X

ไฟฟ้าสถิตคืออะไร ? เกิดขึ้นได้ยังไง อันตรายหรือเปล่า ? ป้องกันยังไงดี ?!

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

ไฟฟ้าสถิตคืออะไร ? เกิดขึ้นได้ยังไง ? อันตรายหรือเปล่า ? ป้องกันยังไงดี ?!

ทุกคนเคยเป็นกันไหม เวลายื่นมือจะไปจับประตู แตะตัว หรือบังเอิญไปเฉียดตัวคนรอบข้าง แล้วรู้สึกจี๊ดๆ เหมือนกับถูกไฟฟ้าช็อต จะเรียกว่าไฟฟ้าช็อตนั้นก็ถือว่าใช่ แต่ที่จริงแล้วเป็นการช็อตในระดับที่ค่อนข้างเบา หรือที่เรียกว่าเป็น ไฟฟ้าสถิตในร่างกาย ของเรานั่นเองค่ะ

ไฟฟ้าสถิตคืออาการแบบนี้เกิดขึ้นกับเราจนถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ลึกๆ แล้วทุกคนก็อาจกังวลใจหรือสงสัยว่ามันมีผลกระทบในแง่ลบอะไรหรือไม่ ?  หรือมันเกิดจากอะไรกันแน่ ในบทความนี้ เพื่อสุขภาพจะพามาดูกันว่า ไฟฟ้าสถิตคืออะไร ? อันตรายหรือไม่ ? ถ้าไม่อยากโดนไฟฟ้าสถิตจะมีวิธีป้องกันอย่างไร มาตามอ่านกันค่ะ

ไฟฟ้าสถิตในร่างกาย, ไฟฟ้าสถิตในร่างกาย อันตรายไหม
Image Credit : Unsplash

ไฟฟ้าสถิตคืออะไร ? เจ็บแปล๊บๆ แบบนี้ต้องทำไง ! ไฟฟ้าสถิตในร่างกาย อันตรายไหม ?

ไฟฟ้าช็อต หรือไฟฟ้าสถิตในร่างกาย เป็นความรู้สึกคนละแบบกับการเจ็บจี๊ดๆ ที่ฝ่ามือเพราะอาการเหน็บชาที่มือ นะคะ เราอาจสงสัยว่าถ้าไฟฟ้าสถิตเกิดระหว่างคนสองคน ไม่ใช่ระหว่างคนและสิ่งของ เรารู้สึกสะดุ้งหรือช็อตเพียงคนเดียวหรือไม่ หรืออีกคนก็ตกใจไม่แพ้กัน โดยปกติแล้วอาการช็อตแบบนี้มีหลายระดับ ช็อตเพียงนิดเดียว กับช็อตแบบเจ็บจี๊ด แต่เวลาผ่านไปไม่ถึงนาทีก็จะกลับมาเป็นปกติ ซึ่งแน่นอนว่าอาการช็อตจะส่งผ่านกันจนทำให้ทั้งสองฝ่ายรู้สึกถึงแรงช็อตและสะดุ้งไปตามๆ กัน ว่าแต่ไฟฟ้าสถิตคืออะไรกันแน่ เกิดจากอะไร อันตรายหรือเปล่า ไปอ่านต่อกันเลย

ไฟฟ้าสถิตคืออะไร ?

ไฟฟ้าสถิตคือ ความไม่สมดุลของประจุไฟฟ้าภายในหรือบนพื้นผิวของวัสดุ เกิดขึ้นเมื่อวัตถุสองชิ้นสัมผัสกันแล้วแยกออกจากกัน ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนจากวัสดุชิ้นหนึ่งไปยังอีกชิ้นหนึ่ง สิ่งนี้จะสร้างประจุบวกส่วนเกินในวัสดุชิ้นหนึ่งและประจุลบเท่ากันในอีกชิ้นหนึ่ง คำว่า “สถิตย์” หมายถึงความจริงที่ว่าอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ออกไปมีแนวโน้มที่จะอยู่นิ่งหลังจากที่เคลื่อนที่จากวัสดุฉนวนหนึ่งไปยังอีกวัสดุหนึ่ง แทนที่จะไหลผ่านตัวนำไฟฟ้าเหมือนในกระแสไฟฟ้า

ไฟฟ้าสถิตในร่างกายเกิดจากอะไร ?

ไฟฟ้าสถิตในร่างกาย, ไฟฟ้าสถิตในร่างกาย อันตรายไหม
Image Credit : Unsplash

ใครที่เป็นอาการแบบนี้บ่อยครั้งต้องรู้ ! ไฟฟ้าสถิตในร่างกายนั้นเกิดขึ้นได้จากประจุ 2 รูปแบบที่ไม่เป็นกลาง หรืออธิบายง่ายๆ ว่า ประจุบวก (โปรตอน) และประจุลบ (อิเล็กตรอน) นั้นขาดความสมดุล เมื่อเกิดการสัมผัสหรือเสียดสีระหว่างวัตถุ ประจุเหล่านี้จะมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อปรับให้ประจุไฟฟ้าในสิ่งของหรือตัวเราสมดุล จนทำให้เกิดความรู้สึกที่ว่าไฟฟ้าช็อต หรือ ไฟฟ้าสถิตในร่างกายได้

เกร็ดสุขภาพ : ทุกคนเคยเป็นกันหรือไม่ ? ตอนที่นำลูกโป่งมาถูลงบนศีรษะ แล้วผมของเรานั้นก็ตั้งขึ้นติดกับลูกโป่ง สถานการณ์นี้ก็เป็นหนึ่งในปรากฎการณ์ไฟฟ้าสถิตในร่างกายนั่นเอง เพราะว่าเส้นผมของเราเป็นประจุลบ เมื่อเอาลูกโป่งมาสัมผัส ประจุลบจะถูกถ่ายเทไปทำให้ร่างกายของเราคงเหลือประจุบวกมากกว่า 

ไฟฟ้าสถิตในร่างกาย อันตรายไหม ?

ไฟฟ้าสถิตในร่างกาย, ไฟฟ้าสถิตในร่างกาย อันตรายไหม
Image Credit : freepik

เหตุการณ์ไฟฟ้าสถิตในร่างกายนี้ ‘ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย’ เพียงแต่จะเกิดอาการช็อตเบาๆ ทำให้รู้สึกสะดุ้งเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เป็นเพราะว่าร่างกายของเรามีประจุไฟฟ้าที่ไม่สมดุลชั่วคราว อย่างสถานการณ์ที่ว่า เรากำลังจะเปิดประตู โดยยื่นมือของเราไปจับราวประตูโลหะ จังหวะที่ได้สัมผัสกับราวนั้น ประจุลบจะถูกส่งมาที่ร่างกายของเราทำให้เกิดไฟฟ้าช็อตในระดับอ่อนๆ 

ต้องรักษาอะไรหรือไม่ หลังโดนไฟฟ้าสถิตในร่างกาย

อย่างที่ได้บอกไปก่อนหน้านี้ว่า ไฟฟ้าสถิตในร่างกายนั้นไม่เป็นอันตราย แต่จะเกิดอาการช็อตแค่ช่วงเวลาสั้นๆ ไม่เหมือนกันกับการไฟช็อตโดยทั่วไปที่ทำให้คนเสียชีวิตได้ เพราะฉะนั้นไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา เพียงแต่ว่าเราสามารถป้องกันได้ด้วยตัวเอง โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมรอบตัว

เกร็ดสุขภาพ : รู้กันไหมว่าไฟฟ้าสถิตในร่างกายมักจะเกิดตอนไหน หรือที่ไหนมากที่สุด ? จากข้อมูลเผยว่ามักจะเกิดขึ้นในห้างสรรพสินค้า เนื่องด้วยเป็นสถานที่ที่รวมคนจำนวนมาก เกิดการเสียดสีกันผ่านวัตถุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นราวจับ ที่จับประตู บันไดเลื่อน ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นโลหะที่มีประจุไฟฟ้าอยู่ ทำให้เวลาสัมผัสเกิดไฟฟ้าสถิตได้ง่ายกว่าที่อื่นๆ นั่นเองค่ะ

ไม่อยากโดนไฟฟ้าสถิตในร่างกาย ป้องกันยังไงดี ?

โดยส่วนมากไฟฟ้าสถิตในร่างกายจะเกิดในช่วงหน้าหนาว เพราะความชื้นในอากาศน้อย นอกจากจะระวังเรื่องไฟฟ้าสถิตแล้ว ก็ต้องระวังในเรื่องของ โรคภูมิแพ้อากาศ สาเหตุมากจากอากาศเปลี่ยนแปลงด้วย ปกติแล้วความชื้นควรจะอยู่ที่ประมาณ 40 – 50% สังเกตได้ด้วยเครื่องวัดค่าความชื้น แต่ถ้าน้อยเกินไปเราสามารถใช้เครื่องทำความชื้นปรับให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ หรือปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตต่างๆ ดังนี้

  1. ทาครีมบำรุงผิวและมอยเจอร์ไรเซอร์เพื่อไม่ให้ผิวแห้ง ( อ่านเพิ่มเติม ผิวแห้ง ใช้อะไรดี )
  2. ดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้นเพื่อผิวที่ชุ่มชื่น 
  3. ใส่รองเท้าพื้นยางไม่ให้ประจุไฟฟ้าส่งผ่าน
  4. ป้องกันไฟฟ้าสถิตจากประตูรถ ให้จับที่กระจกก่อนเปิด
  5. หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าที่ทำจากขนสัตว์ โพลีเอสเตอร์ หรือผ้าสังเคราะห์ เพราะผ้าเหล่านี้ง่ายต่อการนำไฟฟ้า
  6. ก่อนที่จะจับวัตถุที่มีโลหะ ให้ใช้เครื่องประดับหรือกุญแจแตะเพื่อรับหรือส่งผ่านประจุลบก่อน
  7. ผมชี้ฟูบ่อยจากไฟฟ้าสถิตให้ลงน้ำมันบำรุงผมเป็นประจำ

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าไฟฟ้าสถิตจะเกิดขึ้นในห้างสรรพสินค้า หรือเวลาเราอกไปข้างนอกเจอผู้คนเยอะๆ มากกว่า แต่ไม่ได้หมายความว่าที่บ้านของเราจะเกิดไฟฟ้าสถิตขึ้นไม่ได้ เราเลยอยากแนะนำวิธีป้องกันไฟฟ้าสถิตจากในบ้านเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน สามารถทำได้ตามนี้

  1. นำแผ่นอบผ้ามาเช็ดถูเฟอร์นิเจอร์หรือเบาะนั่งต่างๆ ภายในบ้าน
  2. ฉีดสเปรย์สำหรับป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิตลงบนพรหมเช็ดเท้า
  3. ใช้เครื่องทำความชื้นเพื่อปรับระดับความชื้นในอากาศให้กลับมาสมดุล

ไฟฟ้าสถิตในร่างกาย อันตรายไหม ? ขอยืนยันตรงนี้อีกครั้งเลยว่าไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ! และสามารถพบได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นสัมผัสตัวคนรอบข้าง และจับสิ่งของใกล้ตัว อาจจะก่อให้เกิดความรู้สึกตกใจ หรือสร้างความน่ารำคาญได้ แต่ใดๆ ก็ตามเราสามารถดูแลตัวเองหรือป้องกันได้ เพื่อรักษาความสมดุลของประจุไฟฟ้าในร่างกาย จะได้ไม่เกิดไฟฟ้าสถิตขึ้นค่ะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : happyhiller.com, livescience.com

Featured Image Credit : freepik.com/vershinin89

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save