X

ฮอร์โมน มีอะไรบ้าง ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต ชวนรู้จักฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกของเรากันเถอะ !

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

ฮอร์โมน มีอะไรบ้าง ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต ชวนรู้จักฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกของเรากันเถอะ !

ฮอร์โมนเป็นสารเคมีอย่างหนึ่งในร่างกายของเรา ผลิตจากต่อมไร้ท่อต่างๆ ซึ่งฮอร์โมนจะถูกปล่อยสู่กระแสเลือดโดยตรง ทำหน้าที่แตกต่างกันไป เช่น กระตุ้นการเจริญเติบโตอย่างเช่น Growth Hormone หรือฮอร์โมนอื่นๆ ที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ฮอร์โมนเพศที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธ์ุ รวมถึงมีบทบาทต่ออารมณ์ความรู้สึกของเราด้วย ทราบหรือไม่ว่า ฮอร์โมนบางชนิดส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของเราได้ หากฮอร์โมนนั้นๆ ไม่สมดุลก็อาจส่งผลต่อสุขภาพใจของเราได้เช่นกัน ฮอร์โมน มีอะไรบ้าง ที่เกี่ยวกับสุขภาพจิตของเรา ไปดูกันเลยค่ะ

ฮอร์โมน มีอะไรบ้าง ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต มารู้จักฮอร์โมนในร่างกายของเราให้มากขึ้นกัน !

ฮอร์โมน มีอะไรบ้าง, ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน, ฮอร์โมนเอสโตรเจน คือ, ฮอร์โมนเพศหญิง
Image Credit : freepik.com

ฮอร์โมนในร่างกายของมนุษย์เรามีประมาณ 54 ชนิดด้วยกัน ซึ่งฮอร์โมนแต่ละชนิดก็ทำหน้าที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ ฮอร์โมนแต่ละชนิดต่างก็มีหน้าที่หลักคือ ช่วยควบคุมระบบการทำงานของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบเลือด นาฬิกาชีวิต ระบบการย่อยอาหาร การรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ระบบประสาท ความคิด รวมฮอร์โมนเพศหญิง – ชาย ที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ เป็นต้น

ฮอร์โมนสร้างจากต่อมไร้ท่อต่างๆ อันได้แก่ ต่อมใต้สมอง ต่อมไธมัส ต่อมไพเนียล ต่อมไทรอยด์ ตับอ่อน ต่อมหมวกไต รังไข่ และอัณฑะ เป็นต้น อย่างที่ได้กล่าวไปว่า มีฮอร์โมนบางชนิดที่ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของเราโดยตรง และส่งผลต่อกระบวนการคิด มีผลต่อระบบประสาทและสมอง หากสารเคมีในสมองไม่สมดุล ประกอบกับปัจจัยภายนอกอื่นๆ ก็อาจส่งผลให้มีปัญหาทางสุขภาพจิตได้ เช่น เป็นโรคซึมเศร้า เป็นโรคเครียดเรื้อรัง อารมณ์แปรปรวน เป็นต้น แล้วฮอร์โมน มีอะไรบ้างที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของเรา มาดูกันเลยค่ะ

1. เซโรโทนิน (Serotonin)

เซโรโทนินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยต้านความเครียด หลั่งออกมาจากสมองและทางเดินอาหาร มีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ อารมณ์ พฤติกรรม และการนอนหลับของเรา ถ้าเซโรโทนินต่ำเกินไปจะทำให้รู้สึกหงุดหงิด มีปัญหาด้านการนอนหลับ ไม่ค่อยมีสมาธิ รู้สึกปวดหัว เป็นไมเกรน และอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ด้วย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ร่างกายหลั่งเซโรโทนินมากขึ้น รวมถึงการกินอาหารที่มีโปรตีน เพราะเซโรโทนินสร้างจากทริปโตเฟน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่สามารถสังเคราะห์ฮอร์โมนได้ อาหารที่มีทริปโตเฟนสูงก็ได้แก่ เนื้อไก่ ปลาแซลม่อน เต้าหู้แข็ง กล้วยหอม เมล็ดฟักทอง เป็นต้น

2. โดพามีน (Dopamine)

ฮอร์โมน มีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต หนึ่งในนั้นคือโดพามีน เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกพึงพอใจ ความรู้สึกรักใคร่ รู้สึกยินดี หลั่งออกมาจากสมองและเซลล์ประสาทในร่างกาย โดพามีนจะเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทหลายๆ ส่วน เช่น การทำงานของระบบประสาทสมอง การเคลื่อนไหว ความจำ และการเรียนรู้ ทั้งนี้ ก็เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกของเราด้วย ถ้ามีโดพามีนต่ำเกินไปจะทำให้รู้สึกหดหู่และซึมเศร้าได้ และอาจพัฒนาไปเป็นโรคทางจิตเวช วิธีเพิ่มโดพามีนในร่างกายก็คือ ออกกำลังกายเป็นประจำ กินอาหารที่มีโปรตีนอย่างเพียงพอ เพราะโดพามีนสังเคราะห์จากกรดอะมิโนที่ชื่อว่า Tyrosin ที่มีอยู่ในอาหารประเภทโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว เป็นต้น

เกร็ดสุขภาพ : ยารักษาโรคทางจิตเวชในปัจจุบันมีการพัฒนาเอาโดพามีนมาใช้ในการรักษาร่วมด้วย เพื่อให้ฮอร์โมนในร่างกายสมดุลมากขึ้นและบรรเทาโรคทางสุขภาพจิตได้ ทั้งนี้ ยังพบว่าในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปริมาณโดพามีนต่ำเกินไปจะทำให้เป็นโรคพาร์กินสันได้ เมื่อระดับฮอร์โมนชนิดนี้ต่ำลง ทำให้การทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อไม่สัมพันธ์กัน เกิดอาการสั่น ก้าวขาไม่ออก เป็นต้น

3. เอ็นดอร์ฟิน (Endorphin)

ฮอร์โมน มีอะไรบ้าง, ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน, ฮอร์โมนเอสโตรเจน คือ, ฮอร์โมนเพศหญิง
Image Credit : freepik.com

ฮอร์โมน มีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกของเรา จะขาดฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟินไปไม่ได้เลยค่ะ คุ้นเคยกันดีว่าเป็นฮอร์โมนแห่งความสุข คล้ายกับเป็นมอร์ฟีนธรรมชาติที่ร่างกายหลั่งออกมาในขณะที่เรารู้สึกมีความสุข พึงพอใจ รู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งจะหลั่งออกมาเพื่อกระตุ้นความรู้สึกในเชิงบวก ในขณะที่มีความเครียด ฮอร์โมนชนิดนี้ก็จะหลั่งน้อยลง วิธีทำให้ฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟินหลั่งมากขึ้นทำได้โดยการออกกำลังกาย ประมาณ 20 นาทีขึ้นไป หรือทำกิจกรรมที่ตัวเองชอบและรู้สึกมีความสุข เช่น การกินอาหารอร่อยๆ ดูหนังฟังเพลง เล่นเกม วาดรูป ฯลฯ นอกจากนี้ การทำสมาธิ ทำให้จิตใจสงบ หรือการถึงจุดสุดยอดขณะมีเพศสัมพันธ์ ก็ทำให้เอ็นดอร์ฟินหลั่งออกมาได้เช่นกัน

4. คอร์ติซอล (Cortisol)

ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกของเรา ไม่ได้มีเฉพาะฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความรู้สึกเชิงบวกเท่านั้น ฮอร์โมน มีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกเชิงลบ หนึ่งในนั้นคือฮอร์โมนความเครียดหรือฮอร์โมนคอร์ติซอลนั่นเองค่ะ ซึ่งจะหลั่งออกมาเมื่อเกิดความเครียดขึ้น มีเหตุการณ์คับขัน เกิดความวิตกกังวล ทั้งนี้ คอร์ติซอลจะกระตุ้นให้ตับสร้างน้ำตาลมากขึ้น เนื่องจากร่างกายต้องการพลังงานมากกว่าปกติในภาวะเครียด ส่งผลทำให้เรากินเยอะขึ้น หิวบ่อยขึ้น และน้ำหนักขึ้นได้ง่ายนั่นเอง นั่นเป็นสาเหตุที่ว่า บางคนเครียดแล้วกินเยอะ น้ำหนักขึ้น ถ้าไม่อยากให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลหลั่งมากเกินไป ต้องพยายามผ่อนคลายอารมณ์อยู่เสมอ เพราะถ้าเครียดเกินไปหรือเครียดเป็นประจำ อาจส่งผลให้เกิดความเจ็บป่วย เป็นโรคที่เกิดจากความเครียดได้นะคะ

5. อะดรีนาลีน (Adrenaline)

ฮอร์โมน มีอะไรบ้าง, ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน, ฮอร์โมนเอสโตรเจน คือ, ฮอร์โมนเพศหญิง
Image Credit : freepik.com

ฮอร์โมนอะดรินาลีน หรือ อินิเนฟริน (Epinephrine) หลั่งออกมาจากต่อมหมวกไต เรียกอีกอย่างว่าฮอร์โมนแห่งความโกรธ และมีความเกี่ยวข้องกับสัญชาติญาณป้องกันตัว เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่รู้สึกว่าเป็นภัย ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้เพื่อให้พร้อมต่อการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน เตรียมพร้อมใช้พลังงาน ทำให้กล้ามเนื้อหลอดเลือดหัวใจทำงานอย่างเต็มที่ หัวใจบีบตัวมากขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น ความดันสูงขึ้น ทั้งนี้ หากมีการหลั่งอะดรีนาลีนมากเกินไปอาจทำให้เกิดเนื้องอกที่ต่อมหมวกไตได้ ทั้งยังทำให้หัวใจเต้นเร็ว เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ด้วย

ฮอร์โมนเพศหญิง ฮอร์โมนที่ส่งผลต่ออารมณ์ของสาวๆ ด้วยเช่นกัน

นอกจากฮอร์โมนแต่ละชนิดที่กล่าวมาแล้ว ในเพศหญิงนั้น ฮอร์โมนเพศอาจส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกและส่งผลต่อภาวะสุขภาพจิตด้วย โดยเฉพาะในช่วงก่อนมีประจำเดือน ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้หญิงมีอาการ PMS หรือ PMDD ได้เลยทีเดียว ฮอร์โมนของเพศหญิงมีอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ

1. เอสโตรเจน (Estrogen)

ฮอร์โมน มีอะไรบ้าง, ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน, ฮอร์โมนเอสโตรเจน คือ, ฮอร์โมนเพศหญิง
Image Credit : freepik.com

ฮอร์โมนเอสโตรเจน คือ ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมหมวกไตและรังไข่ มีหน้าที่เกี่ยวกับระบบสืบพันธ์ุของเพศหญิง ทั้งการผลิตไข่ การตกไข่ การตกขาว การสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อรองรับการปฏิสนธิ ควบคุมการมีประจำเดือน และยังเกี่ยวข้องกับอารมณ์ของผู้หญิงอีกด้วย หน้าที่หนึ่งของฮอร์โมนเอสโตรเจน คือ ช่วยรักษาสภาวะทางอารมณ์ให้คงที่ หากมีฮอร์โมนชนิดนี้มากเกินไปก็อาจทำให้อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดได้ง่าย ซึ่งจะหลั่งออกมามากในช่วงก่อนมีประจำเดือน ผู้หญิงที่ใกล้มีประจำเดือนจึงมีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ เหวี่ยงวีน  หงุดหงิดได้ง่ายนั่นเองค่ะ

2. โปรเจสเตอโรน (Progesterone)

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน สร้างจากรังไข่ในช่วงที่ไข่ตก และถ้าหากมีการตั้งครรภ์ ก็จะถูกสร้างจากรกด้วย มีหน้าที่ควบคุมการตกไข่ และการมีประจำเดือน กระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวขึ้นเพื่อพร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน ทั้งนี้ โปรเจสเตอโรนยังส่งผลทำให้ผู้หญิงมีอารมณือ่อนไหวง่ายหรือมีความ Sensitive ด้วยนะคะ หากฮอร์โมนไม่สมดุลก็จะทำให้อารมณ์แปรปรวน ร้องไห้ง่าย หรือไวต่ออารมณ์ความรู้สึกนั่นเอง

เกร็ดสุขภาพ : ระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงของการตกไข่และการตั้งครรภ์ หากฮอร์โมนมีความผิดปกติในช่วงก่อนการตั้งครรภ์ก็อาจส่งผลให้ไข่ที่ได้รับการผสมกับอสุจิไม่สามารถฝังตัวที่โพรงมดลูกได้ และถ้ามีความผิดปกติในช่วงตั้งครรภ์ ก็อาจทำให้แท้งบุตรได้เพราะในขณะตั้งครรภ์ โปรเจสเตอโรนจะยับยั้งไม่ให้มดลูกบีบตัว แต่ในช่วงใกล้คลอด ฮอร์โมนชนิดนี้จะมีปริมาณน้อยลง มดลูกจึงบีบตัวเพื่อช่วยให้คลอดลูกง่ายขึ้น หากฮอร์โมนชนิดนี้แปรปรวน ก็อาจทำให้มดลูกมีความผิดปกติและมีความเสี่ยงที่จะแท้งได้นั่นเอง

ฮอร์โมน มีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกของเรา ก็ได้ทราบกันไปแล้ว หลักๆ ก็จะมีฮอร์โมนเซโรโทนิน โดพามีน เอ็นดอร์ฟิน คอร์ติซอล อะดรินาลีน ในคุณสาวๆ ก็จะมีความพิเศษขึ้นมาคือ มีฮอร์โมนเอสโตรเจนและโประเจสเตอโรนอยู่ด้วย ใครที่อารมณ์แปรปรวนบ่อยๆ หรือมีภาวะซึมเศร้า หดหู่อยู่บ่อยๆ นอกจากปัจจัยภายนอกแล้ว อาจเกี่ยวข้องกับสารเคมีในร่างกายด้วยก็ได้นะคะ อย่างเพิ่งโทษตัวเองหรือวิตกกังวลไป เพราะบางทีอาจเป็นความผิดปกติของร่างกายก็ได้ ทั้งนี้ หากใครที่รู้สึกว่าตัวเองมีความผิดปกติแปลกไปจากเดิมทั้งร่างกายและจิตใจ การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างแพทย์ก็จะช่วยให้เข้าใจร่างกาย อารมณ์ ความรู้สึก และฮอร์โมนของตัวเองได้ดีขึ้น เพื่อที่จะได้ดูแลตัวเองให้ดีกว่าเดิมค่ะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : samitivejhospitals.com, kentuckycounselingcenter.com, verywellmind.com

Featured Image Credit : freepik.com

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save