“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
วัณโรค อันตรายไหม ? ชวนดูโรคติดต่อที่ต้องทำความรู้จักและเข้าใจให้มากขึ้น
เชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะเคยได้ยินชื่อขของโรค “วัณโรค” กันมาก่อน แต่บางคนก็ยังไม่แน่ใจว่าเป็นโรคเกี่ยวกับอะไร มีความรุนแรงมากแค่ไหน ? เป็นโรคติดต่อหรือเปล่า วัณโรค อันตรายไหม และใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ เมื่อพบเห็นผู้ป่วยที่เป็นโรควัณโรค บางคนก็อาจรู้สึกกลัวและรังเกียจได้ ดังนั้น เราจึงอยากชวนมาทำความรู้จักและทำความเข้าใจโรคนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ
วัณโรค อันตรายไหม ? มารู้จักโรคนี้ให้มากขึ้นกัน
วัณโรค หรือ Tuberculosis (TB) เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่งที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Tuberculosis ซึ่งเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดวัณโรค ถ้าถามว่า วัณโรคปอดเกิดจากอะไร ก็เกิดจากเชื้อชนิดนี้นี่เอง เมื่อเชื้อลงสู่ถุงลมปอด ก็จะทำให้เกิดการอักเสบ และเชื้อตัวนี้ยังทำให้เกิดวัณโรคกับอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายได้อีกด้วย เช่น ต่อมน้ำเหลือง กระดูกสันหลัง ข้อ ลำไส้ เยื่อหุ้มสมอง เป็นต้น แล้ววัณโรค อันตรายไหม ? ต้องบอกว่า วัณโรคถือเป็น 1 ใน 10 สาเหตุการเสียชีวิตของคนทั่วโลกเลยทีเดียว และส่วนใหญ่ที่พบได้บ่อยก็คือวัณโรคปอดนั่นเองค่ะ
เชื้อวัณโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ผ่านการหายใจเอาเชื้อโรคที่ปะปนอยู่ในอากาศเข้าไป ขณะที่ผู้ติดเชื้อไอ จาม บ้วนน้ำลาย ขากเสมหะ เชื้อวัณโรคอาจลอยอยู่ในอากาศหรือกระจายตามวัตถุอื่นๆ ผู้ที่เป็นวัณโรคปอดเกิดจากอะไร อาจเกิดจากการติดเชื้อเพราะอยู่ร่วมกับผู้ป่วย เช่น เป็นสมาชิกในครอบครัว เป็นผู้ร่วมอาศัย เป็นผู้ร่วมงาน เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่มีเชื้อ HIV หรือเอดส์ (อ่านเพิ่มเติม โรคเอดส์ เกิดจากเชื้อโรคชนิดใด) จะได้รับเชื้อและเกิดวัณโรคง่ายกว่าคนทั่วไป เนื่องจากมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอนั่นเอง
อาการของวัณโรค อันตรายไหม ? มีลักษณะอาการอย่างไรบ้าง
อาการของวัณโรคแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะแฝง (Latent TB) ซึ่งจะไม่แสดงอาการใดๆ แม้จะได้รับเชื้อแล้วก็ตาม และระยะแสดงอาการ (Active TB) ซึ่งจะมีอาการดังนี้
- ไอเรื้อรังนานหลายสัปดาห์
- วัณโรคปอด อาการที่เห็นได้ชชัดคือ จะไอแห้งๆ จากนั้นจะไอมีเสมหะ โดยเสมหะจะเป็นสีเหลืองหรือเขียว หรือมีเลือดปน
- มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่หรือหลอดลมอักเสบ
- อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
- มีเหงื่อออกตอนกลางคืน และอาจมีเหงื่อออกมากจนเสื้อเปียกโชก
- น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว
- แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หอบเหนื่อยง่าย
- เจ็บหน้าอกเวลาหายใจเข้าลึกๆ
- ตัวซีดเหลือง
เกร็ดสุขภาพ : หากมีไข้เรื้อรังอย่างหาสาเหตุไม่ได้ ไอติดต่อกันนานกว่า 3 สัปดาห์ น้ำหนักลดอย่างหาสาเหตุไม่ได้ เจ็บหน้าอก และมีเหงื่อออกตอนกลางคืน ถ้าหากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากวัณโรคปอด อาการมักจะเป็นดังที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และวินิจฉัยด้วยวิธีอื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อระบุโรคได้อย่างแน่ชัด และทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง
วัณโรค รักษาหายไหม ? มีวิธีการรักษาอย่างไร ?
สำหรับผู้ที่สงสัยว่า วัณโรค อันตรายไหมตอนนี้ก็น่าจะได้คำตอบกันไปแล้วว่า เป็นโรคที่อันตรายต่อสุภาพ เพราะทำให้เกิดความเจ็บป่วยหลายประการ แต่วัณโรคสามารถรักษาให้หายได้ ซึ่งทำโดยการกินยา เพื่อรักษาให้หายขาดและหยุดการแพร่กระจายของเชื้อเพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อวัณโรค วัณโรค รักษาหายไหม ? ต้องบอกว่ารักษาให้หายาดได้หากกินยาตามที่แพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง หากไม่มีวินัยในการกินยา ก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้เช่นกัน โดยยาที่จะจ่ายให้ผู้ป่วยคือ Isoniazid, Rifampicin, Pyrazinamide และ Ethambutol และถ้ากินยาครบ 2 เดือน แพทย์จะตรวจเสมหะหรือเอกซเรย์ปอดซ้ำ หากมีการตอบสนองต่อยาในระดับที่ดีก็จะลดยาให้เหลือเพียง 2 ชนิด และทำการรักษาต่อเนื่องไปอีก 4 เดือนเพื่อให้หายขาดค่ะ
เกร็ดสุขภาพ : วัณโรค รักษาหายไหม ? รักษาให้หายขาดได้ แต่ผู้ป่วยต้องรับประทานยาให้ครบตามที่แพทย์กำหนด หลังจากได้รับยาแล้ว อาการจะดีขึ้นภายใน 2 – 4 สัปดาห์ จะไอน้อยลง ไข้ลดลง และรับประทานอาหารได้มากขึ้น ซึ่งมีผู้ป่วยบางจำนวนเห็นว่าอาการดีขึ้นแล้วจึงไม่รับประทานยาต่อ แต่ความจริงแล้ว ควรรับประทานยาให้ครบกำหนด หากรับประทานยาไม่ครบโดสจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และทำให้เชื้อดื้อยา ส่งผลให้รักษายากขึ้นหรือรักษาไม่ได้เลย หากรับประทานยาแล้วมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือมีผื่นคัน ให้ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด หากมีอาการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ควรหยุดยาทันทีและปรึกษาแพทย์
ผู้ป่วยวัณโรคควรปฏิบัติตัวอย่างไร ?
บางคนอาจมีความสงสัยและเป็นกังวลว่า ผู้ป่วยวัณโรค อันตรายไหมต่อคนรอบข้าง ? ผู้ป่วยวัณโรคสามารถแพร่เชื้อให้กับคนรอบข้างได้ หากไม่ระมัดระวังตัวเองดีๆ ซึ่งผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวดังนี้
- แยกห้องนอนและหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้อื่น โดยจะสามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้ตามปกติหลังจากรับประทานยาแล้ว 2 สัปดาห์
- ควรสวมหน้ากากอนามัย เวลาไอหรือจามควรใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูก และบ้วนเสมหะลงในถุงที่ปิดมิดชิด แล้วนำไปทิ้งถังขยะเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารเพิ่มภูมิคุ้มกัน เพื่อเสริมภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
- อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก และหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่น
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับอักเสบจากยา
- หากเป็นเพศหญิง ควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ขณะรักษาวัณโรค เนื่องจากอาจส่งผลต่อเด็กในครรภ์ได้ และหลีกเลี่ยงการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเอสโตรเจน เพราะทำให้การคุมกำเนิดไม่ได้ผล
คนกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะป่วยเป็นวัณโรค
ตอนนี้เราทราบแล้วว่า วัณโรค และวัณโรคปอดเกิดจากอะไร แม้จะเกิดจากการได้รับเชื้อ ก็ยังมีคนบางกลุ่มที่เสี่ยงจะเป็นวัณโรคมากกว่าคนทั่วไป ได้แก่
- คนที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือกำลังทำเคมีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง
- เดินทางหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคสูง
- สูบบุหรี่จัด ใช้เข็มฉีดนาร่วมกับผู้อื่น หรือเป็นโรคพิษสุราเรื่อรัง
- อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรค เช่น ทำงานในโรงพยาบาล อยู่ในประเทศที่มีการติดเชื้อวัณโรคสูง เป็นต้น
วิธีป้องกันตัวเอง ให้ปลอดภัยจากวัณโรค
วัณโรค อันตรายไหม ? แม้จะเป็นโรคที่สามารถรักษาได้ แต่การป้องกันตัวเองไว้ก่อนนั้นย่อมดีกว่าค่ะ เราสามารถป้องกันตัวเองไม่ใช้ติดเชื้อได้ ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในฝูงชน ในสถานที่แออัดที่อากาศไม่ถ่ายเท
- สวมหน้ากากอณามัยเมื่ออยู่ในที่ที่คนเยอะ
- หากเป็นผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ ให้ดูแลสุขภาพตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ
- ฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี ผู้ที่มีสิทธิ์ประกันสังคม สามารถใช้สิทธิ์ตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลได้ (อ่านเพิ่มเติม ตรวจสุขภาพ ประกันสังคม ตรวจอะไรบ้าง) ซึ่งควรเอกซเรย์ปอดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- หากสงสัยว่าเสี่ยงเป็นวัณโรคปอด อาการเข้าข่าย เช่น ไอเรื้อรัง เป็นไข้เรื้อรัง น้ำหนักลด เจ็บหน้าอก ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
วัณโรค อันตรายไหม ? วัณโรคถือเป็นโรคที่เสี่ยงต่อสุขภาพ เพราะถ้าหากป่วยหนักก็ทำให้เสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม วัณโรคสามารถรักษาให้ขายขาดได้ หากรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และสามารถป้องกันได้เช่นกัน วิธีที่ครอบคลุมที่สุดคือ การไปฉีดวัคซีนวัณโรคเพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทาน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากดูแลตัวเองดีๆ ใช้ชีวิตให้ปลอดภัยจากโรค ก็จะลดความเสี่ยงได้มากขึ้นค่ะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : medparkhospital.com, sikarin.com, siphhospital.com, nhs.uk, mayoclinic.org, who.int
Featured Image Credit : vecteezy.com/YES Studio
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ