่ะ
ผิวเผือก เกิดจาก อะไร ? ทำความรู้จักกับโรคทางพันธุกรรมชนิดนี้ให้มากขึ้นกันเถอะ !
ผิวเผือก เกิดจากอะไร ? โรคผิวเผือก (albinism) เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่กำเนิด เนื่องจากความผิดปกติของยีนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเม็ดสีในร่างกาย ตั้งแต่การกำหนดสีผิว ผม และสีของม่านตา เมื่อเป็นโรคผิวเผือกร่างกายจะไม่สามารถผลิตเม็ดสีออกมาได้ตามปกติ หรือผลิตได้น้อยกว่าคนทั่วไป จึงทำให้มีลักษณะที่แตกต่างไปจากคนอื่น เช่น ผิวขาวซีด ผมขาว รวมทั้งมีปัญหาในการมองเห็นสิ่งต่างๆ ด้วย ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคผิวเผือกได้ แต่ผู้ที่เป็นโรคผิวเผือกหากดูแลตนเองดีๆ ก็จะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ และไม่มีปัญหาในการใช้ชีวิตแต่อย่างใด
อาการของผิวเผือกเป็นอย่างไร?
เมื่อได้รู้แล้วว่าโรคผิวเผือก เกิดจากอะไร ก็มาดูลักษณะอาการของผู้ที่มีผิวเผือกกันเลยค่ะ โดยผู้ที่มีผิวเผือกนั้นมักจะมีอาการผิดปกติทางผิวหนัง อาการผิดปกติของเส้นผม และอาการผิดปกติของดวงตา โดยอาจมีความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมีความผิดปกติทั้งหมดที่กล่าวมา และในบางรายอาจจะมีอาการอย่างอื่นด้วย ดังนี้
1. อาการทางผิวหนัง
เป็นอาการที่เด่นชัดที่สุดของผู้ป่วยโรคผิวเผือก คือ มีผิวขาวซีดผิดปกติเมื่อเทียบกับพี่น้องหรือพ่อแม่ โดยอาจมีผิวสีขาวจัดหรือขาวกว่าคนทั่วไป ขึ้นอยู่กับความผิดปกติของการผลิตเม็ดสี นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจจะมีผิวที่ไวต่อแสงแดดมากกว่าคนปกติด้วย คนที่ไม่รู้ว่าผิวเผือก เกิดจากอะไรอาจจะมองว่าผิวขาวเป็นเรื่องที่ดี แต่ความจริงแล้วมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคผิวหนังอย่างมากเลยค่ะ เพราะผู้ที่มีผิวเผือกจะโดนแสงแดดทำร้ายได้ง่ายกว่าคนทั่วไปโดยที่ผิวจะไม่เปลี่ยนสีเป็นสีที่เข้มขึ้น หรืออาจจะมีอาการผิวแห้ง ผิวลอก ผิวเปลือกส้ม เป็นฝ้า กระร่วมด้วย อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งผิวหนังมากกว่าคนทั่วไปหลายเท่าเลยค่ะ
2. อาการเกี่ยวกับเส้นผม
ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีสีขนตาและสีคิ้วจางลง หรืออาจจะมีผมสีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงสีขาวเลยก็ได้ โดยสีผมนั้นจะขึ้นกับจำนวนเม็ดสีที่ร่างกายผลิตออกมา เป็นอาการที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพียงแต่อาจจะดูแปลกตาเมื่ออยู่ในประเทศแถบเอเชียที่คนส่วนใหญ่มีผมสีดำและสีน้ำตาลเข้ม
3. อาการเกี่ยวกับดวงตา
ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีตาสีฟ้าอ่อน สีเทา ไปจนถึงสีน้ำตาลอ่อนเลยก็ได้ และสีของตาอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามอายุที่มากขึ้น ทั้งนี้โรคผิวเผือกที่เกี่ยวข้องกับดวงตานั้นส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตค่อนข้างมาก เพราะถ้ามีเม็ดสีที่ม่านตาน้อยก็อาจจะทำให้แสงแดดผ่านเข้าม่านตาได้ง่ายเกินไปจนอาจทำร้ายดวงตาได้ และยังมีปัญหาในการมองเห็น ส่งผลให้การเคลื่อนไหวหรือทำให้การหยิบจับสิ่งของเป็นเรื่องยากขึ้นด้วย แต่อาการเหล่านี้จะดีขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุและความเคยชินของร่างกาย และผู้ป่วยโรคผิวเผือกอาจจะมีปัญหาด้านการมองเห็นอย่างอื่นด้วย เช่น
- ตาไวต่อแสง
- ตากระตุกโดยไม่รู้ตัว
- สายตาเอียง
- ตาเหล่
- กะระยะความตื้นหรือลึกได้ไม่ค่อยดี
- ตาบอด
4. อาการเฉพาะกลุ่ม
นอกจากอาการต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว ผู้ที่มีผิวเผือกบางประเภทอาจมีปัญหาอื่นด้วย เช่น เลือดไหลไม่หยุด มีปัญหาเกี่ยวกับปอด ร่างกายอ่อนแอติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป และอื่นๆ
เกร็ดสุขภาพ : อันที่จริงแล้วโรคผิวเผือกไม่ได้เป็นโรคที่ร้ายแรงทางด้านร่างกายเท่ากับโรค 4s (สามารถอ่าน โรค 4s คืออะไร ? เป็นข้อมูลเพิ่มเติมได้ค่ะ) แต่อาจจะส่งผลกระทบต่อจิตใจในด้านการเข้าสังคมได้โดยเฉพาะในวัยเด็กที่ยังไม่เข้าใจว่าผิวเผือก เกิดจากอะไร ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจจะถูกแบ่งแยกหรือถูกปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียม จนนำไปสู่การถูกรังแกหรือถูกกลั่นแกล้งได้ เนื่องจากมีลักษณะร่างกายที่ผิดแปลกจากคนทั่วไป ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกเห็นคุณค่าในตัวเองน้อยลง เกิดความเครียด ปลีกตัวออกจากสังคม จนถึงขั้นเป็นโรคกลัวสังคมหรือป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้เลย
การรักษาโรคผิวเผือก
ในปัจจุบันโรคผิวเผือกนั้นไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เนื่องจากเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติในระดับโครโมโซม ทำได้เพียงบรรเทาอาการของโรคและดูแลร่างกายให้สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยสามารถทำตามคำแนะนำได้ตามนี้
1. การดูแลผิวหนัง
ควรหลีกเลี่ยงการตากแดดหรือโดนแสงแดดโดยตรง หมั่นทาครีมที่มีส่วนผสมของมอยซ์เจอไรเซอร์เพื่อเสริมความแข็งแรงให้แก่ชั้นผิวป้องกันอาการผิวแห้ง คัน ผิวลอก (สามารถอ่าน ผิวแห้ง คัน ใช้อะไรดี? เป็นข้อมูลเพิ่มเติมได้นะคะ) และควรทาครีมกันแดดที่มีค่าSPF30 ขึ้นไปอยู่เสมอแม้จะไม่ได้ออกแดดก็ตาม นอกจากนี้ ควรแต่งกายให้มิดชิดเพื่อให้ผิวหนังโดนแสงแดดน้อยที่สุด และควรเข้ารับการตรวจสุขภาพผิวหนังเป็นประจำทุกปี เพื่อตรวจหาสัญญาณของโรคมะเร็งผิวหนังก่อนที่จะลุกลาม
2. การดูแลดวงตา
สำหรับผู้ที่รู้ว่าตนเองเป็นโรคผิวเผือกจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการตรวจตาเป็นประจำทุกปี ควรสวมแว่นตากันแดดอยู่เสมอเมื่อต้องออกข้างนอก เพื่อช่วยลดความไวต่อแสงของดวงตา และพยายามไม่อยู่ในที่ที่มีแสงจ้า หรือหลีกเลี่ยงการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์และมือถือเป็นเวลานาน ในกรณีที่มีอาการตาเหล่ร่วมด้วยแพทย์อาจจะแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดเพิ่มเติม
เกร็ดสุขภาพ : อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าโรคผิวเผือก เกิดจากอะไร ในปัจจุบันจึงไม่สามารถป้องกันโรคผิวเผือกได้อย่างสมบูรณ์ ทำได้เพียงให้คนในครอบครัวที่รู้ตัวว่ามีโอกาสส่งต่อยีนผิวเผือกให้ลูกเตรียมความพร้อมให้มากที่สุด โดยเข้ารับคำแนะนำทางพันธุศาสตร์ก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นกระบวนการให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคทางพันธุกรรม และช่วยในการตรวจหาโรคผิวเผือกของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ รวมทั้งช่วยบรรเทาอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
โรคผิวเผือก เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาได้ ทำได้เพียงบรรเทาอาการ รวมถึงการดูแลตัวเองดีๆ เพื่อให้ดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุขและมีสุขภาพแข็งแรง ผู้ที่มียีนผิวเผือก หากต้องการแต่งงานมีบุตร ควรมีการวางแผนครอบครัวร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทำการตั้งครรภ์ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับลูกน้อยในครรภ์ได้ค่ะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : samitivejhospitals.com, my.clevelandclinic.org, albinism.org, nhs.uk
Featured Image Credit : freepik.com/ufabizphoto
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ