X

โรคใหม่ ที่ต่อเนื่องจาก “โควิด” ที่ชวนระวังหลังจากนี้มีอะไรบ้าง ?

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

โรคใหม่ ที่ต่อเนื่องจาก “โควิด” ที่ชวนระวังหลังจากนี้มีอะไรบ้าง ?

การระบาดใหญ่ของ COVID – 19 ทำให้ทั่วโลกตกอยู่ในอันตรายที่คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล แม้โลกปัจจุบันมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการแพทย์ อย่างก้าวกระโดด ยังต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะสามารถหลุดพ้นจากวิกฤตการณ์โควิดมาได้ เป็นธรรมดาที่ทุกคนจะมีความหวาดระแวงกลัวการระบาดหนักของ โรคใหม่ อื่นๆ รวมถึงโรค COVID – 19 ที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การกลายพันธุ์ที่ไม่สามารถยับยั้งได้ โรคระบาดใหม่ที่ควรระวังหลังจากนี้มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

โรคใหม่ ที่ต่อเนื่องจากโควิด หลังจากนี้ มีโรคอะไรที่ควรระวังบ้าง ?

โรคใหม่, โควิด อาการล่าสุด
Image Credit : freepik.com

ภายหลังเหตุการณ์ Pandemic อย่างการแพร่ระบาดของ COVID – 19 การเฝ้าระวังโรคใหม่ต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อมวลมนุษยชาติจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง  แม้ว่าความสนใจของคนทั่วไปจะมุ่งเน้นไปที่ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่หรือโรคระบาดชนิดใหม่อื่นๆ โรคติดเชื้อที่เคยระบาดอยู่เดิมก็ไม่ได้หายไปจากโลกอย่างถาวร แถมฟื้นคืนชีพกลับมาระบาดอีกครั้ง  ในบางครั้งอาจพบว่ามีการพาดหัวข่าว เจอโรคชนิดใหม่แปลกๆ ที่ดูน่ากลัว จนวิตกกังวลว่าจะเหมือนกับโควิดที่รุนแรงไปทั่วโลก แต่ความจริงแล้ว เป็นโรคเก่าแก่ที่แทบลืมกันไปแล้วกลับมาระบาดใหม่อีกครั้งนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกและกระทรวงสาธารณสุขของทุกประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยเราไม่ได้นิ่งนอนใจต่อสถานการณ์แต่อย่างใด ได้กำหนดมีนโยบายเชิงรุกในการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งมีมาตรการที่เคร่งครัดในการเฝ้าระวังทั้งโรคใหม่ โรคติดต่อเดิม และโรคระบาดประจำถิ่นที่อาจก่อให้เกิดการระบาดในวงกว้าง รวมถึงเฝ้าระวังว่า โอควิด อาการล่าสุดจะเป็นอย่างไร มีการกลายพันธ์ุหรือไม่ มาดูว่าโรคต่างๆ ที่ต้องให้ความสนใจในยุคหลังโควิด มีอะไรบ้าง และเราจะมีแนวปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกัน และรักษาอย่างไร เพื่อป้องกันการระบาดให้ได้มากที่สุด

โรคระบาดที่ควรเฝ้าระวัง ทั้งโรคเก่าและโรคใหม่

1. ไข้หวัดใหญ่ : การต่อสู้อย่างต่อเนื่องของมวลมนุษยชาติ

ก่อนการแพร่ระบาดของไวรัส COVID – 19 ไข้หวัดใหญ่ เคยเป็นโรคระบาดที่คร่าชีวิตชาวโลกไปไม่น้อย และเคยมีเหตุการณ์ระบาดใหญ่มาหลายต่อหลายครั้ง แม้หลังยุคโควิด อาการล่าสุด ไข้หวัดใหญ่ไม่ได้มีความรุนแรงเหมือนเช่นเดิม  แต่ความคล้ายคลึงกันของไข้หวัดใหญ่กับโควิด -19 ทำให้เกิดความกังวลว่าไข้หวัดใหญ่อาจเป็นโรคแฝดของโควิด แต่เป็นสายพันธุ์ใหม่ๆ กลายเป็นโรคใหม่ที่ส่งผลการระบาดในวงกว้าง เพื่อลดความเสี่ยงในการป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ควรได้รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี เพราะนอกจากจะเพื่อลดความรุนแรงของการเจ็บป่วยได้แล้ว ยังช่วยป้องกันไม่ให้มีการระบาดมากเกินไป โอกาสในการติดเชื้อในวงกว้างและกลายพันธุ์ก็น่าจะน้อยลงด้วย

เกร็ดสุขภาพ : โดยทั่วไปแล้ว สามารถฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป และควรฉีดเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะในเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี ควรฉีดเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งไข้หวัดใหญ่มักจะระบาดในช่วงฤดูฝน ราวๆ เดือนมีนาคม – พฤษภาคม และช่วงเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวในเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน ทั้งนี้ ไม่ควรฉีดในเด็กทารกที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน หรือผู้ที่มีประวัติแพ้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เพราะอาจเกิดอันตรายร้ายแรงได้

2. Respiratory Syncytial Virus (RSV): โรคที่อันตรายทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

โรคใหม่, โควิด อาการล่าสุด
Image Credit : freepik.com

Respiratory Syncytial Virus (RSV) เป็นโรคยอดฮิตในหมู่เด็กเล็ก แม้จะดูว่าเป็นปกติที่เด็กๆ จะติดเชื้อ RSV ได้ แต่การติดเชื้อที่รุนแรงเป็นอันตรายร้ายแรงกับทุกคน ไม่เฉพาะกับทารกเท่านั้น ผู้สูงอายุ และผู้ใหญ่ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องก็อันตรายไม่แพ้กัน โดยทั่วไปมักจะมีอาการคล้ายเป็นหวัดเล็กน้อย แต่ RSV สามารถลุกลามไปเป็นปอดบวม และส่งผลให้มีปัญหาระบบทางเดินหายใจที่รุนแรง การวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที ร่วมกับการเฝ้าระวังและปฏิบัติตามมาตรการแพร่ระบาดจึงถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งปัจจุบันทางการแพทย์ก็ทำได้ดี มีความตระหนักถึงปัญหา คิดถึงและส่งตรวจในเคสที่สงสัยได้อย่างรวดเร็วทันเวลา

3. Pneumococcal Disease : การป้องกันภัยคุกคามเงียบ

Pneumococcal Disease คือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส มีอาการแสดงได้หลายระดับ เช่น ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และการติดเชื้อในกระแสเลือด แม้ไม่ใช่โรคระบาดที่มีประวัติศาสตร์เอ้าท์เบรคให้เป็นที่จดจำ แต่เป็นโรคที่มีความรุนแรงและอันตรายถึงชีวิต และเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ในเด็ก  ทั้งนี้ เป็นความโชคดีที่โรคนี้ไม่ใช่โรคใหม่ จึงสามารถป้องกันได้ร้อยเปอร์เซ็นต์จากวัคซีนที่มุ่งเป้าไปที่แบคทีเรียนิวโมคอคคัสสายพันธุ์ต่างๆ  การบรรจุวัคซีนนิวโมคอคคัสในตารางการฉีดวัคซีน ( เป็นวัคซีนพิเศษที่ไม่มีในตารางภาคบังคับของรัฐ ) และการสนับสนุนให้มีการสร้างภูมิคุ้มกันในวงกว้างถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุขหลังสถานการณ์ COVID – 19

4. วัณโรค (TB) : ความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ในการกำจัดให้หมดสิ้น

โรคใหม่, โควิด อาการล่าสุด
Image Credit : freepik.com

วัณโรค เป็นโรคระบาดที่มีมาแต่โบราณ และยังคงเป็นภัยคุกคามด้านสุขภาพทั่วโลก โดยทั่วไปรู้จักวัณโรคจากโรคปอด แต่ความจริงแล้ว วัณโรคเกิดได้แทบทุกอวัยวะในร่างกาย ที่สำคัญคือ เมืองไทยเราเป็นพื้นถิ่นของวัณโรค บางคนอาจเก็บเชื้อไว้ในร่างกายมาแสนนานโดยไม่มีอาการติดเชื้อ แต่เมื่อเกิดการระบาดของโควิด อาการล่าสุดที่ร่างกายอ่อนแอ ทำให้วัณโรคฟื้นตัวกลับขึ้นมาระบาดได้อีกครั้ง แม้จะมีความพยายามมานานหลายทศวรรษ วัณโรคยังคงเป็นความท้าทายของวงการสาธารณสุข เพราะไม่ใช่โรคใหม่ วัณโรคจึงมักถูกมองข้าม ความเชี่ยวชาญในการวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันที่ยั่งยืน ล้วนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องฝึกฝนและสร้างความตระหนักให้บุคคลทางการแพทย์ ยิ่งหลังสถานการณ์ COVID – 19 การแก้ปัญหาวัณโรคจำเป็นต้องอาศัยความทุ่มเทอย่างต่อเนื่องและแนวทางที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเอาชนะและกำจัดโรคนี้ให้หมดไป

5. ฝีดาษและไข้ทรพิษ และโรคหัด : การป้องกันการฟื้นตัวของโรคที่ป้องกันได้

โรคฝีดาษ โรคไข้ทรพิษ และโรคหัดที่เหมือนหายไปจากโลกในช่วงระยะเวลาหนึ่ง กลับมาฮือฮาอีกครั้งด้วยการระบาดของฝีดาษลิง แถมโรคหัดได้กลับมาอุบัติซ้ำในไทยด้วย จึงต้องรณรงค์ให้มีการฉีดวัคซีนครบร้อยเปอร์เซ็นต์ การมุ่งเน้นให้ความสำคัญแต่กับโรค COVID – 19 ที่ผ่านมาทำให้งานด้านการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้ออื่นๆ ถูกเบียดบังไป ความครอบคลุมของการฉีดวัคซีนจึงมีความสำคัญในการป้องกันการฟื้นตัวของโรค และปกป้องโลกจากการระบาดของโรคที่สามารถป้องกันได้

6. โรคตับอักเสบ : ความท้าทายที่หลากหลาย

โรคตับอักเสบ ซึ่งรวมถึงโรคตับอักเสบ A B และ C ถือเป็นความท้าทายด้านสุขภาพของประชาชนในหลายแง่มุม แม้ว่าวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอและบีจะมีให้บริการ แต่การป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบซีจำเป็นต้องมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันที่ถูกสุขอนามัย เช่น การใช้เข็มที่สะอาด และการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย กลยุทธ์การป้องกันที่ครอบคลุมจึงต้องผสมผสานทั้งการฉีดวัคซีนและการให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกันโรค เพื่อเพิ่มการควบคุมการแพร่กระจายของการติดเชื้อไวรัสเหล่านี้

7. โรคที่เกิดจากพาหะนำโรค : การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

โรคใหม่, โควิด อาการล่าสุด
Image Credit : freepik.com

โรคตามฤดูกาลและโรคที่แพร่ระบาดจากพาหะ เช่น ยุงและเห็บ สะท้อนถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อม โรคต่างๆ เช่น ไข้เลือดออก ไวรัสซิกา และโรคไลม์ เป็นการเจ็บป่วยที่อาจเกิดการระบาดอย่างหนักหลังจากยุคโควิด การใช้มาตรการป้องกันด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อม  เช่น การใช้ยาไล่แมลงและการลดถิ่นที่อยู่ของยุงและแมลง มีความสำคัญต่อการปกป้องโรค ถึงแม้ยุคนี้มีวัคซีนไข้เลือดออกที่ได้ผลดีอย่างมาก การจัดแหล่งยุงลายก็ยังเป็นมาตรการพื้นฐานที่ยังต้องดำเนินการต่อไป

เกร็ดสุขภาพ : โรคระบาดตามฤดูกาลในช่วงฤดูร้อนก็เช่น หวัดน่าร้อน โรคท้องร่วง อาหารเป็นพิษ โรคพิษสุนัขบ้า โรคที่มากับหน้าฝนก็เช่น ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ โรคฉี่หนู โรคน้ำกัดเท้า สำหรับโรคที่มาหน้าหนาวก็ได้แก่ โรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคผิวหนังอักเสบ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคปอดอักเสบ เป็นต้น

เมื่อเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคหลังโควิด  ความมุ่งมั่นด้านสาธารณสุขยังคงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง การ์ดต้องไม่ตก แม้ว่าโควิด อาการล่าสุดเปลี่ยนไปจนเหมือนไม่รุนแรงแล้ว แต่โรคอื่นๆ ยังคงมีอยู่ ควรเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการป้องกันโรคแบบองค์รวมอย่างยั่งยืน เช่น การรณรงค์ฉีดวัคซีน การมีระบบสาธารณสุขและการรักษาพยาบาลที่แข็งแกร่ง การให้ความรู้ด้านสาธารณสุขมูลฐานถือเป็นรากฐานสำคัญ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามแนวทางสร้างสุขภาพและเตรียมความพร้อมรับมือโรคใหม่ๆ ได้อย่างทันท่วงที เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : thaihealthreport.com, who.int, cdc.gov

Featured Image Credit : freepik.com/prostooleh

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save